พ่อแสนกับบึ้ง


หากท่านติดตามบันทึกที่ผมกล่าวถึงพ่อแสนนั้น ย่อมทราบดีว่า พ่อแสนเป็นนักทดลอง นักศึกษา นักเรียนรู้  นักจำลองสภาพธรรมชาติ เช่น การทำบ้านให้ค้างคาวเพราะต้องการมูลค้างคาว  การเอาเห็ดป่ามาเพาะปลูกในสวนตามต้นไม้ที่มักพบเขาในป่า การทำบ้านให้ผึ้งป่า การทำคอกหมูแบบเคลื่อนที่  การทำบ่อดักสัตว์ป่า การโน้มกิ่งผักหวานป่า  การเลี้ยงแมงโย่งเย่ง และ การเลี้ยงบึ้งป่า ทั้งหมดนี้ทำในสวนสวนเกษตรของตัวเองพ่อแสนทำคนเดียว แม่บ้านเป็นผู้ช่วยครั้งคราวเท่านั้น


ครั้งหนึ่งที่ผมไปเยี่ยมพ่อแสน เห็นสิ่งก่อสร้างในรูปนี้ก็ถามพ่อแสนว่า นั่นคืออะไร พ่อแสนยิ้มๆแล้วตอบว่า ผมทดลองเลี้ยงบึ้งครับ....  จริงๆมีฝาปิดมิดชิด ตอนนี้หยุดกิจกรรมนี้เลยเปิดทิ้งไว้ บึ้งนั้นเป็นอาหารตามธรรมชาติของชาวบ้านมานาน ก็เลยทดลองเลี้ยงแทนที่จะไปหาจากป่า ไปรบกวนป่า เหมือนสิ่งอื่นๆที่ผมทำในสวนแห่งนี้  ผมเลี้ยงมาสองครั้ง ยังไม่สำเร็จ 

ครั้งที่หนึ่งบึ้งมาอยู่พักหนึ่งก็หนีไป  ครั้งที่สองมาอยู่นานจนออกลูกเต็มไปหมด พ่อแสนกล่าวว่าผมไม่รู้จักวิถีชีวิตเขา พบว่า มันกินลูกมันหมดเลย  แล้วมันก็หนีไป  ผมถามว่า ตัวบึ้งตัวแม่มันกินลูกมันหรือครับ  พ่อแสนย้ำว่าจริง ผมเห็นมันจริงๆ กว่าจะรู้ตัวมันก็กินหมดแล้ว  จริงๆในป่ามันก็กินแต่ลูกมันหนีได้เพราะพื้นที่มันกว้าง แต่ตรงนี้มันแคบลูกมันหนีไม่ได้ ความจริงต้องเอาแม่มันแยกออกไป.....  พ่อแสนกล่าวบทสรุปที่เรียนรู้มา
 

หลายท่านไม่รู้จักบึ้ง  ขอแนะนำบึ้ง โดยใช้ข้อมูลที่ระบุในท้ายบันทึกนี้

บึ้ง เป็นแมงมุมในกลุ่มทารันทูร่า (taruntura) มีวิวัฒนาการจากแมงมุมโบราณในกลุ่มโลกเก่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเมืองไทย และเป็นแมงมุมที่มีพิษร้ายแรงเป็นอันดับสองรองจาก "แมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล" ที่มาจากต่างถิ่น โดยปกติแล้วจะหากินโดยการขุดรูอยู่ตามพื้นดิน และชักใยมาปิดปากรู เพื่อจับอาหารพวกแมลงปีกแข็งต่างๆ ส่วนตัวผู้ในบางฤดูพบว่า อาจจะออกมาตามบ้านเรือนมนุษย์ที่อยู่ใกล้ป่า เพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ รวมทั้งหาแมลงกิน เนื่องจากบ้านคนเมื่อเปิดไฟจะมีแมลงมาตอมและตกลงพื้น 

 

"บึ้ง" ในประเทศไทย มี 3 สี คือ สีดำ สีน้ำเงิน และสีน้ำตาลและมีประมาณ 15-16 ชนิดปกติบึ้งจะไม่ค่อยเข้ามาที่บ้านคน แต่ถ้าหากเข้ามาก็ด้วยสาเหตุ 2 ประการ คือ มาจับแมลงที่มาตอมไฟ และบ้านรกเกินไป  บึ้งดำไทย นั้นเป็นแมงมุมที่มีพิษน้อยแต่กับบางคนที่แพ้สารพิษก็เป็นอันตรายในทางกลับกันแมงมุมก็มีประโยชน์ เช่นกัน  เพราะมันช่วยกินแมลงศัตรูพืชในไร่นา แถมยังเป็นเมนูเด็ดที่ชาวบ้านบางพื้นที่ชื่นชอบนำมาปรุงเป็นยาอีกด้วยโดยธรรมชาติของบึ้ง จะใช้เขี้ยวกัดเหยื่อ โดยใช้เขี้ยวจะฝังลึกลงไปในเนื้อ ปล่อยน้ำพิษผ่าน เขี้ยวเข้าสู่ร่างของเหยื่อ เมื่อเหยื่อรับพิษ เหยื่อจะไม่มีแรง ในที่สุดก็จะเป็นอัมพาตขยับเขยื้อนไม่ได้ เนื่องจากพิษบึ้งจะค่อยๆ ย่อยเนื้อของเหยื่อ ทำหน้าที่เหมือนกรดกัดกร่อน ให้เนื้อกลายเป็นของเหลว แล้วบึ้งจะดูดของเหลวออกมา...จนเหยื่อแห้งเหลือแต่ซาก


ปัจจุบัน คนเริ่มหันมาเลี้ยงบึ้งเหมือนสัตว์เลี้ยงกันมากขึ้น แต่บึ้งดำไทยไม่ค่อยได้รับความนิยมเพราะนิสัยขี้ระแวงสุดๆ มีนิสัยดุ อาจวิ่งหนีลงรูเมื่อถูกรบกวน มักจะขึ้นจากรู เพื่อหากินอาหารในตอนใกล้ค่ำ หรือตอนกลางคืน  โดยจะกินจิ้งหรีด และหนอน เป็นอาหาร  

บึ้ง เป็นเมนูยอดฮิตในอีกหลายๆ ประเทศ รวมถึงกัมพูชา ในเมือง สะกุน จ.จำปงจาม ที่มีเมนูทั้งอบและทอดกรอบเป็นที่นิยมของชาวกัมพูชา และนักชิมอาหารจานแปลกเป็นอย่างมาก จนบางคนกล่าวว่าอร่อยกว่าแฮมเบอร์เกอร์เสียอีกแน่ะ

ขอบคุณแหล่งข้อมูลครับ

ที่มา  http://hilight.kapook.com/view/36842


หมายเลขบันทึก: 538123เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2013 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2013 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณที่ทำให้รู้จัก บึ้ง ครับ สำหรับผมรู้สึกว่าน่ากลัวมากกว่าน่ากินนะคับ แต่ถ้าได้รู้จักก็จะได้ไม่กลัวมากจนเกินไป ขอบคุณครับ

สมัยเด็กผมเคยขุดมาปิ้งกินบ่อย  แต่เดี๋ยวนี้ไม่ไหวแล้วครับ   รู้สึกสงสารมันมากกว่า

ไม่เอาครับ ผมคงไม่กล้ากินแน่ๆ ผมเห็นไกลๆ ยังวิ่งหนีเลยครับ แมงมุมเป็นสิ่งมีชีวิตที่ผมกลัวมากเลยครับ ตอนเด็กๆ ถูกเขาหลอกมาครับ

พ่อใหญ่แสนน่าสนใจ

จำได้ว่าที่ไร่ผมยังมีบึ้งอยู่ รูของเขาจะมีใยขาวๆ ตอนเด็กๆไปขุดบ่อยๆครับ

ตอนนี้เลิกทำบาปแล้ว

ไม่ได้เห็นนานมากล่ะค่ะ 

nobita  สำหรับคนทั่วไปนั้น บึ้ง หรือแมงมุมยักษ์นี้น่ะครับ เป็นสัตว์ที่น่ากลัวมากกว่าน่ากิน จะกินเฉพาะชาวบ้านลางถิ่นบางพื้นที่เท่านั้น เพราะเขามีพฤติกรรมเช่นนั้นมานานแสนนาน ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น คนกลุ่มนั้นจึงถือเป็นเรื่องปกติ ไม่เห็นแปลก ไม่เห็นอันตรายอะไรเลย

เหมือนพี่น้องที่ ต.ท่าแร่ จ.สกลนครนิยมกินเนื้อหมา  คนทั่วไปเขารักน้องหมา เอามากอด จูบ เอาไปนอนด้วย แต่คนที่นั่นชอบเนื้อมัน ทำเขียงหมาเหมือนเขียงหมู  นี่ก็คือพฤติกรรมการกินที่มีเฉพาะถิ่น เฉพาะกลุ่มครับ

พี่น้องดงหลวงเป็นชนเผ่ากระโซ่ หรือบรู เป็นชนเผ่าที่นิยมตั้งถิ่นฐานตามชายป่า ไหล่เขา และพึ่งพิงทรัพยากรจากป่ามาก อาหารการกินก็พึ่งจากป่า อะไรกินได้ เอาหมด...ครับ

สำหรับเราๆท่านๆ มีทางเลือกอาหารมากมาย  และที่สำคัญบรรพบุรุษเราไม่ได้ส่งต่อกระบวนการกินสัตว์ประเภทนี้น่ะครับ

อักขณิชครับ  สมควรจะบันทึกประสบการณ์กินบึ้งสมัยเด็กๆให้เรารับทราบกันบ้างครับ  อิอิ อยากทราบเหมือนกันว่าเป็นไงบ้างครับ

อ.ธวัชชัยครับ หวังว่าอาจารย์สบายดีนะครับ ระลึกถึงเสมอครับ

ผมเองก็กลัวจนวิ่งหนีเหมือนกันสมัยเด็กๆ  ตอนนี้ก็ไม่กล้า เพราะทราบว่ามันมีพิษด้วย เห็นทีไรก็ไล่ให้ไปไกลๆด้วยครับ  อิอิ บางทีก็แกล้งมัน  แต่กลัวซะมากกว่า เพราะมีขนดำๆ และวิ่งไวมาก กลัวมันจะวิ่งมาเกาะเรา จริงๆเขาก็หนีเรามากกว่าน่ะครับ

น้องขจิตที่คิดถึง   อิอิ ชอบแกล้งมันเหมือนกันนะเนี๊ยะ เด็กๆน่ะเห็นอะไรก็สนุกไปหมด โดยไม่ได้คิดอะไร  โดนพ่อตีบ่อยๆก็เรื่องเหล่านี้ อิอิ

กอหญ้าครับ  ชนบทมีเยอะครับ เห็นบ่อยๆ แต่บ้านในเมืองจะไม่มี หรือโอกาสมีน้อยเพราะไม่ใช่ถิ่นของเขา เราคนในเมืองจึงมีโอกาสเห็นน้อยครับ

น่าสนใจครับ เดี่ยวนี้มีคนเลี้ยงบึ้งขายแล้ว 

วาววว   อ.ภูคาที่คิดถึง  เอาสักตัวไหมครับ  อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท