ปัญหาและอุปสรรค-การนำเข้าส่งออกสินค้า


การจัดเก็บอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรของกรมศุลกากรไทยมีอัตราสูงทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้นสินค้าไทยในระดับล่างจึงไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งได้

ปัญหาและอุปสรรค

การนำเข้าส่งออกสินค้า

                              จากสถิติการค้าปกติ แสดงให้เห็นว่า ยังมีโอกาสในการขยายการค้าระหว่างกันอีกมาก หากมีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญ ได้แก่

ประเด็นปัญหาด้านการค้าของไทย

                                 1) ผู้ส่งออกสินค้าของไทย ขาดความเป็นนักการตลาดเชิงรุกมืออาชีพ จึงเสียเปรียบประเทศคู่แข่งเช่น เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย และไต้หวัน เป็นต้น                                

                                 2) ปัญหาค่าจ้างแรงงานที่มีระดับสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าของไทยมีราคาสูงขึ้นเป็นเหตุให้ไทยเสียตลาดบางส่วนให้กับเวียดนามและจีน                      

                              3) สินค้าไทยระดับล่างมีราคาสูงกว่าสินค้าจากจีน และ เวียดนาม เนื่องจากการจัดเก็บอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรของกรมศุลกากรไทยมีอัตราสูงทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้นสินค้าไทยในระดับล่างจึงไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งได้                                

                                    4) มีการลักลอบการค้าตามแนวชายแดน ทำให้ สินค้าไทยที่ลักลอบเข้าไปมีราคาถูกกว่าสินค้าที่นำเข้าโดยถูกวิธี ทำให้สินค้าไทยเข้าไปแข่งขันกันเองในตลาดต่างประเทศ                                

                                  5) สินค้าไทยจะถูกปลอมแปลงและเลียนแบบจากประเทศคู่แข่ง เช่น จีน ส่งจักรยานยนต์และชิ้นส่วนลอกเลียนแบบที่มีราคาต่ำกว่าของไทยมาก และเวียดนามส่งสินค้าคุณภาพที่ต่ำกว่าทำให้ผู้บริโภค เข้าใจผิดคิดว่าเป็นสินค้าไทย    

  1.  ปัญหาด้านนโยบายการค้า                                

                                    1.1 ผู้นำเข้ารายย่อยที่ไม่มีใบอนุญาต จะอาศัยการนำเข้า-ส่งออกผ่านบริษัทที่มีใบอนุญาต   ซึ่งต้องเสียค่านายหน้า ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า                                

                                    1.2  ขั้นตอนการนำเข้า และการออกเอกสาร มีความยุ่งยาก ซับซ้อน ล่าช้า  รวมทั้งต้องยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าหลังจากที่สินค้ามาถึงท่าแล้วเท่านั้น และต้องยื่นขออนุญาตจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมไปรษณีย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการเงิน กรมภาษี กรมอากร เป็นต้น  และต้องวางเงินค้ำประกันการนำเข้า-ส่งออก                                               

 2.  ด้านการคมนาคมขนส่ง                                 

                                    2.1 ค่าขนส่ง และค่าบริการในการนำเข้า-ส่งออก ค่อนข้างสูง                                

                                    2.2 การขนส่งสินค้าทางบก  ทำให้สินค้าได้รับความเสียหายได้ง่าย เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้า  นอกจากนั้น การกำหนดน้ำหนักบรรทุกของรถบรรทุกสินค้าในแต่ละแขวงไม่เท่ากันทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น                                

                                     2.3 การขนถ่ายสินค้า เน้นการใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร ทำให้เกิดการเสียเวลาและสินค้าเสียหาย เป็นเหตุให้การขนถ่ายสินค้าไม่เสร็จทันตามกำหนด ส่งผลให้บริษัทรับขนส่งสินค้าขาดทุนและไม่ยอมรับงาน

หมายเลขบันทึก: 53629เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2006 01:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท