4. ความคิดดีๆ


สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันได้อ่านบันทึกของนายแพทย์ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์ ถึงวิธีลดยาในผู้ป่วยจิตเวชแล้ว มีความรู้สึกเห็นด้วยเป็นอย่างมาก ดิฉันในฐานะเป็นพยาบาลดูแลผู้ป่วยจิตเวชมาหลายสิบปี  อยากแนะนำผู้ป่วยเหมือนคุณหมอ แต่ทำไม่ได้เพราะไม่มีสิทธิ์แนะนำเช่นนั้น ต้องรอให้คุณหมอสั่งอย่างเดียว บางครั้งรู้สึกสงสารผู้ป่วยเหมือนกัน ซึ่งต้องกินยาหลายเม็ด  แล้วทำให้เบื่อในการกินยา จึงหยุดกินยาเอง  สุดท้ายอาการกำเริบ กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลอีก  ซึ่งวิธีลดยาที่คุณหมอพูดมา ดิฉันขออนุญาตเผยแพร่นะคะ

 -แพทย์สั่งจ่ายยาให้ผู้ป่วยตาม Order ให้ยาครบตามจำนวน   แต่แนะนำผู้ป่วยหยุดยาตัวที่สำคัญน้อยที่สุดตัวใดตัวหนึ่ง(ในที่นีจะไม่ขอเปิดเผยชื่อยานะคะ)  มื้อใดมื้อหนึ่ง อาจจะเป็นมื้อกลางวันก็ได้  แล้วยาที่เหลือให้นำกลับมาคืนโรงพยาบาล  แต่ถ้าหากว่าผู้ป่วยมีอาการไม่เหมาะสมขึ้นมาวันใดวันหนึ่งก็สามารถกินยาตามที่หมอสั่งได้  (วิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอุ่นใจที่มียากินอยู่ในมือ)  ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลามาโรงพยาบาลเมื่อมีอาการกำเริบ  เพราะไม่มียากิน เนื่องจากการลดจำนวนยาทันที   และเวลากลับมาพบแพทย์ครั้งต่อไป คุณหมอก็จะสอบถามวิธีลดยา  ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ผู้ป่วยมีผลดีผลเสียอย่างไร

-ขอบคุณในความคิดริเริ่มนะคะคุณหมอ

หมายเลขบันทึก: 536785เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I salute your courage to speak out.

I would agree to having qualified nurses prescribing and administerung "vertain ranges of" drugs to patients when doctors are not accessible. But I will stress the word "qualified" as having adequate experience in dealing with patients and having been approved by a certain medical body.

Many experienced nurses and healers should be recognized and approved for dealing with cases in their field of expertise.

I add my voice and support your call. 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท