BCP:Business Continuity Plan เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ภาคบังคับ


อาจารย์ จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

การวางแผนบริหารธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไปเพราะกิจการไม่สามารถคำนึงถึงธุรกิจและกิจการในสภาวะปกติอย่างเดียวได้อีกต่อไป แต่ต้องพิจารณารวมไปถึงช่วงที่กิจการอาจจะประสบกับภาวะวิกฤติด้วย แม้ว่าภาวะวิกฤตินั้นจะเกิดขึ้นกับกิจการอื่นๆด้วยพร้อมกัน ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะทำให้กิจการยอมรับสภาพของความเสียหายและความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้

นั่นหมายความว่า กิจการที่จะอยู่รอดได้ หากเกิดวิกฤติที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายก็ต่อเมื่อเริ่มการเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันนี้เพื่อประกันความต่อเนื่องทางธุรกิจ(Business Continuity)

คำว่า “ความต่อเนื่องทางธุรกิจ”(Business Continuity) เป็นสภาวะของธุรกิจ ซึ่งอธิบายกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานที่จำเป็นในการสร้างหลักประกันว่า ภาระหน้าที่งานสายธุรกิจที่จำเป็นสามารถดำเนินต่อไปได้หลังจากเกิดพิบัติภัยร้ายแรง หรือนอกแผนงาน

กระบวนการวางแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเป็นความจำเป็นของการบริหารจัดการเพื่อป้องกันการหยุดชะงักของบริการของพันธกิจวิกฤติ และกลับไปดำเนินธุรกิจได้ตามปกติเต็มรูปแบบและเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

บทบาทสำคัญของการมีแผน BCP ได้แก่

(1)  กิจการมีความจำเป็นต้องมีสภาวะความต่อเนื่องทางธุรกิจ

(2)  กิจการถูกคาดหวังจากหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลกิจการว่ากิจการจะมีสภาวะความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ส่วนของการกอบกู้ธุรกิจหลังพิบัติภัย (Disaster Recovery : DR) จึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องเข้ามามีส่วนสำคัญในการวางแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเนื่องจาก



 
 


 
 

ประการแรก


 

Disaster
  Recovery มีส่วนสร้างหลักประกันว่า
  กิจการจะรู้วิธีการกอบกู้ที่จำเป็นแก่กิจการ ซึ่งปกติจะเป็นเรื่องของระบบงาน
  หรือ IT

ประการที่สอง

แผน BCP ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ที่จะทำให้กิจการสามารถสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจของกิจการได้
  ซึ่งทำให้แผน BCP ต้องรวมเอา Disaster Recovery ไว้ด้วย

วงจรชีวิตของการทำแผน BCP
เป็นวงจรที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้กิจการดำเนินกระบวนการวางแผนได้อย่างเหมาะสม ถูกทิศทางและมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดภาวะค่าใช้จ่ายหรือการสูญเปล่าที่ไม่จำเป็น โดยวงจรชีวิตการทำแผน BCP เปรียบเสมือนการบริหารโปรแกรมหนึ่งของกิจการ



 
 
 


 
 
 


 
 
 


 
 
 


 
 
 


 
 
 


 
 
 


 
 
 


 
 
 


 
 
 


 
 




ขั้นตอนที่ 1

การค้นหา และระบุ วิเคราะห์
รายละเอียดของข้อมูลความเสี่ยงที่เป็นความหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจ

ขั้นตอนที่ 2

การวิเคราะห์ผลกระทบของความเสี่ยงที่เป็นปัจจัยหรือสาเหตุของการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจต่อการดำเนินธุรกิจ  เพื่อหาสภาวะทางธุรกิจ 

ขั้นตอนที่ 3

การเลือกกำหนดกลยุทธ์ความต่อเนื่องทางธุรกิจ
  เพื่อเป็นเป้าประสงค์ของความต่อเนื่องทางธุรกิจ 

ขั้นตอนที่ 4

การพัฒนาแผนกอบกู้ระบบงาน IT และคอมพิวเตอร์   การเชื่อมโยงเครือข่ายที่จำเป็น

ขั้นตอนที่ 5

การพัฒนาแผนอุบัติการณ์ร้ายแรง

ขั้นตอนที่ 6

การสร้างทีมรับผิดชอบ

ขั้นตอนที่ 7

การนำกรอบแนวทางการบริหารอุบัติการณ์มาใช้จริง (Implement)

ขั้นตอนที่ 8 

การสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนัก ชี้แจง   และอบรมให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับ 

ขั้นตอนที่ 9

การทดสอบและการฝึกปฏิบัติจริง (Testing and   Exercising)

ขั้นตอนที่ 10

การธำรงรักษาและการประเมินผลความเปลี่ยนแปลง   เพื่อทบทวนและปรับปรุงตามความจำเป็น

ขั้นตอนที่ 1


 

การค้นหาระบุและศึกษารายละเอียด (Risk   Assessment)

มีวัตถุประสงค์หลักในการ 

(1)  ระบุภัยคุกคามต่างๆ   สถานการณ์ทีมีผลต่อความต่อเนื่องทางธุรกิจที่เกินกว่าระดับ หรือเกณฑ์ที่ยอมรับได้

(2)  ระบุความสามารถในการต้านทานของภัยคุกคามตามแต่ละสถานการณ์และสถานะความเสี่ยงแต่ละประเด็นของกิจการ

(3)  ทบทวนกิจกรรมและระบบการควบคุมที่มีอยู่แล้วเพื่อบรรเทาหรือลดระดับความเสี่ยงแต่ละสถานการณ์ลงไป

(4)  กำหนด “Threat Scenario”   ที่กิจการควรให้ความสำคัญและควรกำหนดเป็นกลยุทธ์ด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ   และกรอบการทำงานในแผนBCP ที่ควรจะเป็น 

โดยปกติแล้ว กิจการจะมีรูปแบบของการค้นหาและศึกษาข้อมูลความเสี่ยง 2 รูปแบบด้วยกัน คือ



 
 


 
 

รูปแบบที่ 1

ค้นหาและศึกษาข้อมูลความเสี่ยงทั่วไป

รูปแบบที่ 2

ค้นหาและศึกษาข้อมูลความเสี่ยงเฉพาะหน่วยธุรกิจ หรือสายธุรกิจ
หรือภาระงานวิกฤติใด ๆ  

ภัยคุกคามที่มีความสำคัญต่อการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจมักจะประกอบด้วย



 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 
 

กลุ่มที่1

ภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม พายุ ฟ้าผ่า

กลุ่มที่2  

ภัยต่อตัวอาคาร เช่น อัคคีภัย ไฟฟ้าดับ ประกอบการไม่ได้ตามปกติ

กลุ่มที่3

ภัยจากมนุษย์ เช่น สไตรท์ การสูญเสีย บุคลากรหลัก

กลุ่มที่4

ภัยเทคโนโลยี เช่น ไวรัส การแฮกเกอร์ ระบบฮาร์ดแวร์ล่ม สูญเสีย Data

กลุ่มที่5

ภัยด้านการดำเนินงานปฏิบัติการ เช่น การเสื่อมเสียชื่อเสี่ยง วิกฤติการณ์ทางการเงิน
  บทปรับทางกฎหมาย

กลุ่มที่6

ภัยทางสังคม เช่นความไม่สงบทางการเมือง หรือทางสังคม   การต่อต้านหน่วยงานภาครัฐ การขู่วางระเบิด การก่อการร้าย



หมายเลขบันทึก: 537146เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท