สนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง


สูตรยาต่างๆในการทำเกษตรปลอดสารพิษ

สูตรยาฆ่าหญ้า

  1. ผงซักฟอก 1 กล่อง 10 บาท
  2. เกลือป่น 0.5 ก.ก.
  3. ไฮเตอร์ 1 ขวดเล็ก 7-12 บาท
  4. ปุ๋ยยูเรีย 10 ช้อนแกง
  5. น้ำเปล่า 20 ลิตร
  6. หมักทิ้งไว้ 1-2 วัน
  7. วิธีใช้ ส่วนผสมทั้งหมดคนให้เข้ากันแล้วให้ตักส่วนผสม 1 ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้เลย

สูตรยาคุมหญ้า

  1. ซันไลต์ 1 ลิตร
  2. ปุ๋ยยูเรีย 4 ขีด
  3. ปูนกินหมาก 4 ขีด(ขาว แดง)
  4. เหล้าขาว 1 ขวดใหญ่
  5. น้ำเปล่า 20 ลิตร
  6. วิธีใช้ ส่วนผสมทั้งหมดคนให้เข้ากันแล้วให้ตักส่วนผสม 1 ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้เลย

สูตรยาฆ่าแมลง

  1. หางไหล แดง ขาว 1 ก.ก.
  2. ยาฉุน/ยาสูบ 0.5 ก.ก.
  3. ใบน้อยหน่า 1 ก.ก.
  4. ตะไคร้หอม 1 ก.ก.
  5. หัวข่าแก่ 1 ก.ก.
  6. เหล้าขาว 2 ขวด(เอ็มร้อย)
  7. ผงซักฟอก 5 ช้อนแกง
  8. น้ำเปล่า 20 ลิตร
  9. หมักทิ้งไว้ 1-2 วัน
  10. วิธีใช้ ส่วนผสมทั้งหมดคนให้เข้ากันแล้วให้ตักส่วนผสม 1 ลิตรผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้เลย

สูตรทำฮอร์โมน

  1. นมสด 1 กล่อง
  2. เอ็มร้อย 2 ขวด
  3. น้ำตาลทราย 2 ช้อนแกง
  4. น้ำมันหอย 2 ช้อนแกง
  5. ผสมน้ำ 20 ลิตร
  6. วิธีใช้ ส่วนผสมทั้งหมดคนให้เข้ากันนำไปฉีดพ่นได้เลย

สูตรยาฆ่าหอยเชอรี่

  1. ลูกมะกรูด 1 ก.ก.
  2. เปลือกมังคุด 1 ก.ก.
  3. หรือไม่มีเปลือกมังคุดให้ใช้เปลือกไม้ที่มีความฝาดแทน
  4. น้ำเปล่า 20 ลิตร
  5. หมักทิ้งไว้ 1 คืน
  6.  ตักสดให้ทั่วนา เนื้อที่ 1 ไร่
  7. ความลึกของน้ำไม่เกิน 20 ซ.ม.
หมายเลขบันทึก: 54091เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2006 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
สูตร ยาฆ่าหญ้า นี้ ใช้แล้วจะทำให้ต้นไม้ทีเลี้ยงว้ เป็นอะไร หรือเปล่าค่ะ ขอบคุณมากค่ะทีตอบ
นายแพทย์ชัยวงศ์ ชวนะรักษ์
ใช้ฆ่าเฉพาะหญ้ารากสั้นครับ รากยาวไม่เป็นไรครับ
ขอบคุณนะคะ จะลองนำไปใช้ดูเพราะที่บ้านหญ้ารกมาก ช่วงนี้ฝนตกหนักหญ้าขึ้นเร็วมาก

        ขอบคุณมากเลยครับ จะลองนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    ขอบคุณมากๆ ครับ

ขอบคุณครับ ได้อีก 1 ตวามรู้

อดุลย์ บุญมาศักดิ์

สูตรยาฆ่าหญ้านี้ผมลองแล้วไม่ตายเลยครับ

ไม่ทราบว่ามีไครทดลองแล้วได้ผลบ้าง

ตะไคร้+สะเดา+ตะบอเพชร

เอามาหันแล้วบกเอาแต่น้ำ

เอาไปผสมน้ำเปล่า

แล้วฉีดหญ้า ลองดูค่ะ

สมุนไพรในการกำจัดศัตรูพืช สมุนไพรที่สามารถนำมาทำประโยชน์ในการกำจัดศัตรูพืช และทำเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยบำรุงดินเพื่อการเกษตรนั้น สามารถผลิตใช้ได้เองง่ายๆ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี เช่น ขมิ้นชัน ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma longa Linn. ลักษณะทางพฤกศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีมีส่วนของลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า ซึ่งมีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหย และสารให้สี ทำให้เหง้ามีสีเหลืองเข้ม และมีกลิ่นเฉพาะ ลำต้นเหนือดินสูง 30-90 เซนติเมตร สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม - ชอบอากาศร้อนชื้น, ดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี ไม่ชอบดินเหนียวและดินลูกรัง - ปลูกในที่กลางแจ้ง การเตรียมดินปลูก - ไถพรวน หรือขุดดินให้ดินร่วนซุย - ถ้าดินระบายน้ำดี ไม่จำเป็นต้องยกร่อง การเตรียมเหง้าพันธุ์ - คัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุ 7-9 เดือน มีตาสมบูรณ์ไม่มีโรคและแมลงทำลาย - แบ่งหัวพันธุ์โดยการหั่น ขนสดของเหง้าควรมีตาอย่างน้อย 3-5 ตา หรือแง่งมีน้ำหนัก 15-50 กรัม - แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงมาลาไธออน หรือคลอไพรรีฟอส 1-2 ชั่วโมง ตามอัตราแนะนำ - ชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนปลูก การปลูก - ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว 30 x 30 เซนติเมตร - ขุดหลุมขนาด กว้าง x ยาว x ลึก 15 x 15 x 15 เซนติเมตร - ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมประมาณหลุมละ 200 กรัม (1กระป๋องนม) - นำหัวพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก กลบดินหนา 5 เซนติเมตร - คลุมแปลงด้วยฟางหรือหญ้าคา หนาประมาณ 2 นิ้ว เพื่อป้องกันการงอกของวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน - รดน้ำให้ชุ่ม การดูแลรักษา - เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 9-11 เดือน - ห้ามเก็บระยะที่ขมิ้นชันเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้มีสาร Curcumin ต่ำ - วิธีการเก็บใช้จอบขุด ถ้าดินแข็งรดน้ำให้ชุ่มก่อนปล่อยให้ดินแห้งหมาด ๆ แล้วจึงขุด - เคาะเอาดินออกจากหัว แล้วใส่ตะกร้าแกว่งล้างน้ำอีกรอบ ผลผลิต - ผลผลิตสด 3,000 กิโลกรัม/ไร่ อัตราการทำแห้ง - ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้ง = 6 : 1 วิธีเตรียมและการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช วิธีที่ 1 ใช้ขมิ้นชันแห้งครึ่งกิโลกรัม ตำให้ละเอียดหมักในน้ำ 2 ลิตร ทิ้งค้างคืน กรองน้ำ นำน้ำที่กรองได้ 200 ซีซี ผสมน้ำ 2 ลิตร ใช้พ่นแปลงผัก ป้องกันหนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก วิธีที่ 2 - ใช้ใบยูคาลิปตัส 1 กิโลกรัม ขมิ้นชันบด 2 ช้อนโต๊ะ - นำใบยูคาลิปตัส ไปต้มนาน 15-20 นาที กรองเอาน้ำไว้ - แช่ขมิ้นชันบดในน้ำ 1 ลิตร กรองเอาแต่น้ำ - นำน้ำกรองใบยูคาลิปตัส ผสมน้ำกรองขมิ้นชันเป็นหัวน้ำยาสมุนไพร - การใช้หัวน้ำยาสมุนไพรที่กรองได้ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืชผักไล่แมลงได้หลายชนิด เช่น ด้วงงวง ด้วงถั่วเขียว มอดข้าวเปลือก มอดแป้ง หนอนใบผัก หนอนหลอดหอม หนอกระทู้ผัก ตะไคร้หอม ชื่อวิทยาศาสตร์Cymbopogon nardus Rendle ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น เป็นไม้ล้มลุก แตกหน่อเป็นกอเหมือนตะไคร้แกง ลำต้นเป็นข้อที่โคนต้นมีกาบใบหุ้มเป็นชั้น ๆ ลำต้นเป็นสีม่วงแดง ลำต้นและใบใหญ่และยาวกว่าตะไคร้แกง และมีกลิ่นฉุนกว่า ใบเป็นใบเดี่ยว รูปแถบยาว ปลายแหลม ก้านใบ เป็นกาบซ้อนกันแน่น ใบบาง ใบกว้าง 5-20 มม. ยาวประมาณ 50-100 ซม. มีสีเขียวผิวเกลี้ยงและมีกลิ่นหอมฉุนจัด ดอกออกเป็นช่อฝอย โดยชูก้านช่อดอกออกมาจากส่วนยอด มีช่อดอกใหญ่ยาวประมาณ 2 ฟุต จะคล้ายกับดอกช่อ ช่อดอกจะแยกออกเป็นแขนงซึ่งในแต่ละแขนงจะมีช่ออยู่ 4-5 ช่อ ประสิทธิภาพ ภายในหัวตะไคร้หอม จะมีสารซึ่งมีฤทธิ์ในการไล่แมลง ยุง และแมลงสาย ได้เป็นอย่างดี รวมถึงในการกำจัดศัตรูพืชในแปลงผักได้อีกด้วย ซึ่งได้แก่ หนอนกระทู้และหนอนใยผัก สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม - ปลูกได้ในดินทุกชนิด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย - ต้องการแสงแดดจัด - ทนต่อความแห้งแล้ง แต่ถ้าให้น้ำสม่ำเสมอ บำรุงรักษาดี จะให้ผลผลิตตลอดปีสูง - ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูก คือ เดือนพฤษภาคม การเตรียมต้นพันธุ์ปลูก - ตัดแต่งให้มีข้ออยู่ 2-3 ข้อ - มีกาบใบหุ้มข้ออยู่ 4-5 ใบ - ตัดปลายใบออก การเตรียมแปลงปลูก - ไถพรวนดิน - กำจัดเศษวัสดุ หรือวัชพืชออกจากแปลงใส่ปุ๋ยคอกคลุกเคล้าให้เข้ากันดี ปรับพื้นที่ให้เรียบ - ถ้าปลูกในกระถาง ควรใช้กระถางที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 12 นิ้ว ใส่ดินร่วนซุยที่มีอินทรีย์วัตถุ การปลูก - ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว 1.5 x 1.5 เมตร - ขุดหลุมขนาด กว้าง x ยาว x ลึก 15 x15 x 15 เซนติเมตร - นำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ปลูก 3 ต้นต่อหลุม หรือต่อกระถาง การดูแลรักษา - รดน้ำสม่ำเสมอเพื่อให้แตกกอได้ผลเร็วขึ้น และให้ผลผลิตตลอดปี - กำจัดวัชพืชปีละ 2 ครั้ง ด้วยการใช้จอบ - ใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 หรือ 16-20-0 หรือ 15-15-15 อัตราการใส่ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน - หลังการเก็บเกี่ยวแล้วควรหว่านปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อให้แตกใบใหม่เร็วขึ้น ได้ใบขนาดใหญ่และมีปริมาณน้ำมันระเหยมากขึ้น การเก็บเกี่ยว - เก็บเกี่ยวหลังปลูก 6-8 เดือน อายุการให้ผลผลิต 2-3 ปี - ตัดเอาส่วนใบซึ่งอยู่เหนือพื้นดิน 25-30 เซนติเมตรเพื่อให้ต้นที่เหลือแตกใบใหม่ได้เร็วขึ้น - เก็บเกี่ยวแต่ละครั้งให้ห่างกัน 3 เดือน ตัดได้ปีละ 2-3 ครั้ง - ผึ่งใบที่ตัดมาไว้ 1-2 วัน ก่อนไปสกัดน้ำมัน ผลผลิต - ใบสด 1 ตัน/ครั้ง/ไร่ อัตราการแปรรูป - ใบสด : น้ำมันหอมระเหย = 1 ตัน : 1 ลิตร วิธีเตรียมและการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช สูตรสำหรับการกำจัดหนอน 1. นำต้นตะไคร้หอม ใช้ทั้งเหง้าและใบหั่นเป็นชิ้นเล็กแล้วบดหรือโขลกให้ละเอียด จำนวน 400 กรัม 2. ผสมลงในน้ำ 8 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง 3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าขาวบาง ๆ 4. กรองเอาน้ำไปใช้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ๊ป ซันไลด์ หรือแชมพู ลงไปในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ 5. ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน สูตรสำหรับกำจัดแมลงและยุง ให้นำตะไคร้หอมมาบดหรือตำให้ละเอียด แล้วนำไปวางไว้ตามขอบ มุมห้อง เพียงเท่านี้แมลงและยุงก็จะหนีไม่มาเข้าใกล้ ไพร ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber cassumunar Roxb. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกเหง้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในมีสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะแทงหน่อหรือลำต้นเทียม ขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคน ใบหุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 18-35 เซนติเมตร ดอกช่อแทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้ง รูปกลม การขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า ซึ่งจะปลูกได้ดีในดินเหนียวปนทราย ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขังแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่า สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม - ควรเป็นดินเหนียวปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีการระบายน้ำดีหลีกเลี่ยงดินลูกรัง และพื้นที่น้ำขัง - ปลูกได้ทั้งที่แจ้งและร่มรำไร การเตรียมแปลงปลูก - ไถพรวนดิน กำจัดเศษวัสดุและวัชพืชจากนั้นใส่ปุ๋ยคอก - ไถดินอีกครั้งคลุกเคล้าให้เข้ากัน การเตรียมเหง้าพันธ์ - การคัดเลือกพันธุ์ ต้องเป็นหัวพันธุ์ที่มีอายุมากกว่า 1 ปี มีตาสมบูรณ์ไม่มีโรคแมลงเข้าทำลาย - การแบ่งหัวพันธุ์ ให้มีน้ำหนัก 100-200 กรัม มีตา 3-5 ตา - ชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีเพื่อป้องกันเชื้อราก่อนปลูก การปลูก - ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว 50 x 50 เซนติเมตร - ขุดหลุมขนาด กว้างx ยาวx ลึกx 15x 15 x 15 เซนติเมตร - นำเหง้าพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก กลบดินให้มิดหนา 2-3 เซนติเมตร - คลุมด้วยฟาง หรือใบหญ้าตากแห้งหนาประมาณ 2 นิ้ว - รดน้ำทันที การดูแลรักษา - ปีแรก กำจัดวัชพืช 2 ครั้ง - ปีที่สอง กำจัดวัชพืช 1 ครั้ง เนื่องจากไพลจะคลุมพื้นที่ระหว่างต้นและแถวจนเต็ม - ปีที่สาม ไม่ต้องกำจัดวัชพืชและปล่อยให้แห้งตายไปพร้อมกับไพลที่ฟุบ - รดน้ำบ้างอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง - ไม่ต้องใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เพราะเชื่อว่าจะมีผลต่อคุณภาพน้ำมันไพล - ไม่มีโรคแมลงรบกวน เนื่องจากมีกลิ่นเฉพาะตัวที่แมลงไม่ชอบ - ห้ามฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เพราะจะมีพิษตกค้างในน้ำมันไพล การเก็บเกี่ยว - หัวไพลที่จะนำมาสกัดน้ำมันต้องมีอาย 2- 3 ปี - เก็บหัวไพลช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน จะสังเกตเห็นต้นไพลแห้งและฟุบลงกับพื้น ให้ขุดหัวไพลขึ้นมาจากดินต้องระวังไม่ให้เหง้าไพลแตกหัก - ห้ามเก็บหัวไพลขณะที่เริ่มแตกหน่อใหม่ เพราะจะทำให้ได้น้ำมันไพลที่ปริมาณและคุณภาพต่ำ - เขย่าดินออก ตัดรากแล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง - บรรจุกระสอบเก็บผลผลิต พร้อมที่จะนำไปสกัดน้ำมันไพล ผลผลิต - หัวไพลสด ไร่ละ 8-10 ตัน อัตราส่วนสกัดน้ำมันหอมระเหย - ผลผลิตสด : น้ำมันหอมระเหย = 1 ตัน : 8-10 ลิตร วิธีเตรียมและการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช บดไพลแห้งให้ละเอียด แล้วละลายในแอลกอฮอล์ในอัตราส่วนร้อยละ 15 โดยน้ำหนักแล้วนำไปฉีดพ่น สรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา สาเหตุโรคพืช ที่มา : http://www.suanlukchan.com/discussion_taisuan.php?suan_chanruean_id=65

ลองดูค่ะ

ลองแล้ว2วัน หญ้าไม่ตายเลย ต้องรอกี่วันครับ

ตอนนี้ปลูกผักในร่องยางพารา อยู่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี กำลังอยากได้สูตรของคุณหมอมาก เพราะผักที่ปลูก

กินและขาย กลัวลูกค้าจะได้รับอันตรายจากการใช้ยาเคมี ตอนนี้เร่มปลูกใหม่ ยังไม่ได้ใช้ยาอะไร ถ้ามีใครสนใจอยากคุย

เรื่องเกษตรทุกเร่องให้คำปรึกษาได้ 087-1541473

ขอบคุณครับสำหรับสูตรดีๆ

ไม่ได้ผลหลอกครับ เป็นสูตรที่ก๊อปปี้ต่อๆ กันมา เหมือนเมล์ลูกโซ่

คนเขียนก็มะโนเอาเองว่าตัวนั้นไปเร่งน้ำ ตัวนั้นปิดปากใบ ฯลฯ เดี๋ยวก็ตาย

ความเป็นจริงธรรมชาติทุกอย่าง สร้างเกราะป้องกันตัวไว้หมดแล้ว

สูตรต้องผ่านการทดลองก่อนค่อยเอามาลงเผยแพร่จะดีครับ
ผมเคยลองน้ำหมักสัปรดเข้มข้นพ่นไปเลย ผสมสารจับใบหน่อย

ก็ได้ผลประมาณ 70 % ครับ หญ้าตายแต่ต้องแดดร้อนๆ พ่นซัก 9 โมงเช้า

พอบ่ายแดดจัด ก็ได้ผลเท่าที่แจ้งไปครับ

หมักเปลือกสัปรดไว้ซัก 3 เดือน ผมหมักไว้ 1 ถัง 200 ลิตร
1. เปลือกสัปรดประมาณ 30 โล
2. น้ำตาลอ้อย 10 โล
3. น้ำเปล่าเกือบเต็มถังประมาณ 150 ลิตร
4. มัดปากถังด้วยถุงดำพลาสติก ทิ้งไว้ 3 เดือน

จากนั้นก็กรองเอาน้ำมาผสมกันน้ำยาล้างจานขวดเล็ก(ซันไล) 1 ขวด
ฉีดตอน 9 โมงเช้าวันแดดจัด ได้ผลประมาณ 70 %

หลังพ่นแล้วถ้าแดดจัดติดๆ กันซัก 3 วันหญ้าก็เรียบร้อยครับ
สูตรอื่นลองมาหมดแล้วไม่ได้ผลเลย
ทั้งเกลือ ทั้งปุ๋ยยูเรีย ลองแล้วหญ้ากำลังจะตายกลับฟื้นขึ้นมาอีก
เขียวสดเลย เสียอารมณ์มากกับสูตรในอินเตอร์เน็ต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท