หมวกกันน็อคจักรยาน___ช่วยได้ไหม



.
.
ภาพที่ 1: แสดงวิธีสวมหมวกกันน็อคให้ถูกวิธี
.
(1). ขอบหน้าอยู่เหนือคิ้ว 2 นิ้ว
.
(2). จัดสายรัดเป็นรูปตัว V > สายเส้นหนึ่งอยู่หน้าหู, เส้นหนึ่งอยู่หลังหู, อีกเส้นหนึ่งอยู่ใต้คาง
.
(3). ความตึงพอดี > สอดนิ้วมือ 1 นิ้วใต้คางได้
 
.

.
ภาพที่ 2: วิธีสวมหมวกกันน็อคให้ถูกวิธี
.
(1). หมวกอยู่ในแนวขนานกับแผ่นดิน > ไม่หงายไปทางด้านหลัง ไม่เปิดส่วนใบหน้า-หน้าผากมากเกินแบบภาพบนขวา
.
(2). ปรับหมวกให้ฟิต หรือสวมบนกะโหลกศีรษะได้พอดี > ไม่คว่ำมาทางด้านหน้าจนบังการมองเห็น
.
(3). ปรับสายรัดให้ติดกับคาง และล็อคให้เข้ากัน > การสวมหมวกกันน็อคโดยไม่ล็อคสายรัดคาง จะทำให้หมวกหลุดได้ง่าย
.

.
สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Bicycle helmet laws linked to fewer child deaths'
= , ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่ ทำโดยการวิเคราะห์สถิติในช่วงปี 1999-2010/2542-2553 พบว่า หมวกกันน็อคจักรยานช่วยลดอัตราตายได้ 20% ในกลุ่มตัวอย่างอายุน้อยกว่า 16 ปี
.
สหรัฐฯ ซึ่งมีประชากร 316 ล้านคน มีคนตายจากอุบัติเหตุรถจักรยานชน = 900 คน/ปี
.
ในจำนวนนี้ตายจากอุบัติเหตุส่วนหัว = 3/4 = 675 คน/ปี
.
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การสวมหมวกกันน็อค (helmet) ลดความรุนแรงอุบัติเหตุส่วนหัว หรือสมองได้ 88%
.
แต่ไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบว่า การออกกฎหมายบังคับให้สวมหมวกกันน็อคลดอัตราตายได้เท่าไร
.
การศึกษาใหม่ ทำจากฐานข้อมูลทั่วประเทศสหรัฐฯ ในรัฐที่บังคับให้สวมหมวกกันน็อค 16 รัฐ เทียบกับรัฐที่ไม่บังคับ
.
ผลการศึกษาพบว่า รัฐที่บังคับมีเด็กตายจากอุบัติเหตุจักรยานน้อยลง = 2 รายในล้านคน ต่ำกว่ารัฐที่ไม่บังคับซึ่ง = 2.5 รายในล้านคน
.
.
ศ.ดร.เฟรเดอริค ริวารา จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐฯ กล่าวว่า หมวกกันน็อคไม่ได้ลดเฉพาะโอกาสตาย ทว่า... ยังลดโอกาสบาดเจ็บด้วย
.
เช่น ลดบาดแผลใบหน้า-หัว, ลดแรงกระแทกต่อสมอง ทำให้ลดโอกาสเกิดอาการปวดหัว หรืออาการชักหลังอุบัติเหตุได้
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank Source by Reuters > Journal of Pediatrics, online May 28, 2013. > http://www.reuters.com/article/2013/05/29/us-bicycle-helmet-idUSBRE94S18320130529
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 30 พฤษภาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 537579เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท