รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

นิเทศติดตามโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์เกลียวพันธ์ ขจรผดุงกิตติ



สืบเนื่องจากบันทึกนี้  รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาครู โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring


          หลังจากทิ้งระยะห่างให้โรงเรียนที่ร่วมโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring พอประมาณ  ดังนั้นวันพฤหัสบดี ที่ 4 กรกฎาคม 2556  ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกลียวพันธ์ ขจรผดุงกิตติ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี จึงได้มานิเทศติดตามโครงการ นับเป็นการติดตาม ครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนบ้านพุตะแบก

          ตอนแรกรู้สึกเบื่อ ๆ "นี่เราต้องทิ้งเด็กให้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยม ทิ้งไว้กับใบงาน กับการอ่านหนังสือเรียน อีกแล้วเหรอ" อย่างน้อยก็น่าจะครึ่งวันเช้า เดินถือแฟ้มโครงการเข้าห้องนิเทศ ด้วยความไม่สนใจอะไรมากนัก 

          เวลาผ่านไปประมาณสักครึ่งชั่วโมง การนิเทศเริ่มเข้มข้นขึ้น ฉันเริ่มให้ความสนใจและจับประเด็นอย่างจริงจัง ท่าน ผศ.เกลียวพันธ์ เป็นอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษมากจริง ๆ ท่านมีเทคนิคในการสอนเด็กอย่างที่เราคาดไม่ถึง หลายต่อหลายอย่างที่ได้รับวันนี้ ยากที่จะถ่ายทอดคำพูดของท่านออกมาเป็นตัวอักษรเพื่อให้เห็นชัดเจน  แต่มันชัดเจนอยู่ที่ใจของคุณครูทุกคน  ก่อนเข้ารับการนิเทศคิดว่า"เสียเวลา" แต่เมื่อการนิเทศจบลงกลับคิดว่า "ใช้เวลา" แทน เพราะมันเป็นการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า จึงมิควรใช้คำว่า "เสียเวลา" บทสรุปของวันนี้ที่พอจะถ่ายทอดออกมาได้อยู่ที่ว่า

         * วิธีการสอนตามโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring เสนอให้ครูใช้วิธีสอนเพียงสามแบบ คือ  - Problem-Based Learning: การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  - Project- Based Learning: การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน และ - Research-Based Learning: การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน จะเลือกวิธีสอนแบบใดควรคำนึงถึงสาระวิชา มิได้เจาะจงว่าให้ใช้สามวิธีนี้เท่านั้น

         * การวิจัยในชั้นเรียนไม่ควรกำหนดเรื่องที่กว้าง  เริ่มต้นจากเรื่องเล็ก ๆ 

         * การทำโครงงานเน้นให้นักเรียนได้สัมผัสจริงให้มีความหลากหลายด้วยการ

บูรณาการกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

         * การสอนคณิตศาสตร์เรื่องโจทย์ปัญหา ครูต้องมีกระบวนการสอนที่ให้นักเรียนได้ฝึกคิดอย่างเป็นลำดับขั้น (ท่าน ผศ.ยกตัวอย่างได้ดีมาก ๆ ถ้ามีเวลาจะถอดบทเรียนนำมาเผยแพร่ในบันทึกหน้า)


รับการนิเทศแล้ว คิดทบทวนตัวเอง ทำให้ค้นพบว่า ด้วยปัจจัยต่างๆด้วยความกดดัน
ในเรื่องของการ ."สอนไม่ทัน" "เสียเวลากับการอบรมแบบผลาญงบฯ"หรือแม้แต
การสอนเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์สูง  เหล่านี้ทำให้ฉันเป็นครูที่สอนไม่ได้เรื่อง เช่น 
           * ใจร้อน ชอบเฉลยคำตอบให้เด็ก แทนที่จะให้เวลาเด็กคิดนาน ๆ และป้อน
คำถามจนเด็กคิดได้
           * ข้ามขั้นตอนในการสอน รวบรัด อยากให้เกิดสัมฤทธิผลเร็ว ๆ
           * ยังไม่ค่อยดึงเรื่องใกล้ตัว  หรือเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของเด็กมาใช้
เชื่อมโยงกับการเรียนการสอนมากนัก 
               ต่อไปนี้คิดว่าจะพยายามปรับปรุง  พยายามใจเย็นให้มากขึ้น  ป้อนคำถามให้
เด็กคิดให้มากขึ้น ไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ ถามจนเด็กคิดได้  ค้นหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง
แล้วความรู้ที่เด็กได้นั้นจะเป็นความรู้ที่คงทน 
คำสำคัญ (Tags): #Coaching and Mentoring
หมายเลขบันทึก: 541563เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เสียดายมากครับ  วันที่อาจารย์ราชภัฎมานิเทศ  ติดราชการเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสืออาสา กกต.  เลยไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมด้วยครับผม

ครูอิงครับ ผมว่าชื่อโครงการ ใช้ชื่อฝรั่ง (ลอกฝรั่งมา)มันแปลก ดูทันสมัย แต่เข้าถึงยาก แต่พอครูอิง พูดถึงเนื้องาน มันใช่เลย เป็นภารกิจครู จริงๆครับ แถวบ้านผม เขาจะลงเรื่องนี้ ที่โรงเรียนใหญ่ๆ คงไม่ถึงผมหรอก แต่ผมจะพยายามอ่านและติดตามความเคลื่อนไหว ไปกับครูอิง นี่แหละ

  • เห็นตามที่ ครูชยันต์ พูดทุกประการค่ะ ครูอิง (ขอเรียกครูอิงตามอย่างครูชยันต์)
  • เพราะเป็นการสอนที่เชื่อมโยงกับ ชีวิตจริง และ เน้นกระบวนการ ได้ผลแล้วเอาไปใช้ได้ด้วย
  • ดิฉันคิดว่าครูทุกคนอยากสอนแบบนี้ค่ะ แต่ห่วงเรื่อง "กลัวสอนไม่ทัน" เพราะมักคิดว่า หลักสูตรแน่น แต่ดิฉฮันคิดว่าหลักสูตรก้เปิดให้เน้นกระบวนการอยู่นะคะ
  • ขอบคุณที่เล่าเรื่องนี้ จะคอยตามอ่านเรื่อยๆ

รอตามอ่านบันทึกนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท