รู้จักคำว่า "โค้ช" ที่ไม่ใช่การสอนงาน


หน้าที่ ของ Coach คือ Process Expert ไม่ใช่ Content Expert หมายความว่า Coach ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องราว รายละเอียด ของปัญหาหรือเป้าหมายนั้นๆ ดีไปกว่า Coachee แต่ Coach จะเป็นผู้ที่ทำให้ Coachee ค้นพบเส้นทางการเดินไปสู่ทางออก ผ่าน Process ที่โค้ชได้ฝึกฝนมา

สำหรับ เมืองไทย การโค้ช เหมือนจะเป็นคำเก่าที่ใครๆ ก็เคยได้ยิน แต่ในนิยามของการโค้ชที่แท้จริงแล้วอาจไม่ใช่อย่างที่ใครหลายๆ คนเข้าใจ


ใน

เมืองไทย มักมีการใช้คำสับสนกันระหว่าง “การสอนงาน” “การเป็นพี่เลี้ยง” “การโค้ช” การโค้ชนั้น ผู้เป็นโค้ช (Coach) จะร่วมมือกันกับผู้ที่รับการโค้ช (Coachee) เพื่อช่วยให้ผู้รับการโค้ชพบแนวทางที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพและผูกพัน (engage) กับการพัฒนาตนเองโดยไม่ใช้วิธีบอกหรือสั่ง แต่จะช่วยให้พวกเขาคิดหาหนทางได้เอง ในขณะที่พี่เลี้ยงนั้น จะใช้แนวทางของการสั่ง หรือ สอน หรือให้คำแนะนำแบบเฉพาะเจาะจง


International

Coaching Federation (ICF) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งเมื่อปี 1995 โดยผู้ที่สนใจในงานโค้ชจากทั่วโลก มีพันธกิจในการส่งเสริมอาชีพการโค้ชและกำหนดมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับการโค้ชที่เป็นวิชาชีพ ได้ให้นิยามการโค้ชว่า “partnering with clients in a thought-provoking and creative process that inspires them to maximize their personal and professional potential.” ซึ่งแยกคำสำคัญออกมาได้เป็น “การกระตุ้นให้เกิดความคิด”, “การสร้างแรงบันดาลใจ”, “การใช้ศักยภาพด้านส่วนตัวและหน้าที่การงานให้ได้มากที่สุด”

แล้วกระบวนการโค้ชมันคืออะไร ?

กระบวนการโค้ชเป็นเหมือนเข็มทิศและแผนที่ที่ช่วยให้ทั้ง coach และ coachee ดำเนินบทสนทนาและบรรลุเป้าหมายได้โดยไม่เสียเวลากลางทาง หรือหลงทางไปเสียก่อน เข็มทิศคือช่วยให้เรารู้ว่าจะต้องไปทางไหน ส่วนแผนที่คือบอกเราว่าระหว่างทางเราจะต้องไปเจออะไรบ้าง ในการโค้ชจะมีขั้นตอนที่ชัดเจนว่า ในระยะเวลาที่ตกลงกันระหว่าง coach และ coachee จะต้องมีกิจกรรมหลักอะไรบ้างและต้องได้ผลลัพธ์ในเรื่องไหน


หน้าที่

ของ Coach คือ Process Expert ไม่ใช่ Content Expert หมายความว่า Coach ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องราว รายละเอียด ของปัญหาหรือเป้าหมายนั้นๆ ดีไปกว่า Coachee แต่ Coach จะเป็นผู้ที่ทำให้ Coachee ค้นพบเส้นทางการเดินไปสู่ทางออก ผ่าน Process ที่โค้ชได้ฝึกฝนมาเพื่อกระตุ้นให้ Coachee มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ ไปพร้อมๆ กับการระมัดระวังไม่ให้ส่วนสมองที่ทำหน้าที่คิด ถูกรบกวนด้วยสิ่งอื่นๆ เพื่อที่ Coachee จะได้ใช้ศักยภาพการคิดของตนให้ได้มากที่สุด

การโค้ชก็เหมือนเรื่องอื่นๆ ที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์ก็คือ Process ที่บอกว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ส่วนศิลป์ก็คือ Skill ของโค้ชที่จะรู้ว่าจะต้องใช้คำถามอย่างไร ฟังแบบไหน ทำอย่างไรจึงจะได้ข้อมูลที่ coachee ไม่ได้พูดออกมาแต่อาจแสดงผ่านสีหน้า แววตา หรือบทสนทนาที่โค้ชฟังแล้วสะดุดใจ


โค้ชที่เก่งๆ จะทำให้เราเหมือนรู้สึกว่า เรากำลังคุยกับตัวเอง หาคำตอบได้ด้วยตัวเอง และค้นพบสิ่งที่ตัวเองไม่เคยรู้มาก่อน


และนี่คือความงามของความสัมพันธ์ผ่านกระบวนการโค้ช ที่เรียกว่า Coaching Relationship ค่ะ


หมายเลขบันทึก: 539148เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2013 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2013 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

..... โค้ชเก่งๆ เสมือนกับเราคุยกับ "ตนเอง" .... ขอบคุณค่ะ

เพิ่งเข้าใจ 2 คำที่ต่างกัน โค๊ช กับพี่เลี้ยง  ขอบคุณค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท