โบกคว่ำโบกหงาย ลายไหมมัดหมี่วัฒนธรรมสองฝั่งโขง


โบกคว่ำโบกหงายลายผ้าของลาวเวียง

กลุ่มลายหนึ่งที่มีความสำคัญมากและพบมากนั้นคือลายผ้าที่ชาวลาวเวียงบ้านกลางหมื่นเรียก ลายโบกคว่ำโบกหงาย คนรุ่นทวดจะเรียกเช่นนี้แต่สำหรับช่างทอรุ่นใหม่เรียกลาย ขาเปีย

โครงสร้างของลายนี้จะเป็นลายรูปกากบาทหรือเส้นเฉียงที่ไขว้กัน โดยจะมัดมีระยะห่างเท่ากันเรียงกันลงมาจากบนลงล่าง

โบกคว่ำโบกหงายเป็นภาษาเดิมของคนลาวทั้งลาวเวียงและลาวอีสานอื่นๆ นับเป็นศัพท์เทคนิคของกลุ่มช่างทั้งช่างทอและช่างก่อสร้าง ในลวดลายบนผ้าไหมอาจจะมีการโอบเอาสีแตกต่างกันแต่ยังคง คงรูปกากบาทตามโครงสรางลายเอาไว้ ดังแสดงในภาพประกอบ

 

จากการศึกษาพบว่า ลวดลายนี้ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องบัวคว่ำบัวหงาย ที่สัมพันธ์กับเรื่องราวในพระพุทธศาสนา 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #โบกคว่ำโบกหงาย
หมายเลขบันทึก: 54084เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2006 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท