547. "สุนทรียสนทนา (Dialogue)" (Theory U ตอนที่ 6)


ผมเขียนเรื่อง Theory U มาหลายตอน ระหว่างนั้นคุณก็คงสังเกตว่า ผมเขียนเรื่อง Dialogue ลงไปด้วย ประมาณว่า ขึ้นหัวเรื่องว่า Theory U แต่ไหง มีการพูดเรื่อง Dialogue สลับไปมา แถม เมื่อตอนที่แล้ว จะเห็นว่า การทำ Theory U นั้น บทบาทหลักกลับอยู่ที่การทำ Dialogue มันยังไงกันแน่ ก็ขอบอกอย่างนี้ครับ 

1.  การค้นพบ Theory U ของอ๊อตโต้นั้น อยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของท่าน โดยระเบียบวิธีวิจัยของท่านนั้น มีการผสมผสานระหว่าง Ethnography, Dialogue และ Collaborative Action Research  เอาหล่ะคุณจะเห็นบทบาทของ Dialogue ที่มีอยู่ในงานของอ๊อตโต้ตั้งแต่แรก

2.  องค์ประกอบของ Theory U เริ่มต้นด้วยการ “ห้อยแขวน” ไม่ด่วนตัดสินเหมือนกับการทำ Dialogue

3.  พูดง่ายๆ Theory U คือปรากฏการณ์ที่อธิบายว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้าคุณทำ Dialogue นั่นเอง อันนี้ผมมองเองครับ

4.  แล้วอะไรที่เป็นหัวใจสำคัญของ Theory U ล่ะ มันอยู่ที่การค้นหาจุดเปลี่ยน ที่อ๊อตโต้เรียกว่าจุดบอด (Blind Spot)  หรืออะไรที่อยู่เบื้องหลังการกระทำ หรือผลของการกระทำ อะไรที่ผลักดันให้เราทำอย่างนี้ โน่น นี่นั่น ที่ถ้าเราค้นพบ มันจะทำให้เกิดการตระหนักรู้ แล้วเปลี่ยนทิศทางการกระทำของเราใหม่ เกิดการสร้างสรรค์ร่วมกันได้ ตรงนี้แหละที่อาจารย์อ๊อตโต้บอกว่าเป็นปัญหาของมนุษยชาติเลย

                    

     Cr: http://afhsouthafrica.blogspot.com/2011/06/book-launch-of-dialogue-amongst.html


ในการทำ Dialogue คุณจึงมักเห็นกระบวนกร (Facilitator) อธิบายกระบวนการทำ Dialogue ด้วย Theory U เพราะมันทำให้ Dialogue ดูกระจ่างมากขึ้น แต่เห็นหลายวงจะจบอยู่ที่การเอา Theory U ไปอธิบาย Dialogue

บางท่านก็สอนเจ้า Theory U อย่างเดียว แต่ไม่ทำ Dialogue ประการหลังนี่ต้องอาศัยแรงพูด แรงจูงใจมากๆ ผมเชื่อว่าน้อยคนจะทำตามได้

ผมค้นว่าการฝึกทักษะการ “ห้อยแขวน” ไม่ใช่ว่าพูดแล้วจะทำได้เลย ต้องฝึกเป็นเรื่องเป็นราวครับ ผมเขียนไว้ในตอนก่อนๆ แล้ว

ผมเองก็เริ่มต้นแบบเดียวกัน เพราะผมก็เรียน Dialogue มาจากท่านอาจารย์สองท่านที่มหิดล  ศึกษาจากเอกสาร เข้าร่วมวง Dialogue กับท่านอาจารย์วรภัทร์  อ่านจากงานของ David Bohm โดยตรง และที่สำคัญงานของท่านอาจารย์วิสิษฐ์ วังวิญญู วันหนึ่งมีโอกาสไปทำงานเป็นที่ปรึกษาด้าน Dialogue ให้องค์กรหนึ่งอยู่สี่เดือน เลยเห็นอะไรลึกขึ้น จากนั้นก็เอามาสอนใน MBA มาทำ Workshop เองอยู่สองปี ผมก็ได้ศึกษา Theory U มากขึ้น ก็เห็นว่าทฤษฎีเอามาใช้ประโยชน์ได้มาก เรียกว่าช่วยการทำ Dialogue ได้มากๆ   ทั้งสองเสริมกันจริงๆ

แต่ทำ Dialogue โดดๆ ก็จะสามารถนำให้เกิดภาวะแบบ Theory U ได้โดยธรรมชาติ ผมตามลูกศิษย์กลุ่มใหญ่ที่นำเอา Dialogue ไปขยายผลอยู่สามเดือน เห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นพัฒนาการ แบบ Theory U ชัดเจน แต่ต้องอาศัยการบ่มเพาะ และช่วยเหลือกันหน่อยๆ ประคับประคอง จัดกลุ่ม KM เสริม จะช่วยได้มากๆ (ใครยังทำ KM เพื่อสนับสนุนการทำ Dialogue ไม่เป็น จะเขียนมาเล่าให้ฟังในตอนต่อๆไปครับ)                                                

                     

                             Cr: http://artasiamerica.org/search/by/styles/300047090

ต่อมาผมเจอโจทย์โหดกว่าเดิม คือประมาณมีเวลาสามชั่วโมง ทำอย่างไรจะทำให้ Dialogue ส่งผลออกมาเป็นรูปธรรม ผมเลยเริ่มเอา Theory U มาเสริม ซึ่งก็ค้นพบว่าทำ Dialogue เพียงสามชั่วโมง แล้วไปทำการบ้านเอาเอง คงยากที่จะเห็นอะไรเป็นรูปธรรม ก็เลยเอา Theory U เข้ามาช่วย ผสมเข้าไป คราวนี้เห็นโครงการเกิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้นเร็ว แต่ก็อย่างที่พูด มันเร่งไปหน่อย ลักษณะนี้ก็จะเกิดได้โครงการเดียว ตัวคนทำอาจยังมีทักษะในการทำ Dialogue หรือ Theory U น้อย จริงๆ ที่ทำให้เขามีโอกาสเอา Dialogue และ Theory U ประยุกต์ใช้ในแง่มุมต่างๆได้ยาก โดยเฉพาะเวลาคนสอนออกไปแล้ว ด้วยเวลาฝึกน้อยเกินไป 

ผมเลยยังมองว่าการบ่มเพาะทักษะการทำ Dialogue ไปเรื่อยๆ น่าจะดีกว่า ครับ อาศัยเวลาหน่อย แต่อย่างที่ว่าครับ ผู้ประกอบการมักใจร้อน จะเอาให้เกิดให้ได้ บางทีบอกว่าอย่างนี้ไม่เป็นรูปธรรมเลย จบข่าวไม่ทำแล้ว เรื่องรูปธรรมนามธรรมนี้ จะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปว่า มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำไมนามธรรมจึงกลายเป็นรูปธรรมได้ หรืออะไรที่คิดว่าเป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่กลับกลายเป็นนามธรรมในที่สุด  

วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอากลับไปพิจารณาดูเอาเองนะครับ

อ้างอิง

หนังสือ Theory U



หมายเลขบันทึก: 536262เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

  • สวัสดีครับอาจารย์
  • ขอบคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน

เปิดบ้านG2K มาอีกที อาจารย์เขียนถึงตอนที่ 10 แล้ว ต้องตามอ่านย้อนหลัง ผมเป็นคนอ่านช้าครับ โดยเฉพาะวิชาการ จึง อ่านไป เรียนรู้ไป ทบทวนไป และนึกถถึงการทำงานไปว่าจะประยุกต์ใช้ยังไงดี

***ต้องขออภัยอาจารย์ ที่บันทึก โกทูโน...บ้านแห่งการเรียนรู้ ที่อ้างชื่ออาจารย์ผิด เป็น อ. ดร.โสภณ

แก้ไข แล้วครับ...

สวัสดีครับคุณ พ.แจ่มจำรัส

ถ้าสนใจอะไรเพิ่มเติม ถามได้เลยนะครับ ยินดีมากๆ ครับ 

และมีความสุขมากๆ ที่ความรู้ใน Blog มีประโยชน์ต่อคุณพ. แจ่มจำรัสนะครับ

นับถือ

อ.โย

จะกลับมาอ่านอีกครั้งค่ะ ท่านอ.ดร.

ขอกลับไปทบทวนการจัดกิจกรรมสนทนาบำบัดของตัวเองก่อน

เพราะดูเหมือนว่าจะเห็นอะไรในกอไผ่แล้ว 

ขอบคุณที่จุดประกายความคิด และ

ช่วยให้พี่สะท้อนพฤติกรรมตัวเองในขณะทำงานได้


ขอบคุณธรรมจัดสรร ที่ทำให้ได้มาพบความรู้จากอาจารย์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท