ว่าด้วยเรื่องของคำว่าหลักสูตร


ก่อนที่จะเขียนโพสเรื่องทฤษฎีหลักสูตร ดิฉันอยากจะอธิบายคำว่า หลักสูตรก่อนว่า ในความเข้าใจของดิฉันหมายความว่าอย่างไร

ในบทเกริ่นนำของหนังสือ ชื่อ Exemplars of Curriculum Theory โดย Artur K.Ellis ได้กล่าวไว้ว่าครูโรงเรียนมัธยมได้กระตุ้นการอธิปรายถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องที่ดีและไม่ดีของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีนนักประพันธ์ชื่อดังผู้ประพันธ์หนังสือชื่อ Lord of the rings. ครูให้นักเรียนหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากในหนังหรือหนังสือเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง

นักเรียนถูกถามโดยใช้การเชื่อมโยงระหว่างการใช้ชีวิตของพวกเขากับเรื่องราวที่พวกเขาเห็นในหนังสือ อาจารย์สร้างความท้าทายให้กับนักเรียนโดยการให้หาตัวอย่างอื่นๆในนิยายเพื่อต่อยอดการอธิปรายครั้งหน้า

คาบต่อมานักเรียนได้นำตั๊กแตนใส่แจกันมาที่โรงเรียนและถามอาจารย์ว่าทำไมมันไม่เป็นสีเขียวแบบในรูปภาพในนิยายที่เขาเคยเห็น อาจารย์เลยถามว่าถ้าอยากจะรู้เกี่ยวกับเรื่องตั๊กแตนอาจารย์ก็ยินดีจะสอน นักเรียนตื่นเต้นที่จะได้เรียนเรื่องตั๊กแตน การศึกษาเรื่องแมลงในชั้นเรียนได้เริ่มขึ้น และนักเรียนได้เป็นส่วนนึงของผู้ที่เขียนหลักสูตรแล้ว


จากข้อความข้างต้นดิฉันพอสรุปได้ว่า ผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็นว่าแต่ก่อนนั้นยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนคือยังไม่มีการกำหนดแน่ชัดว่าต้องเรียนอะไร มีเป้าหมายหรือแนวทางแบบไหน แต่รูปแบบการเรียนการสอนจากเรื่องข้างต้นนั้น อาจารย์พยายามจะให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างชีวิตจริงกับนิยายว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร นักเรียนก็มีความสนใจและเกิดความสงสัยว่าตั๊กแตนในโลกของความเป็นจริงกับในนิยายทำไมไม่เหมือนกัน การเรียนการสอนเรื่องแมลงก็เลยเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่า นักเรียนได้เรียนเรื่องที่มาจากประสบการณ์โดยตรงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องดีในการที่ได้เรียนในเรื่องที่ตนสนใจ แต่หากว่าข้อเสียก็คือ ไม่มีการกำหนดเรื่องหรือเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะต้องเรียนอะไร


จากที่ได้ศึกษาความหมายของคำว่า หลักสูตร ไม่ว่าจากหนังสือและอินเตอร์เน็ต ก็ได้เห็นว่า มีการให้ความหมายของคำว่าหลักสูตรไว้มากมาย หนังสือชื่อ Curriculum Development ของ Jon Wiles และ Joseph Bondi หน้า 2 กล่าวว่า คำว่าหลักสูตรเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1820 ไม่ว่าจะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการโดยสหรัฐฯหรือจะมาจากภาษาลาติน

และยังกล่าวว่า หลักสูตรควรประกอบด้วยการศึกษาที่ถาวร พวกเขาได้อ้างอิงถึง (Bestion, 1956, pp. 48-49) ไว้ว่า หลักสูตร จำเป็นที่จะต้องประกอบด้วยวิชาที่จำเป็น 5 วิชา ดังนี้ 1.การศึกษาภาษาแม่ของตนเอง ประกอบด้วย หลักไวยากรณ์การฟังพูด วรรณคดี และ เขียน 2.คณิตศาสตร์ 3.วิทยาศาสตร์ 4.ประวัติศาสตร์ 5.ภาษาต่างประเทศ

พวกเขาได้อ้างถึงความหมายของหลักสูตรมากมายซึ่ง ดิฉันได้เลือกบางตัวอย่างที่น่าสนใจไว้ ดังนี้

(Taba, 1962,p. 11) หลักสูตร คือ วิธีการเตรียมเยาวชนให้มีส่วนร่วมในฐานะที่เป็นสมาชิกที่สามารถสร้างผลผลิตให้แก่สังคมของเรา

(Saylor & Alexander, 1974,p. 6) หลักสูตร คือ การวางแผนสำหรับการเรียนรู้

(Smith, Stanley, & Shores, 1957,p. 3) หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดให้กับผู้เรียน


จากข้อความข้างตนดิฉันพอสรุปได้ว่า

หลักสูตรคือ มวลประสบการณ์ความรู้ต่างๆที่สถานศึกษาจัดให้กับผู้เรียนโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเป็นเข็มทิศให้กับผู้สอนให้นักเรียนไปถึงจุดหมายของชีวิต คือ เป็นพลเมืองดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพและสร้างประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองได้


ท้ายนี้ดิฉันก็เล็งเห็นว่า หลักสูตรควรคำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ของสังคมนั้นๆ ในโลกเราสังคมก็ไม่เหมือนกัน มีความแตกต่างกัน ไทย อเมริกา จีน หรือญี่ปุ่นก็มีสังคมที่ต่างกันไป ดังนั้น การที่เรากำหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่นั้น จะทำให้พัฒนาความเป็นอยู่ในทุกๆด้านและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมนั้นๆได้ 


อ้างอิง

Artur K.Ellis. 2004. Exemplars of Curriculum Theory. New York City: Eye On Education.

Jon Wiles &Joseph Bondi. 2007. Curriculum Development. New Jersey:Peason Education


คำสำคัญ (Tags): #curriculum#หลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 542020เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2013 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

..... สูตรนั้น สำคัญจริงๆ นะคะ ขอบคุณค่ะ

ตอนนี้ได้ความหมายของหลักสูตร.. จำข้อสรุปของคุณไว้นะคะ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับหลักสูตรของเราว่า "...สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพและสร้างประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองได้" อย่างที่สรุปไว้หรือเปล่า?

ได้ทราบความหมายของหลักสูตรแล้ว .. คุณสรุปว่า "...สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพและสร้างประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองได้" ลองวิเคราะห์หลักสูตรของเราดูนะคะว่า เป็นอย่างที่สรุปไว้หรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท