สิรภัทร
สิรภัทร จิตตะมาลา ลิ่มไพบูลย์

“โครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ” จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาค 29 : ปรับโมเดล TACS และกองบุญ และยกร่างหลักเกณฑ์การบริหารจัดการ)


             วันพฤหัสบดี ที่ 27/มิ.ย./2556 สุได้นำเอกสาร (ร่าง)โมเดลบริหารจัดการ TACS ที่ยกร่างโดยคุณลุงประพัฒน์ จันทรอักษร(พี่ชาย คุณลุงสงวน จันทรอักษร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ปัจจุบันทำงานพุทธสมาคมจังหวัดพัทลุง ซึ่งสุรู้จักท่านผ่านพุทธสมาคมจังหวัดนครศรีธรรมราชค่ะ)

             ความเดิมก่อนหน้านี้ สุได้เข้าพบที่ปรึกษาโครงการ อาทิ คุณลุงกีชา วิมลเมธี(ครูภูมิปัญญา) ลุงปราชญ์สงวน มงคลศรีพันเลิศ หลวงพ่อสังวร(เจ้าคณะอำเภอท่าศาลา) คุณลุงกรียา กิจจารักษ์(กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย)และคุณลุงเอกชัย ดารากัย(ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนครศรีธรรมราช) หลวงพ่อสุวรรณคเวสโก (เจ้าอาวาสวัดป่ายาง/พระนักพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช) ทุกท่านได้เมตตาปรับโมเดลมาตามลำดับ หลักการสำคัญที่ที่ปรึกษาให้ยึดเป็นแนวปฏิบัติ คือ 1) ความรู้สึกว่าประชาชนเป็นเจ้าของ 2)ความเสมอภาคของสมาชิก 3)ความโปร่งใสในการบริหารจัดการ 4)การประกอบกุศลกรรมให้กับท้องถิ่น

             วันนี้สุได้ขอรับคำแนะนำจากคุณพี่สมเกียรติ เพชรวรพันธ์(ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) พี่เกียรติได้พิจารณาโมเดลบริหารจัดการ TACS ท่านเล็งเห็นว่าโครงการนี้ขับเคลื่อนได้ปัจจัยหลักคือพลังประชาชน(ศรัทธาระบบ : 1)สินค้าปลอดภัย 2)รู้สึกเป็นเจ้าของ ได้รับประโยชน์ที่เป็นธรรมขณะเดียวกันได้สงเคราะห์ผู้ที่มีความลำบาก ) ปัจจัยรองคือการจ่ายของผู้ใช้บริการทั่วไปซึ่งขึ้นกับทำเลห้างฯ  ปัจจัยสนับสนุนคือ ภาคีร่วมมือต่างๆที่มีจิตสำนึกจริงใจต่อประชาชน ปัจจัยเสริมคือความสามารถต่อรองคุณภาพ/ราคาสินค้าของ TACS

                               

                                                   ภาพผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

                                              เมตตาให้คำแนะนำและปรับโมเดล TACS และกองบุญท่าศาลา


              พี่สมเกียรติถ่ายทอดประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในวงการทรัพย์สินมานาน ทั้งรูปแบบสหกรณ์  (7 ประเภท : 1)การเกษตร 2)ออมทรัพย์ 3)บริการ 4)ร้านค้า 5)นิคม 6)เครดิตยูเนี่นยน 7)ประมง) และรูปแบบกลุ่มสัจจะออมทรัพย์

              การวิเคราะห์เปรียบเทียบจุดเด่น/จุดด้อย ความเหมือน/ความต่าง ของสหกรณ์และกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ จึงเป็นบรรยากาศเริ่มต้นที่มานั่งปรับโมเดลกันในวันนี้

              สิ่งที่ต้องปรับคือ 1)การคิดค่าบริหารจัดการปรับจากหักเป็น % กำไร ณ จุดเริ่มต้นนั้นน่าเป็นห่วงว่าจะก่อให้เกิดทุกข์เพราะงบไม่พอใช้ในช่วงเริ่มต้นกิจการ จึงให้ปรับเป็นบริหารค่าใช้จ่ายแบบคงที่ต่อเดือน โดยยอดขายลบค่าใช้จ่ายคือผลประกอบการที่จะนำสู่สมาชิก ทั้งนี้การจัดสรรสู่กองบุญ ให้ใช้คณะกรรมการชุดเดียวกัน  เพราะฉะนั้นการกำหนดค่าใช้จ่ายมีผลต่อผลประกอบการ ดังนั้นต้องมีเป้าหมายผลประกอบการ โดยทำงบประมาณผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการใหญ่ 2)การกำหนดผลประกอบการขึ้นกับ : 2.1 เทียบเคียงผลประกอบการปีที่ผ่านมา 2.2 เทียบจากจำนวนสมาชิกทั้ง 3 ประเภท (สมาชิกขาย-สมาชิกซื้อ-สมาชิกซื้อ/ขาย) ช่วงแรกอาจไม่ต้องจ้างคน ให้สมาชิกมาช่วยกันทำงานก่อน โดยปรกติ 1-2 ปีแรกไม่มีกำไร จึงจำเป็นจะต้องชี้แจงความคาดหวังของผู้ร่วมอุดมการณ์ ดังกล่าวมาแล้วปัจจัยหลักคือพลังประชาชน ดังนั้นถ้าร่วมกันขาย ร่วมกันซื้อ ปีแรกอาจเริ่มเห็นกำไร

              เงื่อนไขกองบุญให้แยกบริหารงบประมาณกองบุญต่างหาก ดังนี้ 1)งบสนับสนุนกิจกรรม : จะไม่ใช้คำว่ากู้ยืม  ให้ใช้งบสนับสนุนกิจกรรมโดยทยอยคืนเป็นรายเดือน(ระยะเวลาตามเงื่อนไขคณะกรรมการกำหนด) 2) การกำหนดสัดส่วนปันผลต่อกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ 3)กิจกรรมเพิ่มพูนปัญญา 4)ค่าตอบแทนคณะกรรมการ( 5-7 คน ประกอบด้วยประธาน/รองประธาน/เหรัญญิก/เลขานุการ/ที่เหลือคือกรรมการ) 5)แบ่งเป็นทุนสำรองเพื่อชดเชยความไม่แน่นอนของอนาคต

              วันนี้นับเป็นวันที่สำคัญยิ่งในการปรับโมเดลและยกร่างหลักเกณฑ์/เงื่อนไข เพื่อนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ 11/ก.ค./2556

               นัดกับพี่ผู้จัดการเกียรติอีกครั้ง ในวงคุยกันครั้งถัดไป โดยเชิญพี่ลูกจันทร์ บุญนาค(นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการนครศระรรมราช)และน้องสุนทร หนูคล้าย(เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ชำนาญกลางท่าศาลา)มาช่วยปรับโมเดล ก่อนส่งต่อให้ น้อง อ.แนน (อาจารย์จารุวรรณ ลักษณะจันทร์) เพื่อจัดทำระบบ MIS ต่อไป


หมายเลขบันทึก: 540709เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2013 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2013 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณแรงเชียร์จากพี่ขจิตมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท