ต้นไม้ที่บ้าน ไปช่วยราชการที่โรงเรียน


       จริงๆ ก็นานนับปีแล้วนะ ที่คิดเรื่องนี้ บางคนมองว่าใจร้อน อยากได้ต้นไม้ที่โตเต็มวัยเลยสิ ก็ไม่ใช่อย่างนั้นทั้งหมดหรอก เคยปลูกต้นไม้เล็กๆเหมือนกัน ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ - ๒๕๕๐ ตอนนี้มันใหญ่มาก ต้นสวย ให้ร่มเงา ก็เลยอยากจะปลูกอีก

       ถ้าซื้อต้นใหญ่เลย บอกตรงๆ แพงมากๆ  บางทีเงินสองพันซื้อได้แค่ ๒ ต้น อันนี้เรื่องจริงนะ พอดีที่บ้านมีต้นไม้เยอะ หลายปีก่อนนึกอยากจะปลูกตรงไหน ปลูกเลย คราวนี้มันก็แน่นไปทั่วบริเวณบ้าน มืดครึ้มไปหมด เวลาลมกรรโชกแรง แทบจะไหวโอนไปทางไหนไม่ได้ ติดกันไปหมด เดือดร้อนไปถึงสัญญาณโทรศัพท์ด้วย  ขนาด 3G ก็เถอะ ไม่เคยชัดเลย หรืออาจเป็นเพราะเสาสัญญาณ ก็มิอาจทราบได้ ยกความผิดให้ต้นไม้สูงใหญ่เสียเลย (แต่ก็เจ็บใจเหมือนกันนะ โทรศัพท์บางค่าย ที่ใช้อยู่ มีสามจีแต่ยังใช้ไม่ได้ โอย เชื่อเขาเลย ทำอะไรกันอยู่)

      บังอาจไปต่อว่าต้นไม้ แต่เราก็ไม่ได้ตัดเธอหรอก เกิดมา ๕๑ ขวบแล้ว ไม่เคยตัดต้นไม้สักต้น แต่ปลูกนับครั้งไม่ถ้วน การย้ายต้นไม้ไปปลูกที่โรงเรียนล่าช้า เพราะหาคนขุดไม่ได้ พอหาได้ ก็ไม่มีรถขนต้นไม้ไปปลูก หรือเคยมี (จำไม่ได้) เหมือนจะต้องจ่ายค่ารถสูงมาก สู้ไม่ไหว

      วันเสาร์ที่ผ่านมาโชคดี ขึ้นไปติดต่อบนรีสอร์ท เขาบอกคนว่าง รถก็ว่าง ตกลงขุดล้อมต้นไม้วันอาทิตย์ แล้วคนงานจะยกขึ้นรถไปลงหลุมที่โรงเรียนในวันจันทร์ งานนี้ใช้เวลาวางแผนเพียง ๓ วัน ทุกอย่างก็สำเร็จดังประสงค์ คุ้มจริงๆ สมกับที่รอมา คือ ได้ต้นหูกระจงใหญ่ ๒ ต้น ต้นเล็กอีก ๑ ต้น ต้นปีบใหญ่ ๑ ต้น เล็ก๑ ต้น ได้ไปช่วยราชการที่โรงเรียน(แบบถาวร) เปลี่ยนบรรยากาศบ้าง

      เลือกที่ปลูกบริเวณหน้าเสาธง โดยปกติ บริเวณหน้าเสาธง จะมีต้นไม้ใหญ่หลายต้น ปลูกเป็นแถวเป็นแนว มีทั้งสุพรรณิการ์ (ขานาง) ประดู่ สัตบรรณ ขี้เหล็ก และสะเดา เด็กนักเรียนเข้าแถว เคารพธงชาติกันใต้ต้นไม้ ด้วยความมีระเบียบวินัย ตั้งใจฟังครูอย่างเงียบสงบ เข้าแถวตรงไม่ตรงไม่ว่า แต่ทุกคนต้องได้อยู่ในร่ม

      คราวนี้ถ้าได้ต้นไม้มาเพิ่มในเวลาอันรวดเร็ว การเข้าแถวก็จะใกล้เสาธงชาติมากขึ้น มีบริเวณที่ให้ร่มเงามากขึ้น เด็กและครูก็จะทำกิจกรรมตอนเช้าได้อย่างมีสมาธิ พูดก็พูดเถอะ ตั้งแต่ผมมาเป็นผู้บริหารที่นี่ครูกับเด็กไม่เคยเข้าแถวตากแดดเลย ผมห้ามอย่างเด็ดขาด ครูร้อนเป็น เด็กก็ร้อนเหมือนกัน ครูกลัวแดด เด็กก็กลัวเหมือนกัน

      เมื่อก่อนผมเป็นศึกษานิเทศก์ ไปนิเทศโรงเรียนตอนเช้า เห็นแล้วสยองพองขน สงสารทั้งเด็กและครู ยืนตากแดดหน้าเสาธง นานเป็นครึ่งชั่วโมง ก็แปลกใจทำไมครูบาอาจารย์เขาไม่คิดกัน ไม่มีต้นไม้ก็ปลูกกันเข้าไปสิ พอตอนหลังมาเป็นผู้ช่วยผอ.ร.ร.ที่เปิดถึง ม.๓ หนักเข้าไปใหญ่ เด็กตากแดดยังไม่พอ ครูเวรพูดมากอีก (เวลาสอนไม่ได้เรื่อง) จะพูดกันไปถึงไหน เหงื่อไหลขี้ไคลย้อยไปตามๆกัน ผมเห็นเด็กเป็นลมทุกวัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คิดว่า ถ้าฉันเป็น ผอ.เมื่อไหร่ เด็กไทย(ที่ด้อยโอกาส)ต้องดีกว่านี้

      หากมีร่มไม้ก็เข้าแถวใต้ร่มไม้เถอะ มันไม่มีกฎกระทรวงห้ามไว้หรอก บางโรงเรียนหนักไปกว่านั้น มีต้นไม้ใหญ่(มาก)ปลูกเป็นแถวหน้าอาคาร ติดถนน (เหมาะจอดรถ) ใกล้กับบริเวณที่เข้าแถวด้วยล่ะ แต่พอได้งบประมาณ ปรับภูมิทัศน์อาคารเรียน เนื่องจากเป็นโรงเรียนในฝัน(ของใคร) โรงเรียนดีศรีตำบลก็มี เริ่มเป็นโรงเรียนที่มีชาติตระกูลดีขึ้น ก็เลยตัดต้นไม้มันให้หมด เหตุผลก็คือ ต้นไม้บังอาคารเรียนที่เลิศหรูกลัวใครไม่รู้ว่าได้อาคารใหม่

       ผลสัมฤทธฺ์ทางการศึกษาต่ำ จะมาจากสาเหตุพวกนี้หรือเปล่า แต่คงไม่ต้องวิจัยก็ได้ สังเกตเอาก็รู้ นักเรียนที่ตากแดดนานๆ ถ้าป่วยมาจากบ้าน ก็จะมีอาการกำเริบ หรือถ้าไม่ป่วย พลังงานถูกเผาผลาญ เวลาเข้าห้องเรียนจะง่วงเหงาหาวนอนกันเป็นแถว เดือดร้อนครู ที่ต้องตะโกนก้องไปทั่วห้อง   

       "วันนี้ ดูพวกเธอไม่สนใจเรียนกันเลย"   "วันนี้ พวกเธอ สมาธิหายไปไหนกันหมด"

       "ครูครับ...ครูคะ ...มันหมดตั้งแต่อยู่หน้าเสาธงแล้ว......"

         

                     

                                 

 

           

                       

                                    

                 

                                  

หมายเลขบันทึก: 541815เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ชื่นชมกับความคิดดี ทำดี ครับ อาจารย์

ดีใจกับโรงเรียนด้วยค่ะมีชมาชิกเพิ่มขึ้นตั้งหลายต้นแนะ

อ้าว ๆ ! แล้วต้นไม้จะได้ 2 ขั้น ไหมเนี่ยะ ?

ต้นไม้โตไวมากครับ ต่อไปโรงเรียนผอ.คงร่มรื่นมากๆ

น่ารักจังค่ะ..แบ่งปันพื้นที่สีเขียว ^^

ชื่นชมค่ะที่เพิ่มร่มเงาให้กับโรงเรียน แต่ก็มีบางคนชอบตัดต้นไม้เพราะคิดว่าบังอาคารก็มีเหมือนกันค่ะไม่รู้ว่าคิดยังไงนะคะ

ดีค่ะอนุโมทนา เห็นบางโรงเรียนชนบท พื้นที่ที่กว้างใหญ่แต่ไม่ค่อยมีต้นไม้ สอบถามได้ความว่าดินเค็ม ต้องซื้อดินซึ่งแพงมาก น้ำจืดไม่มีต้องรอฝนหรือซื้อน้ำใช้ ก็เลยร้อนเปรี้ยงกันทั้งวัน น่าเวทนาทั้งครูทั้งนักเรียน

ต้องขยันกวาดใบต้นหูกระจงด้วยนะ ใบร่วงจนที่บ้านยอมแพ้ต้องตัดให้เตี้ยเหลือใบชั้นเดียว

ช่วยราชการถาวรดีค่ะ อย่าเผลอเอากลับนะจะถูกข้อหาเอาทรัพย์สินของทางราชการไปใช้

ปลูกต้นไม้ก็ต้องตัดแต่งบ้างจะสวยงาม บางแห่งเสียค่าจ้างตัดกิ่งปีละหลายพัน ทางโรงเรียนก็ต้องเตรียมงบไว้ด้วยยกเว้นจะตัดกันเอง

..... ต้นหูกระจงใหญ่ ๒ ต้น.... ต้นเล็กอีก ๑ ต้น.... ต้นปีบใหญ่ ๑ ต้น เล็ก๑ ต้น ..... แต่ละต้นเป็นไม้ที่ดีดีทั้งนั้นเลย นะคะ ..... ดีใจด้วยค่ะที่ได้ความสดชื่นมาสู่โรงเรียน ...... เด็ดๆคงสนุกกัน นะคะ .... เลยไม่มีสมาธิที่จะเรียน .....

ต้นแผ่บารมี / ต้นหูกระจง. .... ให้ร่มได้ดีมากๆๆค่ะ ท่านผอ.ชยันต์

-สวัสดีครับครู..

-ไปช่วยราชการครั้งนี้...คงไม่มีกำหนดกลับนะครับ....

-ชอบครับ"ต้นไม้ที่บ้าน ไปช่วยราชการที่โรงเรียน"

-ขอบคุณครับ..

ขอให้โตวัน-โตคืน แข็งแรงเป็นที่พักพิงให้เด็กๆนะคะ

ที่โรงเรียนล่ะ เคยเอาไปช่วยที่บ้านบ้างไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท