"เงาใจ ตรึงใน วิญญาณ์" ...พ่อสอนอะไร??


..เงาจันทร์  เงาเขา เงาใจ...

"เงาใจ ตรึงใน วิญญาณ์" ...สอนอะไร??


เงาจันทร์    ในน้ำ  อำไพ

เงาเขา   สวยใส    ในฟ้า

เงาใจ   ตรึงใน  วิญญาณ์

แม้นว่า   ตัวไกล   ใจถึง


                                  .                              ....ร้อยคำ โดยพ่อชาวสวน

เริ่มต้นชีวิตในวันใหม่....จะได้อ่านคำร้อย ที่พ่อเขียนให้อ่านทุกวันบน FB ....  ด้วยวัยของท่าน ๘๐ ปีแล้ว แต่ก็ยังมีความจำดี   มีทักษะการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา    ทำให้นึกย้อนไปว่า ตั้งแต่เล็กจนโต ก็ได้ยิน/ได้ฟัง สุนทรียภาพทางภาษา ดนตรี ฯลฯ  จึงเราได้ซึมซับสิ่งเหล่าีนั้นทีละน้อยจากผู้ให้กำเนิดชีวิต 

ท่านเล่าว่า การแต่งโคลง ฉันท์ กาีพย์ กลอน ทั้งหลายทำได้ไม่ยาก สมัยก่อนที่เรียนมาครูอาจารย์เคี่ยวเข็ญ จนต่อมาต่อยอดได้ดี  ท่านยังเคยเอ่ยชื่อ คุณครู ผู้มีพระคุณเหล่านั้นให้เราได้รับทราบกัน     ซึ่งหากเปรีบเทียบแมื่อก่อนกับเวลานี้..ต่างไปมาก  ...นั่นคือปัจจุบันไม่ได้ร้อยเรียงคำอย่างเดียว  แต่นำภาพมาประกอบ ตกแต่งให้สอดคล้องกัน  ซึ่งต้องมีทักษะ IT    ซึ่งท่านเพิ่งจะเีรียนรู้  ใช้ FB มาเมื่อต้นปีนี้    ด้วยเพราะหลานๆสมัครให้  ชีวิตบนโลกออนไลน์ social media  จึงเชื่อมรัอยลูกหลานและศิษย์   ได้มีช่องทางของการพูดคุยสื่อสาร   บางครั้ง มีลูกศิษย์แวะมาเยือนที่บ้าน ก็ได้ติดต่อ ถามไถ่ผ่าน FB  หรือเพื่อนๆในรุ่นก็จะคิดถึง สมัครเป็นเพื่อนบนFB      ท่านจำได้ เล่าได้ ถึงพฤติกรรมของศิษย์ จนศิษย์หลายคนเอ่ยชมความประทับใจในความจำของครู สมัยก่อนๆที่มีต่อศิษย์

ท่านใช้งานเขียนในการชี้แนะ สอนใจ และชวนคิด     แน่นอน..ทำให้ชีวิตผู้เขียน ..ไม่ตกข่าว สารบ้านเมือง ซึ่งปกติไม่ค่อยได้ดูข่าวมากนัก.  และทราบดีว่ากว่าจะได้ผลงานหนึ่งชิ้น เบื้องหลังเป็นมาอย่างไร   ผ่านความตั้งใจและพยายามของท่านไม่น้อยเลย  สำหรับอายูปูนนี้   ตาก็ไม่ดี  ทักษะการพิมพ์ที่ถึงแม้จะเคยพิมพ์สัมผัสกับแป้นพิมพ์ดีดสมัยนานมาแล้ว ก็ช้าลง    ส่วนสมองนั้นยังปิ๊ง มากทีเดียว   เพราะทุกวันท่านเล่นดนตรี  เ่ล่นหมากรุกไทยแข่งกันในคอมพ์  และเดินออกกำลังกาย  ปัจจุบันมีโรคประจำตัวคือ เบาหวาน  และใส่บอลลูนถ่างเส้นเลือดหัวใจมาสัก  ๑๐ ปีก่อนนี้  สุขภาพอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้..ตามวัย

กลับไปเยี่ยมท่านทุกครั้ง บนโต๊ะทำงานมี คอมพิวเตอร์ PC, Laptop ต่ออินเตอร์เน็ต, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตฯ, หนังสือพระไตรปิฏก, อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น/ปลาย  และหนังสือธรรมะของท่านพุทธทาส ฯลฯ   ได้โอกาส แซวท่านว่า..กำลังทำวิจัยเรื่องอะไรนี่?? 

ผู้เขียนนอกจากจะได้อ่านงานของท่านแล้ว  ยังมีมิติที่ชื่นชมและให้กำลังใจในความพยายามเบื้องหลังข้อเขียนเหล่านั้น ..ได้แต่ร้องขอท่าน ด้วยการโทรไปถาม หรือแซว เพื่อจะได้พักเบรกว่า  ..นั่งหน้าคอมพ์นานเกินไปหรือยัง??   ปวดตา  หรือปล่าว  และปวดหลัง ก็นอนเอนบ้าง  ท่านั่งก็ต้องนั่งให้ถูกต้องนะ  จะมีผลต่อร่างกายระยะยาว...ท่านก็แซวกลับมาว่า คงไม่ยาวไปกว่านี้อีกสักเท่าไร.. เพราะนี่ก็ ๘๐ แล้ว..สังขารเสื่อมถอย ร่วงโรยไปตามวัย..

อ่านคำร้อยเช้านี้  จึงเอาเพลง "เงาไม้"  มาประกอบไว้ด้วย   แซวท่านไปว่าเคยถูกท่านสอนให้ฝึกร้องเพลงนี้ตั้งแต่เล็กๆ  แต่ไปไม่ถึงไหน ซ้อมร้องหลายเที่ยวมาก  จนสิ่งที่เหลือติดตัวมาคือ ร้องเพลงนี้ได้ตั้งแต่เด็ก แม้ไม่ไพเราะแต่ร้องได้โดยไม่ต้องดูเนื้อเพลง   เมื่อพิจารณา คำที่เลือกนำมาใช้ในเนื้อร้องของเพลงนี้  บ่งบอกถึงสุนทรียทางภาษาไทยของเราเป็นอย่างดี .. เชิญชมได้ด้วยกันค่ะ   ส่วนคำสอนหลังจากนั้น  ก็อย่างที่ปรากฏด้านล่างของบันทึกนี้ล่ะค่ะ  ...


เนื้อเพลงเงาไม้ ....คำร้อง: พระยาโกมารกุลมนตรี

ทำนอง: หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์

 แสงจันทร์วันนี้นวล คล้ายชวนให้น้องเที่ยว

จะให้เลี้ยวไปแห่งไหน

ชลใสดูในน้ำ เงาดำนั้นเงาใด

อ๋อ ไม้ริมฝั่งชล

สวยแจ่ม...แสงเดือน...

หมู่ปลาเกลื่อนดูเป็นทิว

หรรษ์รมย์...ลมริ้ว...

จอดเรืออาศัยเงาไม้ฝั่งชล

(ซ้ำ)


  • หลังจากผู้เขียวแซวท่านไป สบายๆสไตล์พ่อ-ลูกบนFB..และได้รับการตอบกลับมาว่า ....

ขอบคุณ ....

๑ ไพเราะตามจินตนาการของท่านผู้ประพันธ์ คือ มล.พวงร้อย สนิทวงค์  เพลงที่ท่านผู้แต่งมีหลายเพลง เช่น บัวขาว และลมหวน 

๒ เฉพาะเรื่องภาพ Load มาจาก Google ก็สวยสมเนื้อร้องและทำนองเพลงเงาไม้

 ๓ แต่ความจริง ล้วนเเป็น ฉายา ทั้งสิ้น (ไม่ทราบ Fact หรือ Reality ) 

๔.ในทางพุทธศาสนา ถ้าเอาตา หู จมูก ลิ้น กายใจ (อายตนะ) เข้าตัดสิน(Judge) ฉายา กลายป็น มายา(ทั้ง Delusion และ Illusion) อย่าให้มายาหลอกเราถาวรก็แล้วกัน....ขอบคุณอีกครั้ง

* คำบรรยาย .." เงาใจตรึงในวิญญาณ"  ตรึง ชั่วคราว นะ ไม่ถาวร...คือถูก มายา หลอก เช่นกัน แต่ขอแก้ตัวไปน้ำใส ๆ ครับ... พ่อ..


บันทึกไว้ ตอนพักกลางวัน วันหยุดสบายๆ.. ๒๕ พค. ๒๕๕๖

หมายเลขบันทึก: 537045เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2013 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท