ภาษาและการเรียนรู้ในยุคดิจิตัล



ภาษาและการเรียนรู้ในยุคดิจิตัล

แปลจาก Language and Learning in the Digital Age | ผู้เขียน James Paul Gee, Elizabeth R. Hayes | ผู้แปล สัญชัย ฮามคำไพ  

บทที่ ๑ บทนำ

ในชื่อหนังสือเล่มนี้ คำว่า "ดิจิตัล" นั้นเป็นคำที่แลดูแล้วนำสมัยกว่าค่าว่า "ภาษา" ซึ่งก็ไม่แปลกนักเพราะทุกวันนี้เราต่างก็สนใจในเครื่องมือติจิตัลใหม่ๆอยู่เสมอ ข้อดีข้อเสียของ "ดิจิตัล" ก็มีแต่ก็เป็นของใหม่ที่น่าสนใจ ในทางกลับกัน "ภาษา" ดูเป็นสิ่งที่เก่าและธรรมดาสามัญไปแล้ว ซึ่งคนต่างลืมเลือนข้อดีข้อด้อยของมันไปบางที อย่างไรก็ตามในครั้งนี้เราจะกล่าวถึงข้อดีและข้อเสียของ "สื่อดิจิตัล" ในการศึกษาจากพื้นฐานของภาษาพูดและภาษาเขียน  

สื่อดิจิตัล นับว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน กล่าวคือ ภาษาพูดมีลักษณะที่มีการปฏิสัมพันธ์ (interactive) แต่เสียงพูดมีอายุสั้นอยู่ได้ไม่นาน (ephemeral) และการพูดต่อกันในการสื่อสารทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ ส่วนการสื่อสารด้วยภาษาเขียนนั้นมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันต่ำกว่า แต่มีลักษณะของความถาวร (permanent) ของภาษาที่สูงกว่าภาษาพูด ไม่ว่าจะเขียนและอ่านต่อๆกันไปอย่างไร ข้อความที่เขียนนั้นยังคงที่อยู่เสมอ   

.... [ยังมีต่อ] ....


คำสำคัญ (Tags): #ภาษา#ดิจิตัล
หมายเลขบันทึก: 537149เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท