หลักการ "หยิบ" พระเนื้อชิน ทุกเนื้อ


สองสามวันที่ผ่านมา ผมได้มีเวลามาสรุปทบทวน วิธีการ "หยิบ" พระเนื้อชิน ทุกเนื้อ

ที่ผมได้ข้อสรุปจากทั้งประสบการณ์ตรง และ จากพระที่มี

ที่มีประเด็นสำคัญของวิธีการหยิบพระ ดังนี้


1. ถ้าเนื้อแกร่งแน่น บาง เบา ต้องเป็นกลุ่มมีโลหะเงินเป็นองค์ประกอบหลัก
1.1. ให้ดูสนิมตีนกา ที่ผิวและในเนื้อ ถ้ามีถือว่าผ่านขั้นที่ 1
1.2. ให้ดูเนื้อเงินใต้สนิม ถ้ามีเกล็ดกระดี่ หรือ เม็ดกลมๆ (ผิวปรอท) ถือว่าผ่านขั้นที่ 2
1.3. ให้ดูความหลากหลายของสนิม ถ้ามีสนิมไข สนิมแดงประปราย ถือว่าผ่านขั้นที่ 3
1.4. ให้ดูพิมพ์และศิลปะ งดงาม มีที่ลงตามยุค ตามสมัย ถ้าถูกต้อง ใ...ห้หยิบได้เลย

2. ถ้าเนื้อปริ เป็นริ้วเล็กๆ แสดงว่าเป็นกลุ่มเนื้อชินเงิน
2.1. ต้องมีสนิมหลากหลาย ทั้งสนิมตีนกา สนิมไข และสนิมแดง แบบประปราย ไม่มาก ถือว่าผ่านขั้นที่ 1
2.2. ขอบต้องปรินิดหน่อย ถือว่าผ่านขั้นที่ 2 ของเนื้อชินเงิน
2.3. สนิมเกิดประสานกันอย่างเป็นระบบสอดคล้องกัน ถือว่าผ่านขั้นที่ 3
2.4 ดูพิมพ์และศิลปะ เช่นเดียวกับเนื้อเงิน

3. ถ้าพระมีน้ำหนักมาก ต้องเป็นพระเนื้อตะกั่วผสมมาก หรือเป็นหลัก
3.1. จะต้องมีสนิมแดง เป็นผดเม็ดเล็กๆ แบบเกล็ดหนังปลากระเบนทั้งองค์ ถือว่าผ่านขั้นที่ 1
3.2. จะมีการงอกทับซ้อนของสนิมตะกั่วหลากแบบ ทั้งสนิมไข สนิมขุม สนิมผด สนิมใยแมงมุม ถือว่าผ่านขั้นที่ 2
3.3 การเกิดของสนิมต้องสอดคล้องกัน และหลากหลายอย่างเป็นที่เป็นทาง ไม่มั่วๆ ถือว่าผ่านขั้นที่ 3
3.4. ดูพิมพ์ และศิลปะ เช่นเดียวกับเนื้อเงิน

4. ถ้าเนื้อพระออกเขียวๆ แสดงว่าเป็นเนื้อชินเขียว
4.1. ให้ดูสนิมไขฉ่ำ กลมกลืน ต่อเนื่องกับความฉ่ำของเนื้อ ถือว่าผ่านขั้นที่ 1
4.2. ให้ดูสนิมไข่แมงดา ดำๆลายๆในเนื้อ ไม่มีรอยโปะจากด้านนอก ถือว่าผ่านขั้นที่ 2
4.3. ให้สังเกตคราบธรรมชาติล้วนๆ มีสนิม มีดิน มีทราย ไม่มีเกล็ดสารเคมีที่ผิว ถือว่าผ่านขั้นที่ 3
4.4. ดูพิมพ์และศิลปะ แบบเดียวกับพระเนื้อเงิน

5. ถ้าพระออกสีเหลืองๆ แบบสีทอง  คือพระเนื้อทองคำ หรือแก่ทองคำ
5.1 ให้ดูสนิมน้ำหมากในเนื้อ เป็นกระแสทอง วิ่งในเนื้อ และที่ผิว คล้ายสีชาด แดงๆ ถือว่าผ่านขั้นที่ 1
5.2. ให้ดูสีเนื้อว่าเป็นมีเนื้อ หรือคราบทองแดง หรือทองเหลืองปนมาหรือไม่ ถ้าไม่มี ถือว่าผ่านขั้นที่ 2
5.3. ให้ดูเม็ดทองคำกลมๆ สุกปลั่ง มีกระแสทองอยู่ในเนื้อ และความพรุนในเนื้อ (สำริด) ถ้ามี ถือว่าผ่านขั้นที่ 3
5.4 ดูพิมพ์และศิลปะแบบเดียวกับพระเนื้ออื่นๆ

เนื้อชินเท่าที่พบบ่อยก็มีตามลำดับดังกล่าวมานี้ครับ

ขอให้โชคดีทุกท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 537238เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2013 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2013 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณมากครับ เป็นความรู้ที่หาที่ไหนไม่ได้

เป็นพระที่ดูง่ายๆๆๆๆๆ มาก ไม่มีอะไรซับซ้อนให้ต้องกังวลครับ

ลองไปศึกษาดูครับ

สวัสดีครับอาจารย์ เข้าห้องเรียนครับ ขอบคูณครับ

ขอบคุณครับ ความรู้ใหม่ อ่านสามบรรทัดกระจ่างตา ขอคารวะ อาจารย์ ครับ

รูปหายหมดครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท