ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน


"เยาวชนกลุ่มเสี่ยง" ต่อปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน

        สถานการณ์ปัญหายาเสพติดประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2547 เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยจากการประมาณการผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเครือข่ายวิชาการสารเสพติดได้ประมาณการผู้เสพยาเสพติดเมื่อปี 2546 ไว้จำนวน 460,000 คนต่อมาในปี 2550 ประมาณการว่ามีผู้เสพยาเสพติดเพิ่มขึ้นเป็น 570,000 คน และในปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น 605,000 คน
        โดยหากพิจารณากลุ่มประชากรที่มีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดเป็นอย่างสูง พบได้ว่า กลุ่มเยาวชนเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงหรือมีโอกาสสูงในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งหากพิจารณาข้อมูลผู้เข้ารับการบำบัดตามระบบรายงานระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด (บสต.) พบว่า เยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นกลุ่มที่เข้ารับการบำบัดรักษาเป็นจำนวนมาก โดยเข้ารับการบำบัดถึงร้อยละ 50.13 51.35 และ 52.04 ของประชากรที่เข้ารับการบำบัดทั้งหมด ในปี2549-2551 ตามลำดับ ดังนั้น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงควรมุ่งเน้นที่เยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญแนวนโยบายและกรอบยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ผ่านมา จึงได้กำหนดการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักของการดำเนินงาน โดยมีมาตรการป้องกันกลุ่มเสี่ยงมิให้มีโอกาสเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (Potential Demand) เป็นแนวทางหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ จัดทำแผนปฏิบัติการและการดำเนินงาน ดังเช่น ปฏิบัติการ 6 เดือน “รวมพลัง ประชาไทยพ้นภัยยาเสพติด” (1 เมษายน - 30 กันยายน 2551) ได้กำหนดกลยุทธ ์ “3 ลด3 เพิ่ม 3 เน้น” โดยการลดเยาวชนกลุ่มเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญตามปฏิบัติการ หรือตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 82/2552 เรื่อง ยุทธศาสตร์และกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายรัฐบาล ก็ได้กำหนดให้เยาวชนเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติดและปัจจัยยั่วยุต่างๆเป็นต้น ฉะนั้น การป้องกันในกลุ่มเยาวชนเพื่อมิให้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดจึงเป็นเจตจำนงและแนวนโยบายที่สำคัญของภาครัฐและองค์กรในภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

         อย่างไรก็ตาม เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 37.1 ของประชากรทั้งหมดในปี 2550 รวมถึงมีลักษณะหลากหลาย ทั้งเยาวชนที่อยู่กับครอบครัว เยาวชนที่ครอบครัวแตกแยกหรือมีเหตุจำเป็นทำให้ไม่ได้อยู่กับครอบครัว เยาวชนในสถานศึกษา เยาวชนนอกสถานศึกษาเยาวชนแกนนำ เยาวชนด้อยโอกาส เยาวชนที่มีความสามารถด้านการเรียน มีความสามารถด้านกีฬา ด้านดนตรี หรือเยาวชนที่อาจยังหาความสามารถของตนเองไม่พบฯลฯ ซึ่งเยาวชนแต่ละกลุ่มแต่ละลักษณะจะมีโอกาสในความเสี่ยงที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดแตกต่างกัน

        โดยผลการวิจัยเชิงสำรวจของศูนย์วิจัยเอแบค เรื่องพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กและเยาวชน ในปี 2550 พบว่า กลุ่มเยาวชนที่มีโอกาส/ความเป็นไปได้ในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มที่มีทัศนคติที่ผิดเกี่ยวกับยาเสพติดกลุ่มที่มีวัฒนธรรม/วิถีชีวิตยอมรับการใช้ยาเสพติด กลุ่มที่ใช้ชีวิต/เวลาในทางที่ไม่ควรอาทิ หนีเรียน มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ติดเกม เสพสื่อลามก กลุ่มที่มีความเอนเอียงต่อพฤติกรรมแข่งรถซิ่ง และกลุ่มที่มีปัญหาครอบครัวดังนั้น การดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน ซึ่งมีปัจจัยจำกัดเชิงบริหารต่างๆ เช่น ปัจจัยจำกัดด้านทรัพยากร เวลาและองค์ความรู้ จึงจำเป็นต้องเลือกกลุ่มเยาวชนที่มีความเสี่ยง/โอกาสสูงในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดเป็นลำดับความสำคัญแรกในการดำเนินงาน เพื่อให้การป้องกันปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนสามารถดำเนินการได้อย่างตรงจุด ตรงประเด็น และตรงต่อสภาพปัญหามากที่สุด อันจะทำให้การป้องกันปัญหายาเสพติดสามารถบังเกิดผลหรือสามารถลดผู้ที่จะเข้าประตูสู่ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง

        ลักษณะเยาวชนโดยรวมสามารถจำแนกออกได้หลากหลายลักษณะตามแต่มุมมองในด้านต่างๆ สำหรับกรอบความคิดเพื่อการดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน ได้แบ่งเยาวชนตามลักษณะทางพฤติกรรมออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ เยาวชนกลุ่มทั่วไป กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพ/ติด โดยเยาวชนแต่ละกลุ่มมีลักษณะดังต่อไปนี้

       (1) เยาวชนกลุ่มทั่วไป คือ เยาวชนทั่วไปที่มีพฤติกรรมตามปกติในบรรทัดฐานทางสังคมและมีภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติดในระดับที่มากกว่าเยาวชนกลุ่มอื่นโดยเปรียบเทียบ

       (2) เยาวชนกลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนหรือมีโอกาส/แนวโน้มสูงที่จะใช้ยาเสพติด หรืออาจรวมถึงเยาวชนที่เสพยาเสพติดหรือเคยทดลองใช้บ้างแล้วแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นผู้ติด

       (3) เยาวชนกลุ่มเสพ/ติด คือ กลุ่มเยาวชนที่เสพ/ติดยาเสพติดเป็นประจำซึ่งจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดรักษา

นิยาม “เยาวชนกลุ่มเสี่ยง”

      เยาวชนกลุ่มเสี่ยง2 หมายถึง เด็กและเยาวชน ที่มีลักษณะพฤติกรรมทัศนคติ ค่านิยม โอกาสและเงื่อนไขปัจจัยในการใช้ชีวิตที่มีโอกาส/แนวโน้มที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากกว่าบุคคลอื่น หรือตกอยู่ในสภาวการณ์ที่มีแนวโน้มเข้าสู่การใช้ยาเสพติดมากกว่าบุคคลอื่น โดยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

      (1) กลุ่มที่สังคมมองในเชิงลบ คือ เยาวชนที่มีพฤติกรรมที่นอกเหนือจากบรรทัดฐานของสังคมจนถูกสังคมตีตราในเชิงลบ เช่น

            • เยาวชนที่อยู่ในแก๊งที่ใช้ความรุนแรง

           • เยาวชนที่อยู่ในแก๊งซิ่งรถมอเตอร์ไซค์

           • เยาวชนที่เคยกระทำผิด หรือมีประวัติถูกคุมประพฤติ

           • เยาวชนที่เคยเสพยาเสพติด

           • เยาวชนที่หนีเรียน

     (2) กลุ่มที่อยู่ในภาวะบริโภคนิยม คือ เยาวชนที่ได้รับอิทธิพลความคิดจากกระแสบริโภคนิยมและวัตถุนิยมจนส่งผลให้ความคิด ความเชื่อและค่านิยมมุ่งเน้นการแสวงหาความสนุกสนานให้กับตนเอง ไม่สนในสังคมรอบข้าง และขาดเป้าหมายในชีวิต เช่น

         • เยาวชนที่เที่ยวเตร่/มั่วสุม

        • เยาวชนที่ว่างงาน เตร็ดเตร่อยู่ในชุมชน

        • เยาวชนที่ฟุ้งเฟ้อ แสวงหาความสนุกสนานจากการบริโภคและใช้จ่ายเงินเกินตัว

        • เยาวชนที่ไม่ได้อยู่กับครอบครัว หรืออาศัยอยู่ตามหอพักและที่พักอาศัยเชิงพาณิชย์

    (3) กลุ่มที่อยู่ในภาวะวิกฤติ คือ เยาวชนที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆในชีวิตอย่างโดดเดี่ยว โดยขาดกลไกต่างๆ ประคับประคอง ช่วยเหลือ ดูแล เช่น

       • เยาวชนเร่ร่อน

       • เยาวชนที่ถูกละเมิด/ทารุณบังคับใช้แรงงาน

       • เยาวชนที่กำพร้าอพยพหนีภัยสงคราม/ภัยธรรมชาติ/อุบัติภัย และความรุนแรงต่างๆ โดยปราศจากกลุ่ม/องค์กร หรือบิดามารดา ผู้อุปการะเลี้ยงดู

       แนวทาง/ระบบพื้นฐานการดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติดในเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วยการดำเนินงานหลัก 6 ประการ โดยเริ่มจากการทำความ“เข้าใจ” กับสภาพปัญหาและลักษณะของเยาวชน จากนั้นจึงจัดการข้อมูลและองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการศึกษา สำรวจและรวบรวมมาสร้างและพัฒนาเป็นฐานข้อมูลที่เป็นระบบ เพื่อเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการดำเนินงาน โดยเมื่อสามารถเข้าใจสภาพปัญหาของเยาวชนได้แล้ว ต่อมาจำเป็นต้อง “เข้าถึง” เยาวชนกลุ่มเสี่ยงซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญในการดำเนินงาน โดยพัฒนากลไกการดำเนินงาน อันได้แก่บุคคล/องค์กร/หน่วยงาน/เครือข่ายที่สามารถเข้าถึงและจัดการกับปัญหาได้อย่างตรงเป้าหมาย รวมถึงจำเป็นต้องมีกระบวนการพัฒนารูปแบบ/วิธีการดำเนินงานควบคู่ไปด้วย เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้สำหรับนำไปดำเนินงาน จากนั้นจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ คือ การดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติดในกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นการ“พัฒนา” เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่กลุ่มเป้าหมายและลดทอนปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่นำสู่ปัญหายาเสพติด และเมื่อได้พัฒนากลุ่มเป้าหมายแล้ว จำเป็นต้องดูแลติดตามกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อประคับประคองให้ออกจากสภาวะและพฤติกรรมเสี่ยงให้นานที่สุด หรือจนกว่ากลุ่มเป้าหมายจะมีภูมิคุ้มกันพอที่จะเผชิญปัจจัยเสี่ยงต่างๆในสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปได้ โดยการดำเนินการหลักทั้ง 6 ประการตามแนวทาง/ระบบพื้นฐานการดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติดในเยาวชนกลุ่มเสี่ยง

                                    

ที่มา  สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด   สำนักงาน ป.ป.ส.

                                                                 ถูกนายด่า อารมณ์เสีย?
                                                   คนที่ด่าคนอื่นสะท้อนว่าระบบข้างใจกำลังพัง

                                                             คนอารมณ์เสียเพราะถูกด่า
                                                      แสดงว่าระบบของตัวเองก็พังตามไปด้วย


<p></p>

หมายเลขบันทึก: 538688เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บุหรี่ เป็น ยาเสพติด ถูกกฎหมาย

สร้างปัญหาสุขภาพของประชาชน ๑๐๐% (สูบ ๑๐๐ คน เป็นโรค ๑๐๐ คน)

เป็นภาระงบประมาณค่ารักษาพยาบาลมหาศาล

เราจะปิดโรงงานยาสูบได้อย่างไร!!!

จำหน่ายยอดต่อคน ไม่เกิน1 ซอง/1วบุรีที่ถูกต้องตามกดหมาย จัดให้อยู่ในกลุ่มชือขายไม่เกินกำหนดสินค้าจีดขายในตามห้างสรรพสินค้า งดจำหน่ายร้านโชห่วย ต่างๆที่รัฐจะกำหนด บัตรผู้มีรายได้น้อยก็เยอพอเเล้วนะ เเต่ผู้มีรายมากกว่า จะไม่มีบัตรนี้ หรือไม่เข้าร่วมโครงการบัตรชื้อสินค้าให้เป็นบัตรประชาชนเพราะมีกันทุกคนให้มีวงเงินเเบบบัตรผู้มีรายได้น้อยให้จำกัดสินค้า/1ครัวเรือน ห้ามมีการใช้สิทธิเเทน ผิดกฏหมายไปเลย ทั่งประเทศอาจจะนามสกุล เหมือนกัน ผมไม่เเน่ใจว่าจำกัดได้หรือไม่ งดบัตรสินเชื่อรูดชื้อสินค้า บุรีภาษาชาวบ้าน บุรียาเส้น ให้ผู้ผลิตขายได้เฉพาะรัฐจัดขาย เท่านั้น สาขาย่อยต้องเข้าร่วมโครงการ ต้องมมีเครื่องรูดชื้อสินค้า ห้ามสวมสิทธิคนอื่น ปีไหน เวลาไหน จะลดราคาไม่ต้องอีกต่อไป ลดยอดขายต่อคน ต่อครัวเรือน

จำหน่ายยอดต่อคน ไม่เกิน1 ซอง/1วบุรีที่ถูกต้องตามกดหมาย จัดให้อยู่ในกลุ่มชือขายไม่เกินกำหนดสินค้าจีดขายในตามห้างสรรพสินค้า งดจำหน่ายร้านโชห่วย ต่างๆที่รัฐจะกำหนด บัตรผู้มีรายได้น้อยก็เยอพอเเล้วนะ เเต่ผู้มีรายมากกว่า จะไม่มีบัตรนี้ หรือไม่เข้าร่วมโครงการบัตรชื้อสินค้าให้เป็นบัตรประชาชนเพราะมีกันทุกคนให้มีวงเงินเเบบบัตรผู้มีรายได้น้อยให้จำกัดสินค้า/1ครัวเรือน ห้ามมีการใช้สิทธิเเทน ผิดกฏหมายไปเลย ทั่งประเทศอาจจะนามสกุล เหมือนกัน ผมไม่เเน่ใจว่าจำกัดได้หรือไม่ งดบัตรสินเชื่อรูดชื้อสินค้า บุรีภาษาชาวบ้าน บุรียาเส้น ให้ผู้ผลิตขายได้เฉพาะรัฐจัดขาย เท่านั้น สาขาย่อยต้องเข้าร่วมโครงการ ต้องมมีเครื่องรูดชื้อสินค้า ห้ามสวมสิทธิคนอื่น ปีไหน เวลาไหน จะลดราคาไม่ต้องอีกต่อไป ลดยอดขายต่อคน ต่อครัวเรือน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท