พฤติกรรมการใช้สุราแก้พิษในกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมี


เบญจมาศ ดวงจำปา
สถานีอนามัยบ้านทรายมูล จ.ขอนแก่น

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมี ในกลุ่มเกษตรกร และสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับวิธีแก้พิษ ที่ได้รับจากสารเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้สุรา

ผลการศึกษา
– การใช้สารเคมีของเกษตรกรในเขตอำเภอน้ำพอง ได้เริ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนาน และมีการใช้มากขึ้นในช่วงปี 2540 เป็นต้นมา เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในทุกตำบลและทุกหมู่บ้าน เกษตรกรร้อยละ 90 รับรู้ว่า ตนเองมีโอกาสเสี่ยงจากพิษของสารเคมี ต่อร่างกายโดยที่ร้อยละ 80 ใส่เครื่องป้องกันอย่างถูกต้อง กระนั้นก็ดี เกษตรกรยังขาดความมั่นใจในความปลอดภัย แม้จะใส่เครื่องป้องกันก็ตาม

- ในกลุ่มผู้ใช้สารเคมี 2 ใน 5 ใช้วิธีแก้พิษสารเคมี ด้วยวิธีดื่มสุรา “แก้เหล้า” ซึ่งมีทั้งการดื่มสุรา ก่อนใช้สารเคมี และดื่มหลังใช้สารเคมี กลุ่มที่ดื่มก่อนใช้สารเคมี จะใช้เหล้าขาว 40 ดีกรี ปริมาณ 120-250 ซี ซี โดยจะดื่มในตอนเช้าในที่พักอาศัย  โดยเชื่อว่าเมื่อดื่มแล้วจะทำให้เหงื่อออก และในระหว่างเหงื่อออก สารเคมีจะไม่เข้าสู่ร่างกายในกลุ่มผู้ดื่ม หลังฉีดสารเคมี จะใช้เหล้าขาวในประมาณ 120-250 ซีซี เช่นกัน  เพื่อบรรเทาอาการน้ำลายเหนียว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย หากไม่ใช้สุรา จะใช้เครื่องดื่มชูกำลังแทน

- ผลจากการใช้สุรา นอกจากจะช่วยลดอาการที่ได้รับจากสารพิษแล้ว ยังช่วยทำให้หายใจอ่อนเพลีย แก้อาการปวดเมื่อย เจริญอาหาร ทำให้ร่างกายสดชื่น เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มผู้ “แก้เหล้า” เป็นผู้ดื่มสุราอยู่ก่อนแล้วทุกราย

- พฤติกรรมแก้เหล้า ได้ถ่ายทอดในกลุ่มประชาชนอย่างกว้างขวาง และพบว่า เกษตรกรรายใหม่ ที่มีอายุน้อย ก็หันมาใช้วิธีแก้เหล้ามากขึ้น ควรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้หามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหานี้ต่อไป

จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ

การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 53678เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2006 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท