CaseStudy9: Case แรก สำหรับบริการใหม่.....ABO genotype by PCR method


     และแล้ว อาทิตย์ก่อน เราก็ได้รับตัวอย่างตรวจเป็นถุงมือ เปื้อนคราบเลือดจำนวน 2 ชิ้นจาก 2 lot การผลิต จากบริษัทผู้ผลิตถุงมือเพื่อการส่งออก  ดังภาพ


     ผู้ส่งตรวจให้ข้อมูลว่า ถุงมือเหล่านี้มีปริมาณจำนวนหนึ่ง จากสอง lot การผลิด มีสภาพเปื้อนคราบสีน้ำตาลกระจายบนถุงมือ มากบ้าง น้อยบ้าง จึงนำถุงมือเหล่านี้มาปรึกษาว่า
     1. คราบเหล่านี้ เป็นคราบเลือดหรือไม่
     2. ถ้าเป็นคราบเลือด ตรวจดีเอ็นเอได้ไหม
     3. ถ้าตรวจดีเอ็นเอได้ เนื่องจากมีคนงานที่เข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตจำนวนมาก ขอให้ตรวจกรุ๊ปเลือดได้ไหม เพื่อจะ screen คนงานที่มีกรุ๊ปเลือดเข้าไม่ได้ออกไป และคัดเฉพาะผู้ต้องสงสัยที่มีกรุ๊ปเลือดตรงกับคราบเลือดนี้ เพื่อส่งเปรียบเทียบรูปแบบดีเอ็นเอต่อไป


     ลักษณะรอยคราบ เป็นดังภาพข้างบนครับ มีรอยเปื้อนไม่มากนัก ลองตรวจสอบความเป็นเลือด โดยใช้วิธี Kastle Mayer test (Reduced Phenolphthalein test)  พบว่าเป็นเลือด  ก็เป็นการตอบคำถามข้อแรกเรียบร้อยครับ
     มาถึงคำถามข้อที่สอง ก็เลยสกัดดีเอ็นเอจากคราบเลือดนี้ ด้วยวิธี Chelex Extraction Method เพราะง่ายและสะดวกดี ก็ได้รูปแบบดีเอ็นเอออกมาครับ รอยคราบจากถุงมือทั้งสองข้าง จาก 2 ตัวอย่างตรวจ (คนละ lot) ให้ผลรูปแบบดีเอ็นเอตรงกันครับ แสดงว่า คราบเลือดนี้ มาจากคนเดียวกัน
     มาถึงคำถามข้อสาม การตรวจกรุ๊ปเลือดจากคราบเลือด เมื่อก่อนเราใช้วิธี absorption elution ซึ่งเป็นวิธีทาง serology method ที่ใช้เวลาตรวจค่อนข้างนาน แต่ไม่สำคัญเท่ากับว่า ผลการตรวจด้วยวิธีนี้ให้ผลความถูกต้อง ไม่เต็ม 100% นั่นหมายความว่า เรามีโอกาสรายงานผลผิดพลาด จึงทำให้เราต้องหาวิธีปรับเปลี่ยนวิธีการตรวจ และในที่สุด เราก็เลือกที่จะพัฒนาการตรวจเป็นวิธี PCR-direct sequencing method ครับ  แล้ววันหลังจะเล่าให้ฟังถึงรายละเอียดของการตรวจ ABO blood group ด้วยวิธี PCR-direct sequencing method ว่าทำกันอย่างไร แต่สำหรับตัวอย่างตรวจรายนี้ ได้ผลเป็น BO ครับ ก็รายงานออกไปเป็น กรุ๊ปเลือด บี 
     แล้วตัวอย่างตรวจรายที่สอง ก็มานอนคอยในตู้เย็นแล้วครับ เป็นเลือดจากศพเน่า ที่อยู่ในสภาพ hemolysis 4+ ไม่สามารถทำ ABO cell grouping ด้วย antisera ได้   ก็เลยเอา lysed serum มาลองทำ cell grouping กับ เม็ดเลือดแดงกรุ๊ป A, B และ O ปรากฎว่า ไม่เกิดปฏิกิริยา agglutination จึงสรุปผลไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องพึ่งบริการของวิธี PCR ครับ

    

หมายเลขบันทึก: 540592เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2013 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2013 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท