เป็นวิทยากรกระบวนการ


ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นวิทยากรกระบวนให้กับสภาเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร  โดยทีมสมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นทีมวิทยากรจากหลายหน่วยงานราชการในจังหวัดสมุทรสาคร รวมตัวกันมาตั้งแต่ปี พศ.2550 นำทีมโดย อาจารย์สุทัศน์  ตระกูลบางคล้า  (ครูเอกชนเกษียณราชการ)  ทีมวิทยากรประกอบด้วยบุคลากรวิทยาลัยพละศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร  โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย  สิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสาคร ฯลฯ จำนวนหนึ่ง  ส่วนตัวข้าพเจ้าเข้าร่วมตั้งแต่ปี  2552  ตั้งแต่มีการปฏิรูปประเทศไทยขึ้น ได้เคยเข้าร่วมอบรมกับทางรัฐสภา 

สภาเกษตรกรเป็นองค์กรด้านเกษตรของจังหวัดสมุทรสาคร มีคณะกรรมการในการดำเนินงานจากตัวแทนภาคเกษตรกรในภาคส่วนต่างๆ  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาซึ่งมาจากวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร  สภาเกษตรฯ ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อสนองนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ  ให้มีการนำเสนอยุทธศาสตร์ของจังหวัดสมุทรสาคร ได้จัดเวทีสาธารณะเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหา  ความต้องการในภาคการเกษตร  และความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ  ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการ จำนวน  3  ครั้ง  ดังนี้

ครั้งที่  1  ที่ สหกรณ์เกษตร อำเภอบ้านแพ้ว  มีผู้เข้าร่วมจำนวน  84  คน  (26 เม.ย.56)

ครั้งที่  2  ที่สหกรณ์ครูสมุทรสาคร  อำเภอเมืองสมุทรสาคร  มีผู้เข้าร่วมจำนวน 120 คน (3 พ.ค.56)

ครั้งที่  3  ที่อบต.คลองมะเดื่อ  อำเภอกระทุ่มแบน  มีผู้เข้าร่วมจำนวน  110  คน  (28 พ.ค.56)

รวมทั้งสิ้น  314  คน  ทั้งนี้และทั้งนั้น  สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร  ได้จัดโครงการยกร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร  สภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสาคร  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาและการใช้เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัดสมุทรสาคร  นำเสนอต่อสภาเกษตรแห่งชาติเพื่อบูรณาการเป็นแผนแม่บทเสนอต่อคณะรัฐมนตรี  เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลยกร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการ  ได้จัดกิจกรรมเสวนาแสดงความคิด  เนื้อหากิจกรรมที่ได้เข้าร่วมเวทีกิจกรรมในการเป็นวิทยากรเวทีกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้

สถานการณ์และปัญหา  จำนวน  ๓  ข้อ  คือ 

๑)  ปัญหาที่เกิดขึ้นในการประกอบอาชีพการเกษตรเป็นอย่างไรบ้าง

๒)  ทำอย่างไรให้สภาเกษตรกรและเครือข่ายจึงจะมีความเข้มแข็ง

๓)  สภาเกษตรกรและส่วนราชการภาครัฐที่เกี่ยวข้องและความสามารถช่วยเหลือเกษตรกร  ในด้านใดบ้าง

วิธีการจัดกระบวนการ แบ่งกลุ่มจำนวน  ๓  กลุ่ม  ด้านพืชและด้วยประมง  จัดเวทีกลุ่มย่อยเพื่อทราบปัญหาที่แท้จริง และแนวทางจากแนวความคิดของประชาชนในการเก็บข้อมูลโดยการแสดงความคิดเห็นถึงสภาพปัญหาและการแก้ไขปัญหาด้านพืชและด้านประมง  จัดกลุ่มย่อยจำนวน  ๓๕-๔๐  คน และแยกย้ายนำประเด็นทั้ง  ๓  ประเด็นไปพูดคุยในกลุ่ม  โดยใช้เวลา ๓ ชั่วโมงในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมร่วมกัน รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของภาคประชาชนอำเภอบ้านแพ้ว  เมืองสมุทรสาครและกระทุ่มแบน  จากนั้นนำมาอภิปรายโดยตัวแทนกลุ่มในแต่ละกลุ่ม จำนวน  ๑ ชั่วโมง  นำประเด็นต่างๆ  นำมาสรุปผลอีกครั้งในเวทีภาครวมอีกครั้งในคราวหน้า  

ผลที่ได้ในการจัดกิจกรรม  คือ การได้รับรู้ปัญหาของเกษตรกรอำเภอกระทุ่มแบน  ด้านพืชและประมง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาคร  อำเภอกระทุ่มแบนมีการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมมากและการเกษตรประเภทที่ได้รับผลกระทบตรง  คือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เลี้ยงปลาสลิด การปลูกพืชผักผลไม้ ประเภทกล้วย มะม่วง ชมพู่ และอื่นๆ  การปลูกพืชสวนไม้ดอกไม้ประดับ ประเภทกล้วยไม้  การใช้สารเคมีเกิดขนาด  การใช้น้ำตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและเพื่อเป็นขับเคลื่อนสิ่งที่ประชาชนในภาคเกษตรของอำเภอกระทุ่มแบน จึงมีความจำเป็นต้องรับรู้ในเรื่องปัญหาและความต้องการในภาคการเกษตรอย่างแท้จริง  การจัดเวทีสมัชชารับฟังความคิดเห็นและนำความคิดเห็นเหล่านั้นกลับไปสะท้อนไปยังรัฐบาลต่อไปเพื่อแก้ปัญหาด้านเกษตร  ผลที่ได้จากการเข้าร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการกลุ่มย่อยในครั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรครูของการศึกษานอกโรงเรียน  ครูอาสาสมัคร กศน. ให้มีความความรู้ในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการมาตรฐานด้านการจัดการศึกษา  มาตรฐานที่ ๒ (ตัวบ่งชี้ ๒,๓,๔,๖,และ ๗ )  มาตรฐานที่ ๕  อัตลักษณ์ของสถานศึกษา  ( ตัวชี้วัดที่  ๑,และ  ๖ )  มาตรฐานที่  ๖  มาตรการส่งเสริม  ( ตัวบ่งชี้ที่ ๑,๒ และ  ๖ )

  ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ  ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประชาชนภาคเกษตรกรของจังหวัดสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน ซึ่งมีปัญหาหลัก คือ น้ำเสีย  ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนในการอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม การจัดเวทีในครั้งนี้ได้รู้ปัญหาและสิ่งที่ประชามีความต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาของเกษตรกรซึ่งเป็นอาชีพที่มีความสำคัญของจังหวัดสมุทรสาคร  ประชาชนซึ่งเป็นเครือข่ายเกษตรกรจะได้รับความรู้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และจัดทำแผนยุทธศาสตร์เกษตรในระดับชุมชน อำเภอและจังหวัด  ในการนี้ข้าพเจ้าจะนำไปขยายผลการจัดการเรียนการสอนและถ่ายทอดให้เพื่อนครูในกศน.อำเภอเมืองสมุทรสาครที่สนใจในเรื่องเกี่ยวกับเกษตรกรรมของสมุทรสาครและเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  บัดนี้  กิจกรรมดังกล่าวได้เสร็จสิ้นเรียบร้อย  จึงขอสรุปผลตามเอกสารดังแนบ พร้อมภาพประกอบกิจกรรม  เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรครูให้เป็นผู้มีศักยภาพในการปฏิบัติการงานราชการของ กศน


เหลือ อีก เวทีสุดท้าย ซึ่งเป็นการสรุปร่วมกันของคณะกรรมการและ วิทยากร เพื่อถอดบทเรียนในเรื่องของเกษตรกรของจังหวัดสมุทรสาครต่อไปในครั้งหน้า....

หมายเลขบันทึก: 538080เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2013 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2013 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท