560. "People Planet Profit"


การอยู่ในวงการ OD (หรือ Organization Development หรือภาษาไทยคือการพัฒนาองค์กร) เลี่ยงไม่ได้  ที่คุณจะถูกถามในเรื่องที่คุณไม่ค่อยจะรู้และเชี่ยวชาญ  ในมุมมองของผมเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายและเป็นโอกาสทีเดียว ล่าสุดมีคนถามว่า “อาจารย์ ธุรกิจทุกวันนี้ทำ CSR นะ ดีมากเลยนะอาจารย์” เนื่องจากท่านเป็นอาจารย์สายวิทยาศาสตร์ ผมเลยถือโอกาสคุยให้ท่านอาจารย์ฟัง... “อาจารย์ ครับ อาจารย์ดูดีๆ เท่าที่ผมศึกษามามันมีหลายระดับนะ.. ในประเทศไทยเท่าที่ผมสัมผัสมายังขั้นต้น หลายครั้งทำไปแล้วไม่ CSR จริงครับ...

                       

CSR มาจากแนวคิดง่ายๆ คือธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อสังคมครับ.. รับผิดชอบอย่างไร CSR นิยามเดิมคือการที่บริษัทรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการสร้างกลไกภายใน ที่จะรับประกันได้ว่าการดำเนินงานขององค์กรได้มาตรฐาน ตามกฎหมาย ศีลธรรม หรือมาตรฐานสากล.... ตอนนี้ที่เห็นบ้านเราก็มีออกมาเรื่อยๆ ทั้งปลูกต้นไม้ปลูกป่าบ้าง บรรษัทภิบาลมั่ง เป็นต้น... หรืออาจไปไกลกว่านั้นก็ได้...เอาที่ผมอยากพูดคือคำว่าไปไกลกว่านั้น นั่นคือแนวคิดของ Peter Fisk ในหนังสือของเขาชื่อ People Planet Profit: How to Emblace Sustainability for Innovation and Business Growth.  พูดง่ายๆคืออาจารย์เน้นที่แนวคิดการสร้างสมดุลย์ระหว่าง People Profit Planet.. คน ผลกำไร และโลก ต้องไปด้วยกัน... ถึงจะสร้างนวัตกรรมและการเติบโตทางธุรกิจได้ และส่งผลต่อความยั่งยืนของโลก 

ผมประทับใจแนวคิดนี้มากๆ แล้วทำให้นึกย้อนถึงประสบการณ์ในชีวิต ที่สัมผัสกับวงการธุรกิจทุกระดับมา... ผมว่ามี CSR ในสามระดับครับ

ระดับเฮล (ระดับนรกบนดิน) ดูแค่ผลกำไรครับ ทำไปเพื่อผลกำไร เท่านั้น ... เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ตัวเอง เปิดทางให้ได้รับผลประโยชน์ หรือไม่ก็ไม่ทำให้ใครมาขวางผลประโยชน์ เรียกว่าที่สุดเละกันหมด... เช่นบริษัทน้ำมันบางแห่ง ทำ CSR ไปช่วยโรงเรียน ช่วยชาวบ้าน ให้ทุนการศึกษา โน่นนี่นั่น ขณะเดียวกันมีแผนจะก่อตั้งบ่อขุดเจาะน้ำมันที่เกาะแห่งหนึ่ง มีรายงานว่า ตอนแรกชาวบ้านรวมตัวกันติดไม่เอาบ่อน้ำมัน เพราะห่างจากเกาะไม่กี่สิบกิโล รั่วขึ้นมา พังกันหมด  แต่ที่สุด CSR ประเภทนี้ทำชาวบ้านถอยครับ เพราะเริ่มเกรงใจ... สักพักเราคงเห็นบ่อน้ำมันอยู่ในสายตา เวลาไปเที่ยวเกาะแห่งนั้น  นรกเห็นๆ.. ถ้าบ่อนำ้มันร่ั่ว..   

มองจากมุมของ Perter Fisk ระดับนรก คือระดับที่มองแค่ผมกำไร (Profit) เป็นหลัก การทำ CSR แบบนี้ คนจึงเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง

ระดับโฮบ  (มาจาก Hope คือมีความหวัง) เป็น  CSR ดูแล้วน่ารัก ไม่จริงจังมาก แต่ดีกว่าไม่มี และผมว่าอาจพัฒนาไปในรูปแบบที่ดีขึ้นซับซ้อนขึ้นในอนาคต... เช่นที่ฮิตมากบ้านเราตอนนี้ ก็คือไปปลูกต้นไม้ ก็ดีครับ... เพื่อนผมว่ามันก็น่ารักดี... แต่เขาก็รู้สึกว่าตอนนี้ไปปลูกป่า ปลูกแต่ต้นใหม่ ปลูกเสร็จก็ไม่มีใครดูแล... เลยคิดใหม่ทำ CSR คือไปดูต้นเก่าว่าสภาพเป็นไง ถ้าไม่แย่ก็ซ่อมหน่อย ใส่ปุ๋ยหน่อย.. ถ้าแย่ก็ปลูกใหม่เลย.. ผมว่า CSR แบบนี้ดีขึ้นกว่าอย่างแรกครับ อย่างน้อยก็ได้เรื่อง People คือเรื่องคน... หรือไม่ก็ Planet เล็กน้อยก็ยังดี... เท่าที่เห็น บ้านเรา 99% ทำอะไรน่ารักๆ แบบนี้มากที่สุดครับ ซึ่งผมเชื่อว่าสักพักสังคมของเราคงเรียนรู้เและยกระดับ CSR มาประเภทที่สาม ที่เป็นระดับสูงสุด    

ระดับเฮ๊ฟเว่น (Heaven สร้างสววรค์บนพื้นพิภพ) ตรงนี้เป็น CSR ที่จริงจังมากๆ เช่นวอลโว่ ออกแบบเข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์ แต่ไม่ยอมจดสิทธิบัตรครับ มอบให้โลกเลย.. ใครจะเอาไปดัดแปลงอะไรก็ได้... ตอนนี้ ความปลอดภัยของคุณ และของโลก เป็นหนี้บริษัทวอลโว่ ครับ ตอนนี้เป็นรถในฝันของผมไปแล้ว.. ในไทยเรายังไม่เห็นบริษัทไหนทำได้ขนาดนี้ครับ... ผมว่ายังไม่ถึงครับ (อาจมีครับ ช่วยบอกที ดีเท่าหรือดีกว่าวอลโว่ก็ได้)

                       

ที่เล็กๆ น่าสนใจก็มีที่  New Heaven Diving School ที่เกาะเต่า  สอนดำน้ำครับ เคยไปฟังเจ้าของบรรยาย.. ที่นั่นแต่เดิมก็สอนคนดำน้ำอย่างเดียว โดยเจ้าของก็ทำงานด้านอนุรักษ์ไปด้วย ตอนหลังลองชวนคนที่เขาสอนดำน้ำมาทดลองเก็บข้อมูลใต้น้ำ มาสร้างปะการังเทียม... คนประทับใจมาก... เลยเอามาบรรจุลงในหลักสูตรเลย... เรียกว่าฮิตไปเลย.. ได้ไหมครับ People Profit Planet... ครบ เรียกว่า เป็น CSR จะดับสวรรค์บนดิน

ทำแล้วเกิดนวัตกรรม เกิดการเติบโตของธุรกิจ กำไรก็ได้ คนก็ได้ความคิด ลูกค้าได้บทเรียน ความประทับใจดีๆ ความรู้ดีๆ นอกเหนือจากการดำน้ำ แถมยังมีส่วนอนุรักษ์โลก ใครจะไปรู้เด็กวัยรุ่นที่มาโรงเรียนนี้อาจกลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก็ได้.. ตอนนี้รองประธานาธิบดีสหรัฐโจเซฟ ไบเด้นก็จบการศึกษาที่โรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในกรุงเทพ... คุณเห็นอะไรไหมครับ.. ว่าธุรกิจดีๆในเมืองไทย ทำดีๆอาจส่งอิทธิพลกับโลกได้ไม่ยาก...

                       

ในการทำ OD เราสามารถทำ OD เพื่อพัฒนาองค์กรได้ในหลายมิติ โดยเฉพาะเรื่องความยั่งยืน.. นักพัฒนาองค์กร สามารถใช้แนวทางนี้ People Profit Planet เก็บข้อมูลไว้ เพื่อนำไปถ่ายทอดให้เกิดการสร้างสรรค์ร่วมกันได้ครับ.. เพราะของอย่างนี้อยู่ที่วิธีคิด.. คนฉลาดอยู่แล้ว เราต้องไม่ยอมให้เขาใช้ความฉลาดไปแค่ทำกำไร หรือ CSR ขำๆ เท่านั้น..ศักยภาพของเขามีมากกว่านั้น แถมเรามีตัวอย่างอยู่ไกล้ตัวครับ.. ลองหาดู ผมว่าเจอแน่ครับ 

วันนี้พอเท่านี้ครับ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

อ้างอิง

http://en.wikipedia.org/wiki/Corporate_social_responsibility

http://www.peopleandplanetandprofit.com/


Credit รูปภาพ 

รูปที่หนึ่ง http://www.peopleandplanetandprofit.com/

รูปที่สอง https://www.facebook.com/VolvocarsUS

รูปที่สาม http://www.newheavendiveschool.com/marine-conservation-thailand/


หมายเลขบันทึก: 537349เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2017 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณวอลโว่

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้

ขอบคุณบันทึกดีๆ ค่ะอาจารย์

ขอบคุณอาจารย์ที่ทำให้ทราบว่าเข็มขัดนิรภัย3จุดนี่เป็นนวัตกรรมของVolvoครับ

ขอบคุณสำหรับความเห็นคุณลุง คุณพ. แจ่มจำรัส และคุณ tuknarak ครับ


มี 3 แบบเลยนะครับ

เท่าที่ทราบบ้านเรามี CSR club ใช่ไหมครับ

ขออนุญาต เพิ่มเติม CSR ในอีกมุมมอง นะครับ.......
มุมมองจากหนังสือ
“Good Works!” (การบริหารการตลาดและองค์กรยุคใหม่เพื่อโลกสดใส เพิ่มกำไรและความสำเร็จ)
เขียนโดย Philip Kotler, David Hessekiel & Nancy R. Lee แปลโดย ณงลักาณ์ จารุวัฒน์ สำนักพิมพ์ Nation book

แบ่งกิจกรรมเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมออกเป็น 6 ประเภท

1.  การส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์  (Cause Promotion)

2.  การตลาดอิงกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์  (Cause-related marketing)

3.  การตลาดเพื่อสังคมโดยองค์กรธุรกิจ (corporate social marketing)

4.  การบริจาคเพื่อการกุศลโดยองค์กรธุรกิจ (corporate philanthropy)

5.  กิจกรรมพนักงานจิตอาสา (workforce volunteering)

6.  การประกอบธุรกิจด้วยวิธีที่รับผิดชอบต่อสังคม (socially responsible business practices)

+++++++++++++++
และสำหรับของไทย
ระดับของ CSR

ระดับ 1 Mandatory Level: ข้อกำหนดตามกฎหมาย หมายถึง
การที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, กฎหมายเเรงงาน, การจ่ายภาษี เป็นต้น

ระดับ 2 Elementary Level: ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง
การที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถในการอยู่รอดและให้ผลตอบเเทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่งเกิดจากการเบียดเบียนสังคม

ระดับ 3 Preemptive Level: จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง
การที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบ
แทนเเก่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความคาดหวังว่าจะ ได้รับการดูเเล หรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ

ระดับ 4 Voluntary Level: ความสมัครใจ หมายถึง
การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามเเนวทางของ CSR ด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคม
ซึ่งการประกอบธุรกิจ อยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ ธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ 1 เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในระดับต่อไป

ให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กร โดยหลักสำคัญของการปฏิบัติตามเเนวทาง CSR ควรอยู่บนหลักพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม

ประเภทของ CSR

In process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อมขององค์กร
เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน, การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม,ความรับผิดชอบต่อลูกค้า


After process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น การปลูกป่า,การบริจาคทุนการศึกษา, การรณรงค์สร้างจิตสำนึก, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

As Process หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น มูลนิธิ หรือ สมาคมการกุศลต่างๆ

หลักแนวคิดของ CSR

1. การกำกับดูเเลกิจการที่ดี

2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม

3. การเคารพสิทธิและการปฎิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม

4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม

6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม

7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม

8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม

ที่มา  เว็บไซต์
ไทย
CSR  http://www.csrcom.com/csr.php

หวังว่าข้อมูลที่ให้จะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ.....หากเจ้าของกระทู้เห็นว่ารบกวน และไม่เหมาะสม ลบได้นะครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณโฆษิต

ยินดีแบ่งปันครับ c]tขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ผมเองสนใจหนังสือเล่มนี้ของ Kotler และอ่านมาเหมือนกันครับ ถ้าคุณโฆษิต สนใจเรื่องนี้ลองเขียนดูเลยครับ จะเป็นประโยชน์มากๆ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท