We change : ฉันเปลี่ยนและโลกเปลี่ยน


We change : ฉันเปลี่ยนและโลกเปลี่ยน

ในวันที่ชีวิต เดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน.................................



ฉันเชื่อว่าการฟัง:นำมาสู่การเปลี่ยน .....


                                 (อ้างอิงจาก http://im-hospital.blogspot.com

       ชาเมอร์เสนอว่า คนจะใช้สมการ Theory U ได้ดี ก็ต่อเมื่อคนสามารถยกระดับของการฟังสู่ขั้นสูงสุด ซึ่งชาเมอร์แบ่งระดับการฟังออกเป็น 4 ระดับ คือ

ระดับที่หนึ่ง การรับฟังแบบน้ำเต็มแก้ว (downloading listening) เป็นพวกลากเข้าความ จะเลือกเปิดรับฟังเฉพาะข้อมูลที่สามารถนำมาช่วยยืนยันสิ่งที่เชื่ออยู่เดิม เป็นการฟังแบบคนที่เรียนรู้อะไรไม่เป็น คนที่ฟังแบบน้ำเต็มแก้ว มักแสดงอาการตอบโต้ออกมาในทำนอง “รู้แล้วๆ” ซึ่งเป็นการเอาความจำที่ download ไว้ก่อนมาตัดสินสิ่งที่ได้ยินแบบทันทีทันใด

ระดับที่สอง การรับฟังแบบเอะใจ (factual listening) เป็นการเปิดรับฟังเพราะเหตุว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นไม่ตรงกับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ ฟังเฉพาะจุด โดยไม่ฟังเสียงกระตุ้นเตือนของจิตสำนึกภายในให้ฟังทั้งหมด สนใจรับฟังเฉพาะประเด็นที่แตกต่างจากที่รู้ อย่างไรก็ตาม การฟังแบบเอะใจ เป็นพื้นฐานของกระบวนการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสนใจเปิดรับฟังข้อมูล ตั้งคำถาม และให้ความสนใจเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

ระดับที่สาม การฟังด้วยความเข้าอกเข้าใจ (empathic listening) เป็นขั้นการรับฟังที่สูงขึ้นจากระดับปกติ การรับฟังขั้นนี้เกิดจากผู้ฟังได้มีโอกาสเข้าร่วมวงสนทนา (dialogue) และรับรู้ความจริงในแง่มุมอื่นๆที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน รวมทั้งความสำเร็จในการเปิดใจสามารถรับเอาความรู้สึกของคนอื่นมาเป็นความรู้สึกของตัวเองได้ เมื่อคนสามารถเข้าถึงความรู้สึกนี้ได้ พรมแดนความแตกต่างระหว่างตัวเองกับคนอื่นจะเริ่มจางหายไปพร้อมกับวาระและเป้าหมายส่วยตัว และพร้อมกันนั้นก็สามารถระลึกรู้ (sensing)ความเชื่อมโยงด้วยตนเอง

ระดับที่สี่ การฟังด้วยปัญญาจากภายใน (generativelistening)เป็นการฟังขั้นสูงสุดด้วยปัญญาที่เจริญงอกงามอยู่ภายใน การฟังเสียงตนเอง ฟังเสียงความเงียบ และเสียงคนอื่นช่วยสลายพรมแดนความแตกต่างลงอย่างสิ้นเชิง และสามารถรับรู้ถึงการเชื่อมต่อระหว่างสนามพลังแห่งอนาคตที่มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ระดับจิตสำนึกที่ถูกยกขึ้นนั้น ถือเป็นผลจากการฟังเป็นสิ่งที่สามารถรู้ได้เฉพาะตน คนที่สามารถเข้าถึงการฟังในระดับนี้ได้ จะต้องเริ่มต้นด้วยการทิ้งกรอบอ้างอิงเดิม มีความกล้าหาญทางจิตใจ เปิดหัวใจ ข้ามพรมแดนแห่งเหตุผลและกำหนดรู้ด้วยเจตจำนงอันแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

     ชาเมอร์บอกว่า สภาวะนี่แหละคือสนามพลังแห่งอนาคตที่สามารถเอามาสร้างเป็นประสบการณ์ใหม่ให้เกิดขึ้นจริงได้ โดยมีบทพิสูจน์อยู่ในหลายวงการ โดยเฉพาะในวงการกีฬาอาชีพระดับโลก ซึ่งนอกจากจะต้องแข่งขันกันด้วยทักษะและพละกำลังที่ถูกฝึกฝนมาอย่างดีแล้ว นักกีฬายังต้องรู้วิธีกำหนดจิตของตนเองในสภาวะกดดันอย่างหนักอีกด้วย


ฉันเปลี่ยนเอง หรือโลกเปลี่ยนฉัน 


     พี่ๆในทีมผมกำลังศึกษาเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากบุคลากรทางสาธารณสุข พยาบาลหรือแพทย์ เมื่อเขามาร่วมในโครงการแล้ว เขาเปลี่ยนแปลงอย่างไร อะไรที่เป็น factor ให้เขาเปลี่ยน การประชุมครั้งนี้เมื่อวันที่ 7 มิ.ย 56 ที่ผ่านมา เราได้พบหลายๆคน และที่สำคัญก็ได้พบกับพี่เอกด้วย หลายๆคนในครั้งนั้นได้มาเล่าและบอกจุดเปลี่ยนขึ้น จุดเปลี่ยนเหล่านั้นที่พี่ๆสะท้อนให้เห็นส่วนใหญ่จะเป็นระดับที่เรียกว่า เปลี่ยนจากข้างในหมายถึงตัวเอง และขยายผลสู่ข้างนอกและองค์กรเป็นลำดับต่อไป กระบวนการเหล่านี้ก็มานั่งคิดต่อว่าหากเราบอกว่าเปลี่ยนนั้น "กระบวนการเปลี่ยนเอาจากไหนบ้างหน้า และอย่างไร...เป็นโจทย์ที่คิดต่อไป"   (แต่จากการคุย พี่เอก ได้ลองทำผังมา นี่ credit พี่เอกครับ) 



     ในภาพนี้มันสื่อดีครับที่พี่เอกสรุป และผมเองก็ฟังจากอาจารย์สกลด้วย ประเด็นสำคัญมันคือว่าภาวะบางที่เรียกว่าเปลี่ยนนั้น บางคนได้บางคนไม่ได้ และที่สำคัญกระบวนการที่บางคนยังไปต่อหรือบางคนที่ออกไป และทิศทางข้างหน้าจะมีกระบวนการและการวางหมุดหมายในการทำงานอย่างไร ...นั่นคือจุดสำคัญมากๆ 


การวางแผนคนค้น "คน"


    จากระดมความคิดกันมาเยอะพอสมควรเรา ออกแบบการทำงานแผนคนค้นคนออกมา เพราะการทำนั้นเรามองกระบวนการนั้นเป็นสิ่งดีงาม เราออกแบบแผนคนค้นคน (ปล. ในแบบผมที่ผมเข้าใจเองแบบนี้) 

1.  รูปแบบอย่างไรทำให้เห็นองค์กรและระบบ ทำให้เห็นการออกแบบและการถอดออกมารายบุคคล

พร้อมกับปัจจัยที่เกิดขึ้น

2.  การเปลี่ยนแปลงมี 2 แบบวิกฤตจึงเปลี่ยนแปลง และมีอีกกลุ่มที่ค่อยๆเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ หากเราทำ SHA มาระยะหนึ่งที่เปลี่ยนเปลี่ยนอย่างไร จริงไหม เปลี่ยนมาจากอะไร มาสร้าง Conceptual  ก่อนแล้วจึงมาดูเขาเปลี่ยนและเปลี่ยนเพราะอะไร

3.  วิธีวิทยา การดูไปเพื่อการตอบโจทย์ ประกอบด้วยทางปริมาณ และอีกชุดหนึ่งเป็นกระบวนการถอดบทเรียนเชิงคุณภาพคัดเลือก ... คน แบ่งเป็นระดับ การ approach เข้ามาร่วมในการดำเนินการ จากชีวิตและต้นทุนจากตัวเอง

เปลี่ยนอย่างไร/ตัวเปลี่ยนอย่างไร/องค์กรเปลี่ยนอย่างไร/องค์กรทำให้เขาเปลี่ยนอย่างไร

4.  เครื่องมือหรือสถานการณ์การสร้างความเข้าใจ pasion เข้าไปในทั้งเรื่องเล่าและ SHA Movie การทำกลุ่มการสร้าง passion แรงบันดาลใจจากหนัง ทำอย่างไร ..กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร การจำลอง SHA นั้นเป็นการที่ทำให้คนค้าพบมากขึ้นและเป็นเรื่องเล่าที่เสริมกระบวนการเข้าไป

5.  การปฏิบัตินั้นการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเทียบตัวเอง..การเปลี่ยนตัวเอง..จะเป้นตัวสำคัญดีขึ้นแบบไหนดีขึ้นอย่างไร การมองกระบวนการเปลี่ยน

6.  ความสำคัญของเครื่องมือ..ปัจจุบันทำอะไรได้เพราะเราเล่าอดีตนั้น จะเป็นตัวดำเนินการให้เขาเปลี่ยน เราเล่าเพราะเรากำลังกลายเป็นคนคนหนึ่ง กระบวนการคือการลง focus ลงไปและการดำเนินการต่อ เรื่องเล่านั้นเป็นกระบวนการที่เกิดการออกแบบไว้แล้ว หากมองจะเป็น tools อย่างไร รูปแบบแนวทางไหน องค์ประกอบในการเห็นเห็นอย่างไร การมองหาแนวทางหากจะเกิดกระบวนการได้ต้องพอดี ให้สามารถช้าลงและให้เวลาการซึมซับลงไป 




เราหวังเล็กๆทีมผู้ก่อการดีจะเอา....บทเรียนการเปลี่ยนแปลงดีๆออกจากตัวคน "สะท้อนกลับมาให้เราครับ" ขอจบด้วยภาพนี้ครับ 



อ้างอิงข้อมูล

http://im-hospital.blogspot.com/

Faceboo/Jatuporn 

หมายเลขบันทึก: 538692เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2013 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เป็นทฤษฏี ที่เคยได้อ่านจากบันทึกของ อ.ดร.ภิญโญ และอ.ขจิตก็แบ่งปันมาให้อีก

ครั้งน้ได้เข้ามมาอ่านอีกรอบ

ได้เข้าใจ ได้เรียนรู้ มากขึ้น ครับ

ขอบคุณครับ

   ใช่แล้วครับ พี่พ. ทั้งอาจารย์ภิญโญ อาจารย์ขจิต มีกระบวนการเอามาลองปฏิบัติแล้ว ซึ่งตอนนนี้ทางทีมผมกำลังเริ่มดำเนินการ แต่จุดสำคัญเรากำลังหาจุดเปลี่ยนจากตัวคนบยากพอสมควรเลยครับ ขอบคุณครับพี่ที่เข้ามาเยี่ยมชม 

มาร่วมเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

ป้าแดงว่า สังคม เพื่อนฝูง ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เรา เปลี่ยนได้เหมือนกันนะคะ 

  พี่คุณระพีขอบคุณมากนะครับที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ..

  เห็นด้วยกับป้าแดงครับใช่เลย ข้างนอกก็ใช่ ข้างในก็เหมือนทั้งปัจจัยภายในภายนอก..

ขอบคุณข้อคิดดีๆนี้ค่ะ..การมีทัศนะคติเชิงบวกเป็นพลังหนุนเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นจากในตัวเรานะคะ..

มาให้กำลังใจค่ะ รายการนี้เคยได้รับรางวัลจากสื่อมวลชนคาทอลิกฯ ด้วยค่ะ

  พี่ใหญ่ครับขอบคุณนะครับในการเข้ามาเยี่ยมชมในการทำงานครับพี่ และบทเรียนที่น่าทำคือถอดจากคนใน G2K นี่แหละครับ 55 

  พี่ tuknarak ขอบคุณมากนะครับ ในการมาเยี่ยมกัน ...ใช่แว้วในสื่มวลชนคาทอลิกมีการได้รางวัล ค้รคนค้น รายการนี้หลายแง่มุมเอาจุดเปลี่ยนของคนออกมานะครับ.. ผมมอบเพลงนี้ให้นะครับ 


อยากจะเปลี่ยนตัวเองด้วยตัวฉันเอง

มากกว่าต้องเปลี่ยนตัวเองเพราะบริบทรอบข้าง

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้มากมาย

   ขอบคุณครับครูอิง สรุปได้ตรงเป๊ะเลยครับ "อยากจะเปลี่ยนตัวเองด้วยตัวฉันเอง" 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท