Best Pratices แนวปฎิบัติที่เป็นเลิศ


วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)ด้านการบริหาร

 ความเป็นมา

สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (สวร.)ได้พัฒนากระบวนการหรือเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการคุณภาพ สถานศึกษา   ที่รู้จักกันในชื่อของ “ToPSTAR” โดยมีแนวคิดพื้นฐาน 3 ประการ คือ 1) แนวคิดเชิงระบบ (System thinking) ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์องค์กรและออกแบบการบริหารจัดการคุณภาพเชิงระบบในระบบย่อย ต่าง ๆ ของสถานศึกษา 2) แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic thinking) ใช้ในการวางแผนในการประกัน คุณภาพ(QA) และการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (CQI) เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร และ 3) แนวคิดการเรียนรู้และทำงานเป็นทีม (Team Learning)

ผลจากการใช้เครื่องมือในการจัดการคุณภาพอย่างหนึ่ง คือ สถานศึกษาได้ค้นพบวิธีปฏิบัติที่ตนเองเกิด ความรู้สึกว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง มีความชื่นชม ภาคภูมิใจในวิธีปฏิบัติและผลลัพธ์ที่เกิดจากการ ปฏิบัตินั้น เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรม สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้อง สามารถเป็นต้นแบบ ในการพัฒนาให้กับสถานศึกษาอื่นๆได้ วิธีปฏิบัติของสถานศึกษานี้เรียกว่า“วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ:Best Practices”

พันธกิจสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ดำเนินการอยู่คือการส่งเสริมแสวงหาและจัดระบบการให้การรับรองเพื่อสะสมเป็นฐานข้อมูลวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของสถานศึกษาและจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) อย่างเป็นระบบให้สถานศึกษาทั่วไปเข้ามาศึกษาเรียนรู้เทียบระดับ (Benchmarking) วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในฐานข้อมูลของสถาบันฯดังกล่าวด้วยหวังที่จะให้เกิดองค์กรหรือสังคมแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization : LO ) อย่างกว้างขวางซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของสถาบันฯ


1. Best Practices คืออะไร

American Productivity and Quality Center (อ้างใน บุญดี บุญญากิจ และกมลวรรณ ศิริพานิช,

2545 : 10 – 11) ให้คำจำกัดความของ Best Practices ว่า คือการปฏิบัติทั้งหลายที่สามารถก่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ

รวมความแล้ว Best Practices คือ วิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์กรและสบความสำเร็จหรืออาจกล่าวได้ว่า คือ การปฏิบัติ

ที่ทำให้องกรก้าวสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งอาจปรับสำนวนให้เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา ได้ว่า

Best Practices เป็นวิธีการทำงานใหม่ๆ ที่สถานศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในการพัฒนาคุณภาพ

สถานศึกษา ซึ่งนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่ตอบสนองความคาดหวังของชุมชน ผู้ปกครอง และเป้าหมายของ

สถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จ ก้าวสู่ความเป็นเลิศ


2. แนวทางการพิจารณา Best Practices

วิธีปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่จะเรียกได้ว่าเป็น Best Practices นั้น มีแนวทาง

การพิจารณา 6 ข้อ ดังนี้

(1) วิธีปฏิบัตินั้นดำเนินการบรรลุผลได้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนหรือผู้ปกครองที่มีต่อ

สถานศึกษาหรือเป็นวิธีปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจให้กับทุกคนในสถานศึกษา ได้

(2) วิธีปฏิบัตินั้น ผ่านกระบวนการนำไปใช้อย่างเป็นวงจรจนเห็นผลอย่างชัดเจนว่าทำให้เกิด

คุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือวิธีปฏิบัตินั้นมีกระบวนการ PDCA จนเห็น

แนวโน้มของตัวชี้วัดความสำเร็จที่ดีขึ้น

(3) สถานศึกษาสามารถบอกเล่าถึงวิธีปฏิบัตินั้นได้ว่า “ทำอะไร ? (what)” “ทำอย่างไร ? (how)”

และ “ทำไม? จึงทำ หรือ ทำไปทำไม? (why)”

(4) ผลลัพธ์จากวิธีการปฏิบัตินั้น เป็นไปตามองค์ประกอบ ข้อกำหนดของการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ

(5) วิธีปฏิบัตินั้นสามารถระบุได้ว่าเกิดจากปัจจัยสำคัญที่ชัดเจน และปัจจัยนั้นก่อให้เกิดการปฏิบัติที่

ต่อเนื่องและยั่งยืน

(6) วิธีปฏิบัตินั้นใช้กระบวนการจัดการความรู้ ( KM: Knowledge Management) เช่น การเล่าเรื่อง

(Storytelling) ในการถอดบทเรียนจากการดำเนินการ


3. กระบวนการค้นหา Best Practices ในสถานศึกษา

สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เช่น ผู้ปฏิบัติงานของระบบโดยตรงที่เรียกว่า

ชุมชนแนวปฏิบัติ ( Community of Practices ) ผู้ประเมินคุณภาพ ศึกษานิเทศก์ หรือผู้ให้คำปรึกษา

การพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา สามารถค้นหา Best Practices ได้โดยใช้กระบวนการ ดังนี้

(1) การค้นหาว่าสถานศึกษาหนึ่ง ๆ มีวิธีปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพอย่างไร จะต้องวิเคราะห์บริบท

ของสถานศึกษา ความคาดหวังของผู้ปกครอง และชุมชนรวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ว่าคาดหวัง

กับสถานศึกษานี้อย่างไรบ้าง

(2) ค้นหาว่าสถานศึกษามีวิธีปฏิบัติดี ๆ ที่ดำเนินการได้สอดคล้องกับความคาดหวังตาม

ข้อ (1) อย่างไรบ้าง

(3) พิจารณาว่าวิธีปฏิบัติดี ๆ เหล่านั้นมีการนำไปใช้จริงอย่างครบวงจร PDCA หรือไม่ เพื่อยืนยันว่า

วิธีปฏิบัติดี ๆ นั้นถูกนำไปใช้จริง และเป็น “นวัตกรรม” การทำงานของสถานศึกษาได้หรือไม่

(4) ใช้กระบวนการจัดการความรู้ เช่น เรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling ) ในการแลกเปลี่ยน

ประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียด.-

- กำหนดเป้าหมายของการแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติ ( Knowledge Vision )

- เล่าประสบการณ์จากการปฏิบัติการ ( Knowledge Sharing)

- สรุปเป็นวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Knowledge Asset )

(5) วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ บทเรียนที่สถานศึกษาได้เรียนรู้จากการดำเนินการตามวิธี

ปฏิบัติเหล่านั้น


4. องค์ประกอบของการเขียน Best Practices

Best Practices จะมีประโยชน์เมื่อถูกเผยแพร่ให้เกิดการเรียนรู้ของคนในสถานศึกษาหรือ ผู้เกี่ยวข้อง

อื่น ๆ ดังนั้น การเขียน Best Practices เพื่อเผยแพร่นี้จึงมีความคิดเห็น ซึ่งมีองค์ประกอบและแนวในการเขียน

ดังนี้

(1) ความเป็นมา เป็นการเขียนเพื่อสะท้อนสิ่งที่เป็นความคาดหวังของผู้ปกครองหรือชุมชนที่มีต่อ

สถานศึกษา และเพื่อให้เห็นบริบทสภาพทั่วไปของสถานศึกษา

(2) การพัฒนาระบบคุณภาพของสถานศึกษา การเขียนต้องสะท้อนให้เห็นต่อการพัฒนาคุณภาพของ

สถานศึกษาดำเนินการอย่างไร และเชื่อมโยงกับความคาดหวังของผู้ปกครองและชุมชนอย่างไร

(3)

Best Practices เป็นการเสนอวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศซึ่งเป็นข้อสรุปจากกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง

ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษามีอะไรบ้าง และอธิบายว่า คืออะไร? ทำอย่างไร?

และทำทำไม?

(4) ผลการดำเนินการ เป็นการอธิบายผลที่เกิดขึ้นจาก Best Practices ตามตัวชี้วัดความสำเร็จว่าส่งผลดี

ต่อคุณภาพสถานศึกษาอย่างไรบ้าง

(5) ปัจจัยความสำเร็จ เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ว่า Best Practices เกิดขึ้นได้เพราะอะไร

มีเงื่อนไขอะไรบ้าง มีอะไรเป็นปัจจัยในระบบที่ทำให้วิธีปฏิบัติเหล่านี้ ดำรงอยู่ได้ในระยะยาว

ไม่ใช่การทุ่มเทเฉพาะกิจของสถานศึกษา

(6) บทเรียนที่ได้รับ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าสถานศึกษาเรียนรู้จากการทำงานตามวิธีปฏิบัติเหล่านี้

อย่างไรบ้าง อะไรเป็นเคล็ดลับที่ดำเนินได้ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งข้อพึงระวังมีอะไรบ้าง

Best Practices ถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนา

คุณภาพที่จะเป็นสื่อในการเรียนรู้ หรือเป็นรูปธรรมของการเทียบเคียวคุณภาพ (Benchmarking) ของสถานศึกษา

ต่าง ๆ ซึ่งแนวทางที่นำเสนอนี้มาจากประสบการณ์ของนักวิจัยในโครงการ ToPSTAR ซึ่งต้องเรียนรู้และ

จัดการความรู้จากภาคสนามให้มีความชัดเจนและเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาต่อไป


5. กระบวนการรับรอง Best Practices

5.1 ขั้นตอนการรับรอง BP

กระบวนการรับรอง Best Practices ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

จัดทำหลักการ / กรอบ / เกณฑ์ / วิธีการรับรอง BP

เชิญชวนโรงเรียนเสนอเอกสาร BP

ประเมินเอกสาร BP จากสถานศึกษา

เป็นไปตามเกณฑ์ โรงเรียนปรับปรุงเอกสาร BP

ประเมิน BP ภาคสนาม

เป็นไปตามเกณฑ์ พัฒนา / ปรับปรุง

รับรองคุณภาพ BP

จัดทำฐานข้อมูล

ส่งเสริมการเทียบระดับ (Benchmarking)

สรุปรายงานผลการดำเนินงาน

การรับรอง BP


5.2 ตัวชี้วัดการรับรอง BP

ตัวชี้วัดการรับรอง BP ได้แก่

(1) ระดับคุณภาพของกรอบและเกณฑ์

(2) จำนวนสถานศึกษาที่เสนอเอกสาร BP เพื่อขอรับการรับรอง

(3) สัดส่วนเอกสาร BP ที่ผ่านการประเมินเอกสาร

(4) ร้อยละของสถานศึกษาเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินภาคสนาม

(5) จำนวนสถานศึกษาที่ได้รับการรับรอง BP

(6) ระดับคุณภาพของการจัดทำฐานข้อมูลและจำนวนองค์กรที่ทำการเทียบระดับ

(7) ระดับคุณภาพของรายงานผลการดำเนินงานรับรอง BP


6. แนวทางในการประเมิน

แนวทางในการประเมินโดยใช้เกณฑ์การประเมินวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีดังนี้

6.1 เกณฑ์การประเมินวิธีปฏิบัติทีเป็นเลิศเป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมิน Best Practices ในรูปเอกสารที่

สถานศึกษานำเสนอ

6.2 ผู้ประเมินอาจสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม หรือขอให้สถานศึกษานำเสนอด้วยวาจาเพิ่มเติมหรือ

ไปเยี่ยมชมที่สถานศึกษาก็ได้

6.3Best Practices ที่จะได้รับการรับรองจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

6.3.1 ผลการประเมิน Best Practices ตามประเด็นการประเมินย่อย มีรายการที่ “จริง” ตาม

ประเด็นการประเมินย่อยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนประเด็นการประเมินย่อย

ทั้งหมด (มีรายการที่ “จริง” 18 ประเด็นย่อยจากทั้งหมด 23 ประเด็นย่อย)

6.3.2 ผลการประเมิน Best Practices ตามประเด็นการประเมินหลักต้องมีรายการ “จริง”

ครบทุกประเด็นการประเมินหลัก (6 ประเด็นหลัก) และแต่ละประเด็นหลักจะต้องมี

รายการประเมินที่ “จริง” ตามประเด็นย่อยของแต่ละประเด็นหลักไม่น้อยกว่า

ร้อยละ 60 เช่น ในประเด็นการประเมินหลักข้อ 1 จะต้องมีรายการ “จริง”

ไม่น้อยกว่า 3 ประเด็นย่อย เป็นต้น

6.3.3 การสรุปผลการประเมิน ควรเป็นความเห็นพ้องของกรรมการประเมินทุกคน



ที่มา : http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=best%20practice%20%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2&source=web&cd=3&cad=rja&ved=0CDEQFjAC&url=http%3A%2F%2Fregister.utcc.ac.th%2FKM2552%2FDATA%2FDocument%2FBest%2520Practices%2520System.pdf&ei=oRiWUdPZAYeQrQeE1oCoBA&usg=AFQjCNFHy4PB5AeFQ4nHnaA0wPv5cJ1CqQ&bvm=bv.46751780,d.bmk
Best Practices System

หมายเลขบันทึก: 536255เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท