สารพันเรื่องเหล้า : สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Liquor & Alcohol)


สารพันเรื่องเหล้า : สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Liquor & Alcohol)

เหล้า หรือ สุรา หรือ วิสกี้ (WHISKEY or WHISHEY) เป็นคำเรียกรวม ๆ ของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ประเทศอเมริกามักนิยมเรียกเป็นเบอร์เบิ้ล (BOURBON) สุรา เป็นเครื่องดื่มที่มี ”เอทิลแอลกอฮอล์” (ETHYL ALCOHOL) เป็นของเหลวไม่มีสี ผสมอยู่ในปริมาณไม่เกิน 60 ดีกรี (VOL%) ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถใช้ดื่มได้ ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 5 ดีกรีขึ้นไปถือเป็นสุราทั้งสิ้น

วิสกี้หรือเหล้าเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นพวกเมล็ดข้าว (GRAINS) ต่างๆเช่น ข้าวบาร์เลย์ (BARLEY) . ข้าวโพด (CORN) . ข้าวสาลี (WHEAT) ข้าวไรน์ (RYE) เป็นต้น

สุราจัดเป็นสิ่งเสพติดประเภทหนึ่ง มีฤทธิ์กดประสาท เมื่อดื่มจะมีการสะสมในระดับหนึ่งจะติดสุรา และเมื่อหยุดดื่มแล้วจะมีปฏิกิริยาของร่างกายที่เรียกว่า “อาการลงแดง”

ในปีแรกที่จัดตั้งกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 มีข้อมูลของ สสส. พบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2544 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใช้งบประมาณ 1.055 พันล้านบาท โฆษณาทางที.วี.ถึง 852.18 ล้านบาท (80.77 %) สื่อสิ่งพิมพ์ 80.03 ล้านบาท (7.6 %) ความถี่เฉลี่ย 62 ครั้งต่อวัน เทียบกันระหว่างปี พ.ศ.2534 กับ ปี พ.ศ. 2543 แล้วพบว่าใช้งบประมาณในการโฆษณาพุ่งสูงถึง 6 เท่าตัว  สำหรับการโฆษณาเบียร์เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 ปีที่แล้วถึง 18.65 เท่าตัว นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังถูกโฆษณาให้มีความหมายเชิงบวก  ทำให้มีผู้นิยมเสพมากขึ้น 

ฉะนั้น  ในปัจจุบันจึงพบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีการแพร่หลายในวงสังคมมากขึ้นหลายเท่าตัว การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังไม่มีผลบังคับ  เนื่องจากมีการละเลยมานาน และถือเป็นค่านิยมที่สังคมไทยยอมรับ และไม่ถือเป็นความเสียหาย

 

สุราแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.  สุรากลั่น ได้แก่ สุราขาว สุราผสม สุราผสมพิเศษ สุราปรุงพิเศษ

2.  สุราไม่กลั่น เช่น เบียร์ ไวน์ กระแช่ น้ำขาว น้ำตาลเมา

ปริมาณของแอลกอฮอล์ที่มีอยู่ในเครื่องดื่มต่าง ๆ ดังนี้

ชนิดของเครื่องดื่ม ปริมาณเอทิลแอลกอฮอล์ (ดีกรี)

เบียร์

เอล (ALE)

เบียร์ทำในประเทศไทย

เหล้าองุ่น

เชอรี่ และ พอร์ต

สุรา (แม่โขง, หงส์ทอง)

วิสกี้ บรั่นดี ยิน

รัม

4 – 6

6 – 8

6 – 12

10 – 15

15 – 20

20 – 35

40 – 50

50 - 60

แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดกับอาการแสดงของผู้ที่ดื่มสุรา

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด

(มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)

อาการแสดง

30

50

100

200

300

มากกว่า 400

สนุกสนาน ร่าเริง

เสียการควบคุมการเคลื่อนไหว

เดินไม่ตรงทาง

สับสน

ง่วงซึม

สลบและอาจถึงตาย

 

ผู้ที่เสพสุราจะมีสมรรถภาพในการขับขี่รถลดลง กฎหมายไทยได้กำหนดระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดสำหรับผู้ขับขี่ไม่เกิน 50 มก.%

ในวงการแพทย์ถือว่า สุราเป็นสารเสพติดซึ่งก่อให้เกิดโรคจากสุราได้ 76 โรค เป็นโรคอัมพาต 33 โรค การเสพสุราทำให้ reaction time ของคนน้อยลง ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และ อันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน สุราเมื่อดื่มเข้าไปจะถูกเปลี่ยนแปลงและถูกทำลายพิษภายในตับ ตัวแอลกอฮอล์เองจะมีพิษโดยตรงต่อเซลล์ของตับ ดังนั้น พิษของแอลกอฮอล์ต่อตับในคนที่ดื่มสุราประจำเป็นเวลานานแรมปี แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก 5 ปี เรียก “ระยะมันจุกตับ” (ตับจะโตกว่าปกติ) ระยะที่สอง เรียก “ระยะตับอักเสบ” เพราะพิษสุรา และระยะที่สาม เรียก “ระยะตับแข็ง” ในที่สุด “ตับวาย” หรือ ตับหมดสมรรถภาพในการทำงาน เข้าสู่สภาวะ “โคม่า” เมื่อถึงระยะนี้แล้วจะรักษายาก และถึงแก่กรรมในที่สุด

สุรา เบียร์ และเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ผสมแอลกอฮอล์ เป็นสารที่กระตุ้นประสาท และกดประสาท ทำให้ผู้เสพเกิดอาการเมา สมองสั่งการช้า ไม่มีความละอาย บางครั้งผู้เสพอาจอาเจียน อาการขาดยาทำให้หงุดหงิด โกรธง่าย เบื่ออาหาร เป็นต้น ถ้าดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาที่กดประสาท เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท จะเสริมฤทธิ์กันทำให้มีอันตรายมากขึ้น

การรักษาผู้ติดสุราแพทย์อาจสั่งยาไดซัลพิแรม (Disulfiram) หรือ แอนตาบิวส์ (Antabuse) ให้กันเป็นประจำทุกวัน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ หน้าแดง และมีอาการที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่างเมื่อดื่มสุราเข้าไป วิธีนี้มักใช้ได้ผลกับผู้ที่มีความมุ่งมั่นจะเลิกสุราโดยเด็ดขาด

ปัจจุบันสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีขายจำหน่ายตามท้องตลาดเป็นจำนวนมากมาย หลายยี่ห้อ และมีการแข่งขันกันทางด้านการตลาดสูง ตามสถิติ World Drink Trends ปี 1999 ระบุว่า ประเทศที่ผลิต และส่งออกสุรามากคือ อังกฤษ อเมริกา และ แคนาดา แต่ปริมาณการดื่มสุราน้อยกว่าคนไทย เพราะ คนไทยดื่มเหล้าเฉลี่ย 3.5 ลิตร/คน/ปี อยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก

 

ประเภทต่าง ๆ ของสินค้าประเภทนี้ เช่น WHISKY(สก็อตแลนด์) เตกิลา(เม็กซิโก) , VODGA (สุราขาวรัสเซีย) , BRANDY , RUM (RHUM) (เปอร์โตริโก) , ALE (เบียร์ประเภทหนึ่ง) , GIN(อังกฤษ) , CHAMPAGNE (เหล้าองุ่นขาวฝรั่งเศส) , WINE , RED WINE , WHITE WINE , WINE COOLER , RICE WINE , SHERRY , PORT(โพท - เหล้าองุ่นแดง รสหวานทำในโปรตุเกส) , COCKTAIL(เหล้าผสมผลไม้) , COGNAC (คอนยัค) , BEER , LIGHT BEER , DRAFT BEER (เบียร์สด) , LAGER BEER (เบียร์สีเหลืองอ่อน) , BLACK BEER , WHITE SPIRIT , BREEZER , เชียงชุน (เหล้าผสมน้ำตาลไหม้) , เหมาไถ (สุราขาวจีน) , สุราขาว 28 ดีกรี , สุราขาว 35 ดีกรี , สุราขาว 40 ดีกรี , เหล้าข้าวโพด (ชาวเมี่ยน/เย้า), กระแช่(น้ำตาลเมา) , อุ (ไวน์จากข้าวและแกลบของชาวภูไท) , สาโทหรือน้ำขาว (ไวน์ข้าวเหนียว) , หวาก , น้ำตาลเมา , ข้าวหมัก ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตออกขายสู่ท้องตลาดหลายยี่ห้อ ยกเว้นหากเป็นของพื้นเมืองอาจไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด แต่ก็จะมีอยู่เฉพาะท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น สุราขาวเถื่อนพื้นบ้านฉายา "ดาวลอย" จะมีผลิตที่ท้องที่ตำบลแม่ตื่น ตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น และใน ปี 2544 รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง (กรมสรรพสามิต) ได้ประกาศผ่อนปรนให้ประชาชนทั่วไปในรูปของสหกรณ์ผลิตสุราแช่ (สุราไม่กลั่น) ได้ไม่เกิน 15 ดีกรี โดยใช้ผลผลิตการเกษตร หรือผสมผลผลิตการเกษตร ให้หน่วยงานราชการ เช่น กรมสรรพสามิต กรมวิชาการเกษตร สถาบันราชภัฏ ฯลฯ รับรองคุณภาพการผลิตก่อนออกจำหน่าย  สำหรับสุรากลั่นขณะนี้รัฐบาลยังไม่อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปผลิตได้

 

เหล้าญี่ปุ่น

หรือ เหล้าสาเก SAKE เป็นเหล้าที่ทำมาจากข้าว ในขณะที่บางท้องที่จะหมายถึงเหล้าที่กลั่นจาก มันสำปะหลัง หรือ อ้อย หรือในบางครั้งจะหมายถึงโชชู หรือที่รู้จักในชื่อ 'วอดก้าญี่ปุ่น'(http://th.wikipedia.org/wiki/สาเก_(สุรา))

โชชู (ญี่ปุ่น: Shochu) เป็นเหล้าชนิดหนึ่งของญี่ปุ่นที่มักกลั่นจากบาร์เลย์ มันเทศ หรือข้าว ปกติมีปริมาณแอลกอฮอล์ประมาณร้อยละ 25 จึงแรงกว่าสาเก ซึ่งทำให้ได้รับการขนานนามว่า"วอดก้าแห่งญี่ปุ่น" โชชูมีต้นกำเนิดมาจากเกาะคิวชู ปัจจุบันมีการผลิตโชชูทั่วประเทศญี่ปุ่น

โชชูสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือแบบโค และแบบโอสึ โชชูแบบโคจะถูกกลั่นหลายครั้งจนทำให้รสชาติที่เจือปนหายไป มีแอลกอฮอล์ไม่เกินร้อยละ 36 ส่วนแบบโอสึจะถูกกลั่นเพียงครั้งเดียวทำให้เหลือกลิ่นเฉพาะของวัตถุดิบที่ใช้ มีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกินร้อยละ 45 (Santory)

http://th.wikipedia.org/wiki/โชชู

 

มิริน (Mirin) เหล้าหวานญี่ปุ่น ทำมาจากข้าวเหนียว ใช้ประกอบอาหารไม่ใช้ดื่ม มีรสชาติหวาน มีลักษณะน้ำใสๆ สีเหลืองอ่อน หรือ เข้ม นิยมนำมาประกอบอาหาร

Japanese whiskey

1.  Suntory KAKU หรือที่เรารู้จักคือซันโตรี่สแควร์ 

2.  Black Nikka clear 

3.  Torys black 

4.  Torys extra 

5.  Suntory RED 

Single malt whisky

1.  YAMAZAKI 

2.  The macallan 

3.  YOICHI 

4.  The Glenlivet 

5.  HAKUSHU 

6.  Glenfiddich 

7.  Bowmore 

8.  Miyagikyo 

9.  Laphroaig 

10.  Tomatin 

CHOYA HERB UMESHU เหล้าบ๊วยสมุนไพรญี่ปุ่น ดื่มเพื่อสุขภาพ 

 

เหล้าเกาหลี

โซจู เหล้าเกาหลี วอดก้าตะวันออก ประมาณ 21 ดีกรี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ดื่มได้ลื่นคอ เหมือนดื่มน้ำเปล่า

แอลกอฮอล์พื้นบ้านเกาหลีมีหลายชนิด เช่น ข้าวหมักที่เรียกว่า มักกอลลี (makgeolli) รสชาติหวานๆ แต่ซ่าเหมือนเบียร์ หรือไวน์ราสเบอรี่ดำที่เรียกว่า บุกปุนจา เป็นต้น 

 

เหล้าจีน

เหล้าจีนอาจหมายถึง

เหล้าองุ่นจีน, เหล้าองุ่นซึ่งผลิตในประเทศจีน

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จีน, ได้แก่สุราข้าวอย่างโบราณ และสุรากลั่นจากวัสดุอื่น

คือ เหล้าจีนจะเป็นเหล้าที่ค่อนข้างมีความหลากหลายมาก จึงเป็นเรื่องยากมากในการจำแนก

เพราะ ด้วยสาเหตุของสภาพทางภูมิศาสตร์จีนมีความหลากหลายของพืชพรรณมาก

 

เหล้าจีนส่วนใหญ่ร้อยละ 90 มักหนีไม่พ้นจากธัญพืช 2 ตัวนี้

คือ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี หรืออาจแปลกไปถ้าใช้ดอกไม้หอมกระจายหมื่นลี้ โสมมาร่วมหมักด้วย

(แน่นอนว่าคนธรรมดาไม่มีปัญญาแน่ๆ)

ซึ่งยังมีวัตถุดิบอื่นอีกมาก เช่น นม(แพะ,วัว) น้ำผึ้ง ที่มาหมักได้

เหล้าที่ชาวบ้านหมักมักเป็นเหล้าเหลือง คือเหล้าที่หมักจากวัตถุดิบ กรองเสร็จจับซดเลย

ของพวกนี้จะมีรสชาติหวาน เหมาะประกอบอาหารมากกว่านั่งจิบ เพราะมันเมายาก

ส่วนเหล้าอีกประเภทคือเหล้าที่เราเห็นในหนังบ่อยๆ ทุกท่านคงเดาออก เพราะมันคือเหล้าขาว

เหล้าขาวต่างจากเหล้าเหลืองตรงที่ ต้องเข้ากระบวนการกลั่นกรอง 1-2-3 รอบ เพื่อให้ได้

เหล้าใสๆ บริสุทธิ์ เหล้าประเภทนี้มักเห็นจากโรงเตี๊ยม เพิงน้ำชา ร้านอาหารในจีน(โบราณ)

ประเภทของเหล้าที่มีชื่อเสียง เช่น จิ๊กโฉ่ว อันนี้มีชื่อเสียงในเมืองไทยหน่อย

เอามาประกอบอาหาร และ ทานกับแกล้ม ส่วนเหล้าในจีนโบราณที่มีชื่อ อาทิ เหล้านารีแดง

จอหงวนแดง เหล้าเผาดาบ 3 ตัวหลักๆ (มีอีกเป็น100ชนิด)

เหล้านารีแดงจะหมักพร้อมกับการถือกำเนิดของลูกสาว พอลูกสาวได้ดี หรือออกเรือน

ก็จะนำเหล้านี้ ซึ่งมีอายุอยู่ราวๆ 14-16 ปี มาฉลอง

เหล้าจอหงวนแดงเลียนแบบนารีแดง ต่างกันตรงที่เปลี่ยนเป็นลูกชาย และการสอบจอหงวนแทน

การออกเรือน

สุราเผาดาบ เป็นสุราในท้องถิ่นบางแห่ง เป็นสุราที่ดีกรีแอลกอฮอล์ราวๆ 60ดีกรีขึ้น

สุราประเภทนี้ คอไม่ทองแดง ทานแล้วรู้สึกร้อนลวกมาก เลยได้ชื่อนี้มา

เนื่องจากความร้อนแรงของมัน ไม่ต่างจากความร้อนในการเผาโลหะที่แดงฉานเลย

(เป็นการเปรียบเทียบนั่นเอง)

(http://www.yodyut.com/topic.php?topic=6120)

 

Maotai (เหล้าเหมาไถ) ของชาวจีนผลิตดื่มกันมานานนับพันปีแล้ว จัดเป็นเหล้าขาวจีนที่ผลิตจากข้าวฟ่างจีน มีดีกรีแอลกอฮอล์ประมาณ 35-53 % เหล้าเหมาไถ จัดเป็นเหล้าจีนที่โด่งดังที่สุด ใช้ดื่มเพื่อรับแขกบ้านแขกเมืองของคนจีนเสมอมา เหล้าชนิดนี้ผลิตที่ตำบลเหมาไถ มณฑลกุ้ยโจว ในประเทศจีน ถึงจะถือว่าเป็นของแท้ หาซื้อยากนิดหนึ่ง เพราะมีของปลอมผลิตออกมาขายกันเยอะ เวลาซื้อต้องระวังหน่อยครับ

การผลิตเหล้าเหมาไถ ก็คือนำข้างฟ่างจีนที่มีคุณภาพดีเยี่ยมมาหมักผสมกับเชื้อยีสต์ชนิดพิเศษ และน้ำแร่ที่มีเฉพาะในหมู่บ้านเหมาไถแห่งนี้ โดยใช้กระบวนการผลิตอันพิถีพิถันทุกขั้นตอน โดยกลั่นถึง 8 ครั้ง ใช้เวลาราว 8 เดือน แล้วนำไปเก็บหมักบ่มไว้นานถึง 3 ปี จึงได้เหล้า "เหมาไถ" ที่มีรสเลิศล้ำ ใสบริสุทธิ์เหมือนน้ำ

เหล้าเหมาไถแบ่งออกเป็น 3 เกรด คือ

เหมาไถ 35 ดีกรี

เหมาไถ 43 ดีกรี

เหมาไถ 53 ดีกรี

รสเหล้าแรงแต่ไม่บาดคอ ดื่มแล้วเช้าตื่นมาจะไม่มีอาการปวดหัว (Hang) บางทีก็จัดว่าเป็นเหล้ายา

เวลาดื่มนิยมดื่มแบบชนจอกกันหมดแก้ว ชาวจีนเรียกว่า “กันเปย” และจะต้องชนจอกกันรอบวงเลย เหมือนคนไทยเดี๊ยะ เรียกอีกอย่างว่า “กินแล้วคว่ำจอก” หากจะดื่มเหล้าเหมาไถให้อร่อยได้รสชาดมากยิ่งขึ้นต้องดื่มกินคู่กับเต้าหู้ย่างหั่นเป็นก้อนสี่เหลี่ยมพอดีคำแบบกุ้ยหยาง ที่ย่างมาร้อนๆ โดยใช้ตะเกียบคีบเต้าหู้ย่างจิ้มกับเครื่องจิ้มที่เป็นพริกป่นผสมงาขาว จะได้รสเหล้าที่อร่อยมากๆ (ยิ่งดื่มกินในหน้าหนาวยิ่งได้อรรถรสมากยิ่งขึ้นด้วย)

โรงกลั่นที่ผลิตเหล้าเหมาไถนี้ ตั้งอยู่ที่ตำบลเหมาไถ ในมณฑลกุ้ยโจว ห่างจากเมืองกุ้ยหยางประมาณ 230 กิโลเมตร โรงกลั่นจะตั้งอยู่บนยอดเขาสูงตระหง่าน แต่สามารถดึงน้ำจากแม่น้ำสายหนึ่งที่ไหลผ่านโตรกผาที่อยู่ใกล้ๆ กับโรงกลั่นมาใช้ในการผลิต เหล้าชนิดนี้ได้ แหล่งน้ำแห่งนี้ในประเทศจีนใช้ผลิตเหล้าเหมาไถกันมาแต่โบราณแล้วมีชื่อเรียกกันว่า….. แม่น้ำสระมังกร

ราคาเหล้าเหมาไถของแท้ ราคาหลายพันบาทครับ ส่วนใหญ่ที่ขายกันน่าจะเป็นของปลอมครับ (ของแท้หากินยากครับ) ไม่รู้ที่เยาวราชมีรึเปล่าครับ จริงแท้นี้อันนี้ผมไม่รู้เหมือนครับ ถ้าคุณมีโอกาสได้ไปหาซื้อก็มาบอกกันบ้างนะครับ

ส่วนเรื่องการจัดอันดับผมไม่แน่ใจครับ ไว้จะพยายามหาข้อมูลให้ครับ แต่ถ้าในประเทศจีน ให้อันดับ 1 เลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น cocktailthai.com วันที่ตอบ 2007-03-12

http://www.cocktailthai.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=319368

เชียงชุน (เหล้าผสมน้ำตาลไหม้) , เหมาไถ (สุราขาวจีน)

เหล้าจีน (Chinese Wine)ประโยชน์หลักของเหล้าจีนที่ใช้ในการปรุงอาหารคือ ดับกลิ่นคาวและทำให้อาหารมีกลิ่นหอม เหล้าจีนยี่ห้อที่พ่อครัวอาหารจีนนิยมที่สุดคือ เหล้าเสี่ยวเฮงฮวยเตียว ตราเจดีย์ ซึ่งมีกลิ่นฉุน และรสชาติออกหวาน

 

ผลดีต่อประเทศของการอนุญาตให้ประชาชนผลิตสุราแช่ออกสู่ตลาดได้ สรุปดังนี้

1.  ชาวบ้านมีอาชีพเสริม และส่งเสริมอาชีพต่อเนื่องได้

2.  ส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาชาวบ้าน วัฒนธรรม และประเพณี ลดการบริโภคสุรานอกในหมู่บ้านลง

3.  แก้ปัญหาผลิตผลของเกษตรกรล้นตลาด และไม่ได้ราคา

4.  สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเกษตรกรรม เช่น ข้าว 1 เกวียน ราคา 4,000 บาท นำมาแปรรูปเป็นเหล้าแล้วจะขายได้ 25,000 บาท

5.  สร้างรายได้ให้กับประเทศ รัฐได้ภาษีเพิ่ม 2 - 3 เท่า

 

****************** 

 

เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องดื่ม

เหล้า ถือเป็นเครื่องดิมประเภทหนึ่ง ที่มีมาแต่โบราณ

เมื่อกล่าวถึงคำว่า “เครื่องดื่ม” (Beverages) ทั่วไปได้แก่ น้ำนม (milk) กาแฟ (coffee) ชา (tea) โกโก้ (cocoa) น้ำผลไม้ น้ำผัก (juice) เครื่องดื่ม สมุนไพร น้ำหวาน เป็นต้น เครื่องดื่มอัดแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

เครื่องดื่ม (Beverages) มักจะเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดเตรียมสำหรับดื่ม มีสถานะเป็นของเหลว และมักจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เครื่องดื่มอาจเป็นปัจจัยในการดำรงชีพ เช่นน้ำ หรือใช้ในด้านอื่น เช่น เหล้าและไวน์ใช้เป็นส่วนประกอบของพิธีกรรม รายชื่อเครื่องดื่มต่างๆ เช่น น้ำ น้ำประปา น้ำแร่ น้ำผลไม้ น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำแคร์รอต น้ำฝรั่ง นม นมชง : วิกิพีเดีย

 

เครื่องดื่ม (Beverages) คือ ของเหลวชนิดหนึ่งซึ่งมีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับใช้ในการดับกระหาย หรือ เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เครื่องดื่มสำหรับการดับกระหาย เช่น น้ำแร่ และโซดา เป็นต้น และ สำหรับวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น การดื่มเพื่อความสดชื่น การดื่มเพื่อให้สุขภาพดี การดื่มเพื่อ ทดแทนการสูญเสียเกลือแร่ หรือการดื่มเพื่อความบันเทิง และความพึงพอใจ สำหรับเครื่องดื่ม ประเภทนี้ได้แก่ กาแฟ ชา น้ำอัดลม น้ำนม น้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร และเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ประเภทต่างๆ เช่นค็อกเทลเป็นต้น (ประสงค์ สมปุณยอุปพันธ์, 2555)

 

ประเภทของเครื่องดื่ม

ปัจจุบันมีเครื่องดื่มจำหน่ายหลายยี่ห้อ และหลายประเภทเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทั้งที่มีกลิ่น รส และองค์ประกอบทางเคมีที่คล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกัน นอกจากนั้นยังมีวิธี การดื่มที่ แตกต่างกัน เช่น ดื่มในขณะร้อน ดื่มในขณะเย็น หรือ ผสมเครื่องดื่ม ในรูปแบบต่างๆ เครื่องดื่ม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่

1.เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Beverages or Soft Drink) โดยเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์หรือ ซอฟต์ดริ้ง แบ่งได้ 2 ประเภทคือ ประเภทที่มี กาแฟอีน และประเภทที่ไม่มีกาแฟอีน ทั้งสอง ประเภทมีความแตกต่างกัน

2.เครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ (Alcoholic Beverages or hard drink) แบ่งได้ 3 ประเภทตาม กระบวนการผลิตได้แก่ประเภทที่ได้จากการหมักกลั่นและปรุงรสซึ่งทั้ง 3 ประเภทมีความแตกต่างกัน

 

แบ่งตามลักษณะของส่วนผสม และสารที่มีอยู่ในเครื่องดื่ม

2.1 เครื่องดื่มที่ไม่มีอะไรผสมอยู่เลยเช่นน้ำกลั่น น้ำฝน

2.2 เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ เช่น เหล้าและเบียร์ ต่างๆ

2.3 เครื่องดื่มที่มีแก๊ส และมีแอลกอฮอล์ เช่น สปาคลิ่งไวน์และไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น น้ำอัดลม โซดา เป็นต้น

2.4 เครื่องดื่มที่มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น น้ำแร่

2.5 เครื่องดื่มที่มีสารเสพติดหรือกาเฟอีนผสมอยู่ เช่น ชา หรือกาแฟ

2.6 เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมอื่นๆ เช่น สี หรือ น้ำหวาน 2.7 เครื่องดื่มที่ได้จากผลไม้เช่นน้ำส้มคั้น น้ำมะนาว

 

แบ่งตามกลุ่ม ของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

กลุ่มที่ 1 ได้แก่ Ale (แอล) อยู่ในกลุ่ม เบียร์ (Ale โดยทั่วไป หมายถึง เบียร์ที่เกิดจากการหมัก เชื้อ ยีสต์มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบียร์ที่ต้ม กลั่น ในอังกฤษ)

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ Champangne, brandy, Rum, Gin, Scotch อยู่ในกลุ่ม Spirit หรือสุรา

: สปิริต (Spirit) คือ สุราที่ได้จาก การกลั่น ทั้งหมด ได้แก่ · Domestic Brandy (บรั่นดีพื้นเมือง) คือบรั่นดีที่ผลิตจากองุ่นแล้วนำมากลั่นเป็นบรั่นดีอีกที 

ทั้งเบียร์ไวน์และสุราจะต่างกันในเรื่องของรสชาติปริมาณแอลกอฮอล์วิธีเสิร์ฟวิธีการ ดูแลรักษา และวิธีการผลิต ดังนั้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เหล่านี้ จะมีปริมาณแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 2 1⁄2 % โดยปริมาตรไปจนถึง 95% และแอลกอฮอล์นั้น จะต้องเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) ไม่ใช่เมทธิลแอลกอฮอล์ (Methyl Alcohol) ซึ่งมีผลร้าย เมื่อดื่มเข้าไปอาจมีอันตรายได้

 

อ้างอิง

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องดื่ม, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,

http://www.elfhs.ssru.ac.th/onnapat_mu/pluginfile.php/21/block_html/content/Bar%20and%20Beverage%20%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%201-2.pdf

 

หมายเลขบันทึก: 536250เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2021 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท