หลักการ 3+2 และการอ่านประวัติพระสมเด็จแต่ละองค์ ภาคปฏิบัติ


หลักการ 3 ข้อแรก ในการหยิบพระสมเด็จแท้ๆ



1. ปูนดิบ (เม็ดผดมนๆใสๆ ที่ผิว) จะสะท้อนแสงสีขาวอมน้ำตาล (เมื่อส่องกับแสงอาทิตย์) ออกมาจากพื้นผิวรอบๆที่ด้านๆของพื้นผิวปูนสุกปกคลุม (เซียนบางท่านเรียก "มวลสารพระสมเด็จ")



2. ปูนสุก จะออกขาวนวลในร่องทุกร่อง ที่อยู่ข้างนอกจะดูด้านๆนวลๆ และมักหลุดหายไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ (เซียนบางคนยังเรียกแบบท่องจำมาว่า "ผงแป้งโรยพิมพ์")

3. ตั้งอิ้ว จะออกเหลืองๆ มีทั้งเป็นคราบ เป็นปื้น และเส้น ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการแพร่กระจายบนผิว ตามแรงบีบและความพรุนของเนื้อปูน (เซียนบางท่านเรียก "คราบเหงื่อ")

นี่คือหลักการสำคัญ 3 ข้อแรก ของการดู และหยิบพระสมเด็จ "แท้ๆ"

ง่ายๆแค่นี้ ไปหลงหยิบพระพลาสติกได้ยังไง

 

พระสมเด็จ แม้จะแก่ปูนดิบขนาดไหน ก็ต้องเหี่ยวและพรุนให้เห็น

นี่คือเกณฑ์ข้อที่ 4 และ 5 ในการพิจารณาพระสมเด็จเนื้อปูน "แท้ๆ"

ผิวพลาสติกจะเรียบ (สะท้อนแสงแวววาว) ตึง และไม่มีรูพรุน (กลม ขอบมน และลึก) อย่างนี้

 ดูง่ายๆ ไม่ทราบไปหลงหยิบ หลงชื่นชมพระพลาสติกกันได้ยังไง

หลังจากดูพระแท้ด้วยหลัก 3+2 แล้ว

ก็มาดูพิมพ์ ว่าถูกต้อง ลงวัดระฆัง ตามหลักพุทธศิลป์  

แล้วก็มาอ่านประวัติพระจากสิ่งที่เห็น
องค์นี้ เป็นพระเนื้อแกร่งแน่น เพราะแก่ปูนดิบ แบบแก่จัด ดูจากเส้นตั้งอิ้วที่ขึ้นมา แค่เป็นเส้นๆเท่านั้น
เนื้อปูนสุกมีน้อยค่อนข้างอ่อน ตั้งอิ้วปานกลางถึงอ่อน
เป็นพระเนื้อละเอียดปานกลาง กดพิมพ์เมื่อเนื้อเริ่มแห้งนิดหน่อย (กลางครก) ทำให้พิมพ์รายละเอียดไม่ชัดนัก

น่าจะผ่านการลงรักมาและล้างออกหมดแล้ว เพราะผิวดูสม่ำเสมอ เหมือนถูกปกคลุมมาก่อน

มีการใช้ที่ไม่ค่อยระมัดระวังเท่าไหร่

มีรอยกระเทาะของเข่าขวา และมุมที่ฐานบน และฐานกลาง เข่าขวาเนื้องอกออกมารักษาแผลเกือบเต็มแล้ว ส่วนที่ฐานยีงไม่เต็มดี แต่แผลหายแล้ว
เข่าซ้ายและพระพักตร์สึกกร่อนมาก แสดงว่าใส่กล่องไว้นาน ไม่ค่อยได้ใส่ตลับ

ซุ้มสึกเล็กน้อยจนดูเรียบเสมอกัน เพราะการเก็บพระแบบเปล่าเปลือยมาตลอด

โดยรวม พระองค์นี้ใช้น้อยมาก พระออกนวลมากกว่าฉ่ำ

การสึกกร่อนเกิดจากการเก็บรักษาไม่ถูกต้องมากกว่าการใช้

ถ้าใช้อย่างถูกต้อง เนื้อจะกลับมาพัฒนาได้อย่างสวยงามเลยละครับ

 

การอ่านจบแบบไม่สะดุด คือ ขั้นแห่งความเข้าใจ (Understanding) และชื่นชม (Appreciation) ในพระสมเด็จองค์นั้นๆ

ที่พร้อมจะบูชาอย่างถูกต้องต่อไป



 นี่คือ หัวข้อการสอนการดูพระสมเด็จแท้ขั้นสูง

ต้องเรียนกันแบบใกล้ชิด เพราะเป็นเรื่องรายละเอียด คุยทางโทรศัพท์จะเข้าใจผิดได้ง่ายๆครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

ใครจบขั้น 3+2 แล้ว มาเลยครับ
555555555555555555555555555555

หมายเลขบันทึก: 535862เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2013 08:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง เก๊ตาเปล่า สามองค์ร้อยครับ ถ้าชอบก็นำไปเลี่ยมทองสัก 5 บาท แล้วคุยว่ามูลค่า(ทอง) หลักแสนได้เลยครับ อิอิอิอิ


 

ชอบ การอ่าน แบบนี้ของอาจารย์ครับ ถ้าเป็นไปใด้ก็อยากให้ท่านอาจารย์ยกตัวอย่างมาอีกหลายยๆองค์ ขอบคุณครับ.

นายฤทธิกร ชอบทำทาน

อาจารย์ครับ ผมเข้าห้องอยู่ครับ รายงานตัวครับ ช่วงนี้งานซานิดหน่อยพอมีเวลาเข้าห้องเรียน   ขอบคุณครับ

นำพระของท่านมาเลยครับ แล้วมานั่งอ่านด้วยกันครับ จึงจะสนุกครับ

รายงานตัวครับอาจารย์...สุดยอดครับท่านอาจารย์หลัการ 3+2

หลัก 3+2 สุดยอดมากๆครับ แต่ก็คงหาเข้าล็อคยากมากนะครับอาจารย์ 555 แต่จะพยายามนะครับผม

ขอลอกคำพูดของคุณต๋อย ไตรภพ มาครับ

 

ไม่มีอะไรยาก หรือง่าย มีแต่รู้ กับ ไม่รู้ครับ

พอรู้ทุกอย่างง่ายหมด แม้แต่ไปเหยียบดวงจันทร์

แต่ไม่รู้ก็ยาก แค่หาว่าบ้านเพื่อนอยู่ตรงไหนก็ยังยากเลยครับ อิอิอิอิอิ

ขอบคุณสำหรับความรู้นะครับ  ผมไม่มีความรู้เรื่องพระเครื่องมาก่อนจะค่อยๆอ่านและเรียนรู้ครับ ส่วนพระที่ให้อาจารย์ดูให้ในคราวต่างๆนั้นญาติผู้ใหญ่ให้มาครับ. หวังว่าสักวันจะมีความรู้ และมีโอกาศเข้าไปฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์อาจารย์ครับ

ไม่ควรเริ่มจากพระเก๊ครับ จะยากมากครับ ผมกว่าจะผ่านมาได้ก็หลายปีครับ

เริ่มจากพระแท้ดูง่ายจะเหมาะกับคนที่ระบบคิดยังไม่แข็งแรงครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ ว่าแต่พระแท้ผมจะหาจากใหนครับเนี่ย. อิอิอิ ตอนนี้ได้แต่อ่าน คิดตาม จินตนาการ ทำคาวมเข้าใจ และจดจำอยู่ครับ   มีเวลาว่างก็จะแว๊บๆไปตลาดนัด แถวๆรังสิตเรื่อยๆ ไปส่อง สังเกตุ ทบทวนความรู้เรื่อยๆครับ แต่ยังไม่กล้าหยิบอยู่ดีครับ ความรู้ยังไม่แก่กล้าพอครับ

แสดงว่าท่านอ่านที่ผมเขียนแบบฉาบฉวยมาก หรือไม่อ่าน และไม่สน ไม่จริงจังในเนื้อหาครับ

ขอย้ำใจความสำคัญ ที่ผมเขียนไว้อย่างต่อเนื่อง อีกครั้ง คือ

1. ของแท้คือปูนเปลือกหอย พระแท้จะเลืยนแบบของแท้ ไม่มีพระไปดูที่ผิวเปลือกหอย

2. ตลาดพระแท้ ไม่ใช่แผงพระ หรือสนามพระอย่างที่ท่านเอ่ยมา เพราะแผงพระมีแต่พระเก๊ เสียเวลาเปล่าๆครับ

3. การจะหยิบพระแท้ได้ต้อง ก. ดูเป็น ข. เห็นทาง และ ค. มีกำลังซื้อ (ตามระดับตลาด)

4. การเห็นทาง คือ รู้ว่าพระแท้อยู่ที่ไหน จะไปหยิบได้อย่างไร เพราะไปแบบมั่วๆ มักจะได้ของเก๊และราคาแพงอีกด้วย

 

ท่านต้องศึกษาเป็นขั้นๆ ที่ผมเขียนไว้หมดแล้ว ท่านไม่สนใจ

แล้วนี่ท่านคิดจะก้าวกระโดด ที่ทำได้เฉพาะคนที่ขาแข็งแรง( เช่น มีทุนมาก หรือ มีความรู้มาก หรือ มีบารมีมาก ฯลฯ) พอเท่านั้น

ถ้าคิดแค่นี้ เลิกเลยครับแล้วกลับบ้านไปเลยครับ อย่ามาแถวนี้ เจ็บตัว หรือเหนื่อยเปล่าแน่ๆ

ขอบพระคุณมากครับอาจารย์ สำหรับคำสั่งสอนและคำแนะนำที่ดี จะปรับปรุงตัวและค่อยๆ ศึกษาครับ

อาจารย์น่าจะทำลูกศรชี้ให้ดูด้วยนะครับ มือใหม่จะได้ไม่สับสนครับ

ขอบพระคุณในความกรุณาของท่านอาจารย์ครับ

สมเด็จตั้งแต่100ขึ้นไปใช่ใหมคับ

ดูได้ตั้งแต่สองปีขึ้นไปครับ จนถึง 150 ปีครับ เพราะมีตัวอย่างแค่นั้นครับ


 ตั้งใจส่งการบ้านครับ

พิจารนาจากหลัก3+2 ตามที่อาจารย์สอน ผิดถูกกรุณาชี้แนะเพื่อเป็นวิทยาทานให้ถูกต้องด้วยครับ

หลังจากแยกพระจากกล่องพิจารนาตามหลักที่อาจารย์สอนไม่เข้า3ข้อเลยแยกไว้ไกลๆจนก็ได้มา4-5 องค์แต่ขอส่งองค์นี้ก่อนดูและพิจารณาแล้วเข้าหลัก3+2ที่สุด องค์นี้เดิมทีมีฝุ่นมากมองไม่ค่อยเห็นชัดนักก็เลยแช่น้ำร้อนอยู่1วัน (ดูกระทู้ของอาจารย์แช่แค่ไม่กี่นาทีเอง)แต่ไม่ทันละเพราะแช่มาก่อนหน้านี้เมื่อ7ปีที่แล้วละแล้วก็กรอบเงินใส่กล่องเก็บไว้เพราะดูไม่เป็นดูตามหนังสือพระทั่วไปยรู้เรื่องแต่ไม่สามารถชี้พระตัวเองได้อย่างมีหลักการจนมาเจอพี่ Goo แล้วก็พาให้มาพบกับอาจารย์ นี่แหละ

เข้าเรื่องขออาจารย์โปรดชี้แนะด้วยครับ

หมายเลข1พิจารณาพบว่ามีเนื้อปูนดิบบริเวณนี้ ยุบๆปูดๆชัดเจน แต่ไม่ได้เป็นผดเล็กๆกลมๆเหมือนที่อาจารย์บอก(ตรงนี้ขอความกรุณาท่านชี้แนะอีกที ยังไม่ค่อยเกท ดูภาพที่อาจารย์สอนน่ะเข้าใจ แต่ของผมมีไม่เหมือนอ่ะครับ)

หมายเลข2จะเห็นว่ามีเนื้อปูนสุกที่ผุดขึ้นมาลักษณะเหมือนฟองเต้าหู้

หมายเลข3 มีคราบน้ำมันตังอิ้วให้เห็นประปลายทั้งองค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลังไม่หนาไม่บางและไม่เครอะคละเกินไป แต่จะมีมากบริเวณด้านบนขององค์พระ และบริเวณนี้เองเมื่อส่องด้วยกล้องมุมซ้ายปลายสุดขององค์พระ จะมองดูเนื้อเหมือนเทียนไขสีเหลืองอ่อนๆนิดๆพิจารณาแล้วน่าจะเป็นเพราะบริเวณนั้นมีน้ำมันตังอิ้วผสมอยู่มาก 

หมายเลข4,5 พบมีการยุบหดตัว ใหญ่บ้างเล็กบ้าง เป็นรูเข็มบ้าง บริเวณที่มีการยุบตัวจะมองเห็นมีการเกิดของเนื้อปูนสุกเนื้อผงขาวขุ่นๆกระด้างๆจะไม่เหมือนผงแป้งฝุ่นที่เราใช้โรยตัวใหม่ๆส่วนใหญ่ไปในทางเดียวกันคือเวลามองในรูหรือในรอยยุบปูนสุกจะเกิดจากรอยยุบออกมาด้านล่างซะส่วนใหญ่ 

พิจารณา ศิลปะ พิมพ์ทรงขององค์พระก็น่าจะเข้าเกณฑ์เป็นพิมพ์ใหญ่ใช่มั้ยครับ

พิจารณา การยุบย่นเซทตัวก็มี โดยเฉพาะผนังองค์พระมีการยุบตัวอย่างชัดเจนจึงทำให้มองเห็นรอยแยกระหว่างผนังกับเส้นซุ้มด้านซ้ายองค์พระปริแยกโค้งเป็นรอยลงมาจากแนวเดียวกับหน้าพระยาวมาถึงบริเวณศอก  เมื่อพลิกมองดูจากด้านข้างก็จะเห็นว่าพระโก่ง งอโค้งไปทิศทางเดียวกันกับการยุบตัวและดึงของผนังองค์พระ(คืองอเข้าหาตัว) จึงทำให้ด้านหลังองค์พระมีการเกิดรอยปริลักษณะการปริ ของหลังองค์พระคือปริ ยาวไล่ลงมาจากกลางองค์พระนั่นน่าจะมาจากการดึงยุบตัวของผนังเข้าหากลางองค์พระนั่นเอง

และะมีข้อสงสัยอีกจุด คือบริเวณระหว่างฐานที่1 กับ2 พบมีใยเป็นก้อนบางๆลักษณะเหมือนใยมะพร้าวแต่ดูแล้วเหมือนใยใบไม้อะไรซักอย่างมากกว่าที่ตำๆจนเหลือเป็นใยผสมอยู่ในพระ 

       ช่วยสั่งสอนด้วยครับแท้เก๊ตอนนี้ไม่สำคัญครับอย่างได้ความรู้ที่ถูกต้องจากอาจารย์ก่อนครับ 

                                                                                                                        ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

                                                                                                                                  พันณสิทธิ์


น่าลุ้นครับ ขอภาพซูมชัดๆได้ไหมครับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับที่กรุณาสอน ส่วนรูปชัดๆซูมๆวันสองวันนี้แหละครับหากล้องก่อน อันนี้ใช้โทรศัพท์ถ่ายครับ และยังมีอีกหลายจุดครับที่ยังสงสัยอยู่หลายข้อในพระองค์นี้ คืออยากรู้และอยากจะถามอาจารย์ให้เข้าใจ เดี๋ยวรอรูปซูมๆชัดๆก่อน จะถามทีเเดียวเลย

                                                                                                                         ขอบคุณครับ 

                                                                                                                           พันณสิทธิ์

ที่ลงไปก่อนหน้านี้เป็นพระแก่ปูนดิบ ที่พบบ่อย แต่ดูแบบฟันธงยากหน่อยสำหรับมือใหม่ จึงพยายามเน้นจุดนี้

ตอนนี้เปลี่ยนองค์ที่ดูง่ายๆขึ้นมาหน่อย แม้จะผิดเจตนาเดิม ก็เปลี่ยนตามคำขอครับ อิอิอิอิอิ

รูปถ้าลงแล้วเป็นการรบกวนอาจารย์ลบได้เลยนะครับแต่ที่ลงเพราะมีข้อสงสัย

2ภาพนี้ขยายจากบริเวณหัวเข่าซ้ายองค์พระครับ (กล้องราคา 2,850บาทครับ)

ภาพที่1.ขยายที่ 200X

ภาพที่2.ขยายที่ 600X

จากการใช้กล้องส่องทั่วไปไม่สามมารถเห็นมวลสารพวกนี้ได้ครับ มองจากกล้องส่องพระจะมองเห็นเป็นเพียงจุดส้มๆครับ 

คำถามที่จะรบกวนถามครับ 

เกสรดอกไม้อายุประมาณ 100-150ปี ควรจะแห้งขนาดไหนครับ สีน้ำตาลหรือดำเหมือนดอกไม้ที่ตากแดดแห้งทั่วไปรึเปล่าครับ

เพราะที่ผมเห็นอยู่นี้ดูสียังสดอยู่เลย ที่สงสัยเพราะว่าพิจารณาตามหลักการ 3+2 ของเนื้อปูนเปลือกหอยเก่าของพระองค์นี้ก็เข้าหลักเกนณ์อยู่ ตามที่ อาจารย์สอน

 

 

2ภาพนี้ขยายที่ 200X และ 600X เช่นกันครับ พบเส้นไหมสีน้ำเงินที่บริเวณฐานชั้นล่างสุดซ้ายมือองค์พระครับ อันนี้ใช่เส้นผ้าแพรรึเปล่าครับ

ภาพนี้ขยายจากรอยปริ ฐานชั้นล่างสุดซ้ายมือองค์พระบริเวณที่พบใกล้ๆกับเส้นไหมสีน้ำเงินครับ ชิ้นส่วนสีเขียวน่าจะเป็นอะไรครับ

3.รูปนี้จุดสีน้ำตาลคือชิ้นส่วนพระผงจากเมืองกำแพงเพชรใช่มั้ยครับ

ภาพมวลสารด้านหลังองค์พระครับ

ขอบคุณมากๆนะครับที่อาจารย์ที่กรุณาได้สอนสิ่งต่างๆผ่านทางเวบให้คนที่สนใจได้ศึกษา 

เป็นกำลังใจให้กับสิ่งที่อาจารย์ทำอยู่ 

ขอบคุณมากๆครับ

พันณสิทธิ์

- ได้ความรู้จากบทความของอาจารย์ดร.แสวงมากเลยครับ

- มวลสารของพระสมเด็จ พันณสิทธิ์ ในส่วนตัวสวยมากครับ ใช้กล้องอะไรถ่ายครับ ชัดมากเลย ผมจะหาไว้บ้างสักตัว

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท