ปฏิบัติการโค้ช ครั้งที่ 1


ปฏิบัติการโค้ช ครั้งที่ 1 ที่โรงเรียนผาอินทร์แปลงวิทยา

รู้สึกดีใจที่ได้กลับไปโรงเรียนเดิมที่ตนเองเคยสอนก่อนจะเป็นศึกษานิเทศก์  ครูคนที่เรารู้จักและคุ้นเคยมีเพียงไม่กี่คน แต่ครูที่ไปปฏิบัติการโค้ชก็เป็นกันเอง น่ารัก ถึงแม้ตอนแรกจะเกร็งๆ ไม่ค่อยกล้าพูด จึงพยายามสร้างบรรยากาศให้สบายๆ ถามสัพเพเหระไปจนบรรยากาศเกร็งตอนแรกหายไป จึงเริ่มดำเนินการให้ครูแต่ละคนเล่าเรื่องที่ตัวเองได้ทำอะไรไปบ้างหลังจากการกลับจากอบรมแล้ว โดยเริ่มเล่าจากคนที่อายุน้อยท่ีสุดก็บอกว่าดีใจที่ไปเข้าร่วมโครงการถึงแม้จะไม่อยากไปอบรมแต่เมื่อไปอบรมแล้วก็รู้สึกว่ามีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของตนเอง และมีความกังวลว่าจะทำได้ไหมเวลาที่ศึกษานิเทศก์และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมาปฏิบัติการโค้ช ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพราะไม่ได้สอน ม.2 มีน้องฝึกประสบการณ์สอนแทน จึงค่อนข้างกังวล ส่วนครูอีกที่เหลือก็แสดงความรู้สึกดีท่ีได้เข้าร่วมโครงการ และทั้งหมดทุกคนได้ลองนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต้องใจเย็นมากกว่านักเรียนจะตั้งคำถามได้ และเป็นคำถามท่ีไม่ตรงประเด็น ก็มีนักเรียนบางส่วนที่ตั้งคำถามได้ แล้วก็มีครูสอนสังคมศึกษาเล่าว่านักเรียนไม่ยอมพูดอะไรเลย ครูจึงบอกนักเรียนว่าอยากรู้อะไรถามครูมาเลย  นักเรียนก็ยังไม่พูด ไม่รู้จะทำอย่างไรดี โค้ชจึงถามครูอีกคนว่าถ้าเป็นคุณครูจะใช้คำถามว่าอย่างไร ซึ่งครูแต่ละคนก็บอกว่าคงจะใช้คำถามท่ีตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ก่อนแล้วจึงค่อยๆเป็นคำถามปลายอีกให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากครูด้วยกันเป็นอย่างดี

   โค้ชก็ชมเชยว่าจัดการเรียนโดยให้นักเรียนตั้งคำถามเองเป็นเรื่องที่ดีและเป็นการดีมากท่ีครูรู้ว่าตนเองสอนอะไร มีข้อบกพร่องอะไร และครั้งต่อไปจะทำอย่างไรให้ดีขึ้นกว่าเดิม

  แล้วครูทุกคนก็ถามว่าแล้วจะตรวจแผนการสอนเมื่อไหร่ เราก็บอกไปว่า ณ ขณะนี้เราเลยการตรวจแผนการสอนว่าครูทำเขียนถูกหรือผิดไปแล้วแต่ เราจะดูที่ผลการสอนของครูแต่ละครั้ง ถือว่าครูทุกคนมีแผนการสอนแล้ว และครูยังไม่เข้าใจในการเขียนไดอารี่ เขียนยังไง โค้ชก็เล่าว่าในการสอนแต่ละครั้งหลังจากการสอนแล้วครูต้องเขียนบัทึกทุกครั้งใน 3 ประเด็นนี้

ประเด็นท่ี 1 ผลการสอนเป็นอย่างไร อะไรท่ีคิดว่าประสบผลสำเร็จ

ประเด็นท่ี 2 ในการสอนครั้งนั้นมีอะไรท่ีค้างคาใจ คิดว่าตัวเองยังทำได้ไม่ดี

ประเด็นท่ี 3 มีแนวทางจะทำให้สิ่งท่ีค้างคาใจหายไปได้อย่างไร ในการสอนครั้งต่อไป

ครูทุกคนก็ร้อง อ๋อ พร้อมกัน เขียนเหมือนบันทึกหลังสอนที่เราเคยทำกัน และในการบันทึกครั้งต่อไปก็นำนำทางการแก้ปัยหาไปสอน แล้วก้บันทึกเป็นวงรอบแบบนี้ไปเรื่อยๆ 

ในการโค้ชครั้งแรกใช้เวลาถึงเที่ยงครึ่ง  เกินเวลาไปครึ่งชั่วโมง ซึ่งเป็นเรื่องที่โค้ชจะต้องระวังเรื่องเวลาด้วยและผู้โค้ชเองมีปัญหาเรื่องการฟังครูเล่าเรื่อง  ไม่ใช่ Deeply Listening เลย เพราะต้องคอยจดสิ่งท่ีครูพูด

ในครั้งต่อไปคงต้องวางแผนให้ดีกว่านี้


วันที่  30  พฤษภาคม 2556

อรวรรณ  เหล่าคนค้า

ผู้บันทึก

คำสำคัญ (Tags): #coaching#mentoring
หมายเลขบันทึก: 537616เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ใช้ยล็อกอ้อเป็นหลักเลยนะ แจ้งสมาชิกให้มาโพส

กันให้มากขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

30พ.ค.56 ได้นำแบบฟอร์ม Teacher Profile ที่ปรับใหม่ไปให้ครูทั้งโรงเรียนกรอก ครูนอกเหนือจาก 8 คนที่ได้ Theme ท่าลี่มีสัจจะ ได้ให้ Theme ผลกระทบจากการเปิดด่านชายแดนไทย-ลาว ไปให้นักเรียนทำโครงงานทุกกลุ่มสาระ

เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน

ครูท่าลี่วิทยานำนักเรียน ม.2 ออกสำรวจสถานที่จริง เพื่อจัดทำโครงงาน http://www.gotoknow.org/posts/538815

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท