578. ทฤษฎีสมองพระโพธิสัตว์


องค์กรใช้สมองเป็นตอนที่ 5

พื้นฐานของผมเองจบวิศวะ อยู่ในสังคมวิศวกร และช่าง ที่ทุกวันนี้ก็ยังมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ ในฐานะอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ทำโครงการด้านวิศวกรรม แบบ OD หรือไม่ก็เป็นที่ปรึกษาในโครงการ OD ต่างๆ ผมเองผมสอน Appreciative Inquiry (AI) ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ด้วยคำถามเชิงบวก ก่อนจะสอน AI นั้นผมมักจะปูพื้นฐานด้วยการทำ AI Workshop แบบง่ายๆ โดยเน้นการสอนจิตวิทยาบวก (Positive Psychology) ที่ตอนนี้ก้าวล้ำนำหน้าไปมากๆ ด้วยเหตุว่าตอนนี้มนุษย์สามารถมองเห็นสมองตนเองได้ ทำให้รู่ว่าพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มาจากส่วนไหนของสมอง และถ้าทำอะไรบวกๆ สมองส่วนไหน จะดูเดินดีเป็นพิเศษ  

และแน่นอนทุกครั้งผมจะเล่าเรื่องสมองสี่ส่วนให้ฟังครับ โดยแนวคิดนี้มาจากงานของ Dudley Lynch ที่ก็ต่อยอดมาจากนักวิจัยสมองอีกครั้ง โดยแบ่งเป็Oสมองสี่ส่วน คือ I-Control หรือสมองนักควบคุม I-Explore สมองนักสำรวจ I-Pursue สมองนักปฏิบัติ และ I-Preserve สมองนักประสานสัมพันธ์...

                        

และผมก็มักจะทำ AI Workshop ง่ายๆด้วยการตั้งคำถามเชิงบวก โดยให้คนในห้องลองนึกไอดอลของตนเอง ตามพฤติกรรมที่แสดงออก โดยว่าไปทีละด้าน ล่าสุดผมได้สรุปรวบยอด สิ่งที่คนนับร้อยๆ ในวาระโอกาสต่างๆ พูดออกมา ปรากฏว่าพฤติกรรมจริงๆ ที่คนยอมรับนับถือไม่ว่าจะเป็นการใช้สมองส่วนใด... มีคำว่า “การให้” เป็นศูนย์กลาง... จึงเป้นที่มาของการสรุปแนวคิดใหม่ว่า คุณไม่ต้องอะไรลึกซึ้ง หรือเป็นอัจริยะก็ได้ แค่ “ให้” เท่านั้น ก็ถือว่าคุณได้ใช้สมองอย่างสุดๆ แล้ว ผมเลยสรุปเป็นแนวคิดใหม่ว่าสมองแห่งการให้ หรือ The Giving Brain...  ซึ่งวันนี้ผมตีความว่าเป็นสมองพระโพธิสัตว์ เพราะการให้ตนเองแก่มนุษยชาติ ความเมตตา ทำให้ท่านต้องสละ มากๆ เพื่อสั่งบารมี ไม่รู้กี่ชาติเพื่อมา “ให้” ศาสนาพุทธในใชาติสุดท้ายแก่มนุษยชาติ...   

แปลกครับ แปลกขึ้นเรื่อยๆ ที่คำว่า “การให้” อยู่ในหัวใจของการใช้สมอง...ที่ทรงประสิทธิภาพยิ่ง... 

วกกับมาสายช่าง... ผมรอวันนี้มานาน วันที่ผมจะได้มาเล่าเรื่องสมอง เรื่องจิตวิทยาบวก เรื่อง AI ให้กับพนักงานสายช่าง และวิศวกร ที่ทำงานในบริษัทขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ต้องบอกว่าฮาร์ดคอร์มากๆ...เพราะแน่นอน คำว่าช่าง มาควบคู่กับสุราครับ.. บางทีตั้งวงกันทุกวัน เงินก็ไม่พอ ค่าแรงมากแค่ไหนก็ไม่พอ.. แถมมีความทุกข์กับการทำงานมากๆ...  ผมทำ AI Workshop เรื่องการใช้สมอง ตามประสบการณ์ที่เขาเจอกับไอดอล ของเขา... จบมาแบบเดียวกัน.. คือหัวใจของการใช้สมองอยู่ที่ “การให้” ... ฟังแล้วน่าขนลุก... แล้วผมก็บอกพวกเขาว่า... “พี่ๆครับ..มีตรงไหนไหมครับ มีใครสักคนในนี้ไหมครับ.. ที่พูดถึงว่า.. ไอดอลของเขาใช้สมองในวงเหล้า หรือต้องอยู่ในวงเหล้า งานถึงไปได้ไกล.”....

                     

เงียบ... ไม่มีใครพูดอะไร... ทุกคนพยักหน้าว่าจริง... 

เลยบอกพี่ๆเขาว่า “เป็นไปได้ไหม ทุกวันนี้คนสายช่างจำนวนมากต้องเสียเวลากินเหล้า.. โดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน งานและความสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ไม่ได้ไปไกลอย่างที่คิด เรียกว่าเสียทั้งเงิน โอกาส สุขภาพ ครอบครัว...โดยแทบไม่ได้อะไรกลับไป...  เป็นเพราะเราไม่รู้เรื่องการใช้สมอง ที่ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน.. มีสี่คำเท่านั้น คือ..ให้โอกาส  ให้ทางเลือก ให้ก่อน.. และจิตอาสา... นี่คือการใช้สมอง.. ที่ทำแล้ว จะสร้างโอกาสให้คนอื่น สร้างโอกาสให้เรา ทำให้เรามีชีวิตที่ดี บ้านเราก็ดีไปด้วย... จริงไหมครับ.. "

ไม่มีใครค้าน...

วันนั้นเป็นวันที่ผมสุขใจมากๆ ผมเติบโตมาจากสายช่าง ครับ เป็นวิศวกร มีลูกน้อง มีพี่ช่าง ที่คอยสนับสนุนให้ผมได้ทำงาน ได้สร้างประสบการณ์ เป็นพื้นฐานของการเป็นอาจารย์ทุกวันนี้ แต่หลายคนกลับมีชีวิตที่ยากจน น่าสงสาร.. ด้วยวิถีชีวิตของเขาหลายคน มีเหล้าเป็นสรณะ... วันนี้ผมค้นพบอะไรบางอย่างจริงๆ..  ไม่ต้องพึ่งเหล้า ชีวิตก็ดีได้ ถ้ารู้จัก “ให้” ซึ่งช่างมีอะไรจะให้อยู่แล้ว เพราะมีความรู้ความเชี่ยวชาญมากจริงๆ ได้เปรียบกว่าหลายอาชีพ.. 

เรื่องเหล้าไม่ได้หมายรวมทุกคนครับ.. เจอไม่กินก็มี แต่ที่ชุกมากๆ คือการกินเหล้าครับ..

ฝากบอกต่อช่างทุกๆคนทั้งนักศึกษา ทั้งคนทำงานสายช่าง ไม่ว่าจะในระดับใดครับ

                               

วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

Reference:

Book: On the Ball: Leveraging the Future you want with WBL


Picture 1: www.aithailand.org

Picture 2: http://www.greatvine.com/help-and-information/blog/?attachment_id=824

Picture 3 :http://www.iammodern.com/compassionate-kid.html

หมายเลขบันทึก: 542072เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2013 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2013 07:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นกำลังใจให้ช่างทุกคนครับ

มีการวิเคราะห์วิจารณ์อย่างน่าสนใจ

จากประสบการณ์ตรง

อุปสรรคของ 'การให้' คือ

กลัวถูกปฎิเสธ..คือให้ไม่ตรงกับสิ่งที่เขาต้องการ

เช่นนักศึกษา กว่าจะหาวิธีสอนได้ตรงใจ อย่างอาจารย์ทำ

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ขอเชิญผู้สนใจบทความของ Thailand Appreciative Inquiry Network (AI Thailand) โดย อ.ภิญโญ แวะเข้าไปที่ http://www.aithailand.org/ เพื่อดูบทความอื่นๆที่น่าสนใจนะค่ะ และขอเชิญแวะไปที www.ailearningcircle.com ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารอีกทางหนึ่งของ AI Thailand ค่ะ คลิกที่ไอคอนของ ailearningcircle ได้เลยค่ะ

ชอบโมเดลภาพข้างบน...ผมขอไปประยุกต์ใช้ต่อนะครับ...อาจารย์สบายดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท