"รากขยัน"หรือ "ย่านางแดง"


เก็บภาพ"ต้นรากขยัน"ไว้เมื่อวันไปเก็บ"ดอกกระเจียว"กับ"ผู้ช่วยแดง" ที่ หมู่ 8 บ้านปลักมะหว้า ตำบลพรานกระต่าย วันนี้มีโอกาสเข้ามาสืบค้นข้อมูลจึงได้รู้ว่า"รากขยัน"หลาย ๆ ท่านรู้จักกันในนาม"ย่างนางแดง" ที่สำคัญ มีสรรคุณทางสมุนไพรมากมาย...ภูมิปัญญาไทย...ดี ดี ต้องช่วยกันเผยแพร่ต่อครับ!!!!!!

                                     -วันนี้ขอนำเอาเรื่องของ"รา่กขยัน"มาฝากมิตรรัก G2K กันซักหน่อยครับ...เมื่อหลายวันก่อนที่ผมไปเก็บ"ดอกกระเจียว"กับ"ผู้ช่้วยแดง" และนำมาบันทึกซึ่งหลายท่านก็คงจะได้ติดตามอ่านกันไปแล้ว....ซึ่งวันที่เราไปเก็บ"ดอกกระเจียว" ผู้ช่วยได้แนะนำให้ผมรู้จักกับ"ต้นรากขยัน" ครับ...และผมก็ไม่พลาดโอกาสที่จะเก็บภาพมาไว้ก่อน สอบถามเบื้องต้นผู้ช่วยบอกว่าเขาจะนำเอา"ต้นรากขยัน"ไปกกินกับหมาก...น่าสนใจทีเดียวครับ....เมื่อมีโอกาสวันนี้ผมเลยต้องสืบหาข้อมูลใน Internet เพื่อทำความรู้จักกับ"ต้นรากขยัน"และนำมาบันทึีกเพื่อแบ่งปันเรื่องราวนี้ให้มิตรรัก G2K ด้วยครับ...


1.แนะนำอีกครั้งกับ"ผู้ช่วยแดง" ผู้นำทางครับ....เมื่อวันก่อนเราไปเก็บดอกกระเจียวกัน...หลังจากที่เก็บดอกกระเจียวแล้ว เราก็ได้เจอกับ"ต้นรากขยัน" ครับ...มาวันนี้...ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ"ต้นรากขยัน"กันหน่อย....


2.เก็บภาพ"ต้นรากขยัน"มา ผู้ช่วยแดงบอกว่า"ต้นรากขยัน"เขานำมากินกับหมาก วิธีการกินก็คือนำต้นและรากมาตำแล้วนำไปตากแดดก็จะได้รากขยันเป็นฝอย ๆ ลักษณะคล้าย ๆ กับเส้นยาสูบน่ะครับ....พอมาสืบค้นข้อมูลดูแล้ว...เขาบอกเอาไว้ว่า "รากขยัน,เถาขยัน หรือย่านางแดง เป็นไม้พื้นถิ่นของไทย ซึ่งค่อนข้างจะหายาก ปัจจุบันเริ่มหันมาปลูกเป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะต่างๆ มากขึ้น เพราะดอกสวย และยังมีมือเกาะหรือเถาเล็กๆ ที่สวย จัดเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านที่ดีอีกชนิดของไทย แต่น่าเสียดายที่การกระจายพันธุ์ลดน้อยลง และมีผู้รู้หรือนำไปใช้ประโยชน์ลดลงตามด้วย"


3."รากขยัน"มีชื่อเรียกแตกต่างตามท้องถิ่น ทางอีสานมักจะรู้จักกันในชื่อ "เถาย่านางแดง" หรือ "เครือย่านางแดง"  ภาคเหนือจะเรียก "เครือขยัน หรือสยาน" ครับ..... "รากขยัน"จัดได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบบริเวณป่าที่ลุ่มต่ำของป่าเต็งรัง เป็นไม้ประเภทเถาขนาดใหญ่ เลื้อยพันไปตามต้นไม้อื่น เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงออย่างสวยงาม ที่จัดเป็นเสน่ห์ชวนมองของต้นเถาขยันเช่นกันกับดอก มีใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ความเด่นอยู่ที่ดอกสีแดงสด ออกเป็นช่อยาวเรียงกันที่ปลายกิ่ง ช่อดอก ยาวประมาณ 1 เมตร มีดอกย่อยจำนวนมากครับ....

และเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า"รากขยันกินได้จริง ๆ " ผมจึงตามไปหาคน"กินหมาก"ใน"อำเภอพรานกระต่าย"ครับ...และ"ป้าิอึด"คนคุ้นเคยกันก๊คือเป้าหมายของผมครับ...555



4.สอบถามเกี่ยวกับ"รากขยัน" จาก"ป้าอึด"แล้ว  ได้ความว่า คนเก่าคนเก่าเขานำ"รากขยัน"มากินกับหมากนานแล้ว.... ซึ่งวันนี้"ป้าอึด"ได้"แสดงวิธี"การกินหมาก"กับ"รากขยัน"ให้ได้ชมกันแบบสด ๆ เลยหละครับ...ขอบอกว่า"เครื่องเคียงของหมาก"มีหลายอย่างจริง ๆ ครับ 5555


5.ฉะนั้น...วันนี้จึงได้ข้อสรุปว่าตามข้อมูลที่ผมได้มานั้น "รากขยัน"ถือเป็น"สมุนไพรพื้นบ้าน"อีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ครับ และนี่ก็คงจะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนสมัยก่อน ๆ ที่รู้จักนำเอา"สมุนไพรรากขยัน"นี้ มากินกับหมากเพราะว่า "รากขยัน สามารถใช้เป็นยาได้ทั้ง ลำต้น,ราก โดยนำไปเข้ายาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ตำรายาไทย ใช้ใบ เถา และราก แก้พิษ ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษและแก้ไข้พิษทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูกไม่ถ่าย....ติิดตามข้อมูลต่อได้ที่นี่ครับ  http://www.thaipost.net/tabloid/270512/57382 และ  http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=147 ครับ...

สำหรับวันนี้...ต้องขอขอบคุณข้อมูลเกี่ยวกับ"รากขยัน"จาก www.thaipost.net และ www.phargarden.com มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ..

                 สวัสดีครับ...

                                                                                          เพชรน้ำหนึ่ง

                                                                                         30/05/2556

หมายเลขบันทึก: 537574เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

เย้ ดีใจจัง รู้จักอีกชื่อคือ "รากขยัน" ถ้าดิฉันเดา ก็คงเพราะคนที่หานี่ต้องขยันจริงๆ ค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้หายากมาก อิอิ

ขอบคุณข้อมูลและความรู้ดี ๆ ครับ

ถ้าจำไม่ผิดนะ คุณมะเดื่อเคยเห็นรากขยันที่เขาปลูกไว้เป็นซุ้มสำหรับนั่งพัก

ที่หุ่นขี้ผึ้ิงสยาม  ราชบุรี  จ้ะ  แต่เพิ่งทราบสรรพคุณจากบันทึกของคุณเพชรนี่แหละจ้ะ 

ขอบคุณหลาย ๆ จ้ะ

ย่านางแดง พี่ดาปลูกไว้เหมือนกันแต่ไม่โต คงไม่ค่อยได้แดดได้ปุ๋ย ไม่ทราบมาก่อนเลยค่ะว่าเรียกอีกชื่อ ว่า รากขยัน และกินกับหมากได้ด้วย  พี่ดาเคยนำใบกับดอกมาปั่นกินสดๆ ชอบดอกมากเห็นแล้วดีใจ เพราะมีความรู้สึกว่าเป็นดอกไม้หาชมยาก ปกติย่านางธรรมดาก็ไม่เคยได้ชมดอก ที่พี่ดาพอจะทราบสรรพคุณ ก็เหมือนย่านางธรรมดาแต่มีฤทธิ์ด้านยาสมุนไพรแรงกว่า 



คุ้นๆ ว่าเคยเห็นมาก่อน  เพียงแต่ไม่ทราบสรรพคุณ

ใบคล้ายๆ กับใบพลูหรือใบพริกไทยเลยนะครับ

ขอบคุณข้อมูลน่าสนใจของต้นรากขยันค่ะ...เป็นอีกหนึ่งบันทึกน่าเชื่อถือมากค่ะ

ขอบคุณนะคะ เพิ่งเคยเห็นค่ะ 

ว้าว มหัศจรรย์มากครับ

-สวัสดีครับ...

-คุณ Tuknarak.. ยินดีที่ได้ร่วมแบ่งปันเรื่องราวดี ดี ครับ..

-ขอบคุณที่ติดตามนะครับ..

-สวัสดีครับ...

-คุณ nobita ได้สืบค้นข้อมูลทาง Internet มาเสริมความรู้ด้วยครับ..

-บันทึกนี้เพื่อแบ่งปันและร่วมกันอนุรักษ์ผักพื้นบ้านไทยครับ..

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับ..

-คุณมะเดื่อ...น่าจะเป็ฯเช่นนั้นะครับ รากขยันเขานิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับด้วย.

-ในป่าแถวอำเภอพรานกระต่ายยังมีต้นรากขยันมากทีเดียวครับ.

-แต่น่าเสียดาย...พื้นที่เริ่มถูกบุกรุกและแผ้วถางไปปลูกพืชเศรษฐกิจตัวอื่น..

-เศร้าใจจัง..


-สวัสดีครับ..

-พี่กานดา..เพิ่งทราบว่ามีสรรพคุณคล้ายๆ กับย่านางเขียวนะครับ..

-แบบนี้ก็สามารถนำมาตำเอาน้ำใบย่านางแดงแกงกับหน่อไม้ได้แน่ ๆ ..

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ..

-สวัสดีครับ..

-คุณอักขณิช...คล้ายๆ กันครับ..และผมเพิ่งทราบว่ามีสรรคุณมากมาย..

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมคร๊าบ!!!!


-สวัสดีครับ..

-คุณป้าใหญ่....บันทึกนี้ต้องขอขอบคุณข้อมูลจากจา่ก Internet ด้วยครับ...

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับป้าใหญ่..

-สวัสดีครับ..

-Bright Lity ยินดีที่ได้ร่วมแบ่งปันครับ..

-ขอบคุณที่มาเยือน

-สวัสดีครับ..

-คุณทิมดาบ....สมุนไพรไทยมหัศจรรย์ครับ..

-ยินดีที่ได้ร่วมแบ่งปันเรื่องนี้ครับ..

ต้องการซื้อเถาย่านางแดงจำนวนมาก ใครมีขาย สามารถโทรมาได้ที่เบอร์ 063-1496941 นุชค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท