ระบบการรักษาความปลอดภัย ตอนที่ 3


ระบบการรักษาความปลอดภัย ตอนที่ 3

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึง การจุดก๊าซเพื่อความปลอดภัย ต่อจาก ตอนที่ 2 ครับ

การจุดก๊าซเพื่อความปลอดภัยควรปฎิบัติดังนี้ครับ

1. ควรจุดไม่ขีดก่อนจึงจุดไฟที่หัวเตาก๊าซ  ควรจุดไม้ขีดรองไว้ที่หัวเตาห่างประมาณครึ่งนิ้วก่อนเปิดก๊าซ การเปิดก๊าซแล้วทิ้งช่วงนานเกินไป ก๊าซจะออกมามาก เปลวไฟอาจลวกมือได้ น่ะครับ

2. ถ้าเป็นเตาอัตโนมัติ ปิดแล้วไม่ติดให้ปิดกลับอย่าทิ้งไว้ก๊าซจะไหลรั่วออกมา ครับ

3. เมื่อได้กลิ่นก๊าซรั่วอย่าจุดไม้ขีดไฟ

    - ห้ามดึงเต้าเสียบออกจากเต้ารับไฟฟ้าอย่าสัมผัสคัทเอ้าท์ อย่ากดสวิทซ์ไฟอาจทำให้เกิดประกายไฟ

    - เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

    - ตรวจตามข้อต่อ สานท่อก๊าซโดยใช้น้ำสบู่ลูบ  เพื่อดูว่าไหลรั่วตรงไหนก็จัดการแก้ไขให้เรียบร้อย

    - ใช้ไม้กวาดอ่อนๆ หรือใช้น้ำพรมเพื่อให้ก๊าซหมดเร็ว ใช้ไม้กวาด กวาดเมื่อไม่มีกลิ่นแล้วจึงใช้เตาก๊าซได้

    - ต้องคอยดูว่าไฟที่หัวเตายังติดอยู่หรือไม่ขณะที่ใช้งาน เพราะอาจมีลมกรรโชกมาทำให้ไฟดับได้ หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ก็ไม่ควรจะติดไฟทันที ควรจะไล่อากาศออกก่อนที่จะจุดเตาใหม่

4. เมื่อประกอบอาหารเสร็จจะต้องปิดก๊าซทั้งที่เตาก๊าซและหัวถังก๊าซทุกครั้ง

5. เมื่อเปลวไฟติดแล้ว เปลวไฟลอยตัวหรือติดไม่ครบทุกรู (รูเตาก๊าซ) ควรแก้ไขโดยทำความสะอาดหัวเตาก๊าซโดยใช้เหล็กแหลมเล็ก ๆ  แทงรูหัวเตาให้สะอาดทุกรู

6. เมื่อเปลวไฟสีเหลือง ควรปรับช่องอากาศให้อากาศเข้าได้สะดวก หรือทำที่กำบังลมไม่ให้ลมพัดแรงเกินไป และไม่ควรตั้งหัวเตาให้ชิดกับภาชนะมากเกินไป จะทำให้เกิดการจุดติดไม่สมบูรณ์ก่อนใช้เตาก๊าซควรให้ช่างตั้งหัวเตาและถังก๊าซโดยปรับจุดติดให้เปลวไปสีน้ำเงิน

7. การสิ้นเปลืองในการใช้ก๊าซ จุดติด 1 เตาการเผาไหม้ภายใน 1 ชั่วโมง สิ้นเปลืองก๊าซโดยประมาณ 1/4 ถึง 1/2 กิโลกรัม ถ้าใช้สิ้นเปลืองมากกว่านี้ อาจจะเนื่องจากการรั่วไหลหรือการอัดก๊าซไม่เต็มจำนวนที่บอกไว้

8. การแก้ไขเตาก๊าซในที่ต่างๆ นั้น ควรปิดท่อทางเกินของก๊าซเสียก่อน

                                    ข้อแนะนำโดยทั่วไป

1. เมื่อใช้ก๊าซแล้วควรปิดวาล์วที่เตาและถัง

2. อย่าเคลื่อนที่ย้ายถังโดยวิธีกลิ้งนอนไป

3. สำหรับก๊าซขนาด 50 กิโลกรัมต้องมีฝาครอบลิ้น ขณะการเคลื่อนย้าย

4. บริเวณตั้งท่อก๊าซเพื่อใช้จำนวนมาก และส่งเข้าไปใช้ในระบบท่อ ควรเขียนป้าย "ห้ามสูบบุหรี่"

5. ควรมีเครื่องเตือนภัยเมื่อเกิดก๊าซรั่ว (Gas Leak Detector) ติดไว้ในบริเวณที่ใช้ก๊าซ

สำหรับวันนี้ขอจบแค่นี้ก่อนครับไว้พบกันใหม่ ตอนต่อไป เรื่องเกี่ยวกับ ถ้าเกิดระเบิดลุกไหม้ควรจะปฎิบัติอย่างไร และเรื่องเกี่ยวกับการใช้ก๊าซในรถยนต์ ครับ.....

 

หมายเลขบันทึก: 53893เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2006 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท