สังคมและวัฒนธรรมไทยที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ


                     ดวงเด่น นเรมรัมย์( 2552) รวบรวมข้อมูลสรุปไว้ว่า “วัฒนธรรม คือ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือผลิตขึ้นเพื่อความเจริญของชีวิตโดยส่วนรวม ที่ถ่ายทอด เรียนรู้และเป็นแบบอย่างกัน   วัฒนธรรม คือ ผลผลิตของส่วนรวมที่เรียนรู้จากคนรุ่นก่อนสืบต่อกันเป็นประเพณี   วัฒนธรรม” หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต แบบแผนแห่งพฤติกรรม ผลงานที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ครอบคลุมความคิด ความเชื่อ และความรู้ ทุกสังคมขาดวัฒนธรรมไม่ได้ และวัฒนธรรมปราศจากสังคมไม่ได้ คือ ถ้าสังคมใดขาดวัฒนธรรม สังคมนั้นมีลักษณะเป็นสังคมของสัตว์มิใช่สังคมมนุษย์   วัฒนธรรมดำรงอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากสังคม เพราะมนุษย์ที่อยู่ในสังคมเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมขึ้น  มนุษย์กับวัฒนธรรมและสังคมจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน

   สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน พบว่ามีการแข่งขันสูงทุกด้าน การบริหารธุรกิจต้องหาข้อมูลอย่างละเอียด รอบคอบ พิจาณาสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน ซึ่ง จุฑา เทียนไทยและคณะ(2552) ได้ชี้ประเด็นดังกล่าวอย่างชัดเจนว่ามีผลต่อการทำธุรกิจยุคปัจจุบันหรือที่เรียกว่า เป็นยุค “โลกาภิวัตน์”  สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แบ่งออกเป็น สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเรียกว่า SWOT Analysis การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้ทราบถึง จุดแข็งและจุดอ่อน ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก มีอยู่สองส่วน คือ สภาพแวดล้อมทั่วไป และ สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี ภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ทำให้ทราบถึง โอกาส และ อุปสรรค  ส่วนสภาพแวดล้อมการดำเนินงาน เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อธุรกิจในอุตสาหกรรมนั้น  เช่น คู่แข่งขัน ลูกค้า รัฐบาล ชุมชน ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินการ หรือเรียกว่า การวิเคราะห์อุตสาหกรรม รูปแบบที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ Porter’s 5 F Model ประกอบด้วยปัจจัยทั้ง 5  คือ การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ และ อำนาจต่อรองของผู้ขาย

   สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social cultural Environment) เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกโดยทั่วไปที่ไม่สามารถควบคุมได้  เป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรคในการบริหารธุรกิจ  สังคมคือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของบุคคล  เกี่ยวข้องกับชนชั้นทางสังคม  (Social Class)  กลุ่มอ้างอิง (Reference)  ครอบครัว (Family)  การสร้างความเชื่อ  ขนบธรรมเนียมประเพณี  ความเข้าใจและการปฏิบัติของบุคคล  ซึ่งกำหนดพฤติกรรมที่นิยมกันในสังคม  การรับรู้  ความพอใจและพฤติกรรมหรือเป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับประเพณี (Tradition)  ค่านิยม (Value)  ทัศนคติ (Attitude)  ความเชื่อ (Belief)  รสนิยม (Taste)  และรูปแบบ (Pattern of behavior)ซึ่ง ศิริวรรณเสรีรัตน์และคณะ (2548) กล่าวไว้   

  ชนินทร์  ชุณหพันธรักษ์ (2542 ) ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยทางด้านสังคม (Social Component) หมายถึงโครงสร้างทางสังคมที่องค์กรต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง  เช่น ระดับการศึกษา ค่านิยม และความเชื่อ วิถีอายุ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะช้าหรือเร็วต่างมีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร   สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งสูงในเรื่องของสังคมและวัฒนธรรม  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลาหกสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตกและเทคโนโลยี ทำให้สังคมไทยอยู่ในสภาพ “พื้นไม่แน่น” เพราะคนขาดความพร้อม ความรู้ ความเข้าใจ ทำให้เกิดพฤติกรรมแบบไทยที่ไม่สร้างสรรค์ ขัดต่อการพัฒนาในแนวทางที่ถูกต้องเป็นความเห็นจาก  สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ(2550 ) และทุกประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมักมีปัญหาด้านสังคม  อดีตท่านนายกฯอนันต์  ปันยารชุน  (2539) ให้ความเห็นว่าถ้ามองแต่ด้านเศรษฐกิจอย่างเดียว ไม่ได้มองด้านสังคม จะเกิดปัญหาความขัดแย้งทางสังคม แต่ถ้ามองด้านสังคมด้านเดียว จะไม่มีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาที่ถูกต้องคือดำเนินการไปพร้อมกันแบบ “เดินสายกลาง”  แต่การเดินสายกลางไม่มีหลักชี้วัดที่สมเหตุผล โดยเฉพาะการชี้วัด "ศักยภาพทางเศรษฐกิจ" ที่ดิเรก  ปัทมสิริวัฒน์ (2537)ให้ความหมายคือ ความเป็นไปได้ขั้นสูงทางเศรษฐกิจของสังคมหนึ่ง ในระดับการผลิตและการสะท้อนการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่ มีประสิทธิภาพ  ประเทศในแถวเอเซียตะวันออกมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงในช่วงเวลา 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมา  จนกลายเป็นภูมิภาค จากการศึกษาค้นคว้าพบว่ามีเหตุมีปัจจัยเกื้อหนุนอย่างไรในหนังสือชื่อ The East Asian Miracle: Economic Growth and Public Policy ของธนาคารโลก  โดยได้จำแนกกลุ่มประเทศ High-performing countries ประกอบด้วย  8 ประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และประเทศไทย  จะกลายเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญสูงในเวทีเศรษฐกิจ ซึ่งต่างมีมุมมองที่ขัดแย้งกันเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแตกแยกทางความคิดของสังคมไทย 

   จากบทความของวิทยากร  เชียงกูล (2552) ไทยมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก (2551) น้อยกว่าฝรั่งเศสแต่มากกว่าอังกฤษ อิตาลี เปรียบเทียบประเทศทั่วโลกราว 200 ประเทศ ประเทศไทยเป็นประเทศขนาดกลาง แต่ GDP ของทั้งสามประเทศ ใหญ่กว่าไทยราว 10 เท่า  เพราะประชากรมีการศึกษาสูง ผลิตภาพสูงและรายได้สูงกว่าไทย แต่คนไทย 80 % ยากจนไม่มีกำลังซื้อ ไทยจึงอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา  ไทยมี GDPNominal ในปี พ.ศ. 2551 เป็นมูลค่า 272,100  ล้านดอลล่าร์สหรัฐ อยู่ในอันดับที่ 35 ของประเทศทั่วโลก ลดลงจากเมื่อปีพ.ศ. 2548 ที่ไทยอยู่อันดับ 22 แสดงว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมามีประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจแซงหน้าไทยไป 10 ประเทศ และ GDP ต่อหัวประชากรอยู่อันดับที่ 92 ของโลก ลดลงจากปีพ.ศ. 2548 ที่ไทยอยู่อันดับที่ 72

  สภาพสังคมไทย (2552)  ชี้ประเด็นว่า ความสำเร็จของการพัฒนาในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา  ถึงพ.ศ. ๒๕๔๐ สิ่งที่ควบคู่มากับความสำเร็จคือปัญหาสังคมที่เพิ่มมากขึ้นเป็นปัญหาสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์  สรุปเป็นข้อความน่าคิดอย่างยิ่งว่า "เศรษฐกิจก้าวหน้า สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน"  ยิ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจและวัตถุมากเท่าใด สภาพจิตใจคนกลับเสื่อมลง สับสน ว้าเหว่ ขาดที่พึ่งทางใจ ครอบครัวที่เคยเข้มแข็งกลับอ่อนแอ แตกแยก ชุมชน หมู่บ้าน ที่เคยเข้มแข็งก็เช่นเดียวกัน แนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ผ่านมาเน้นเรื่องความเจริญทางวัตถุ  การพัฒนาทางอุตสาหกรรม  การเร่งขยายรายได้ประชาชาติ ซึ่งส่งผลให้เห็นว่า 30  ปีที่ผ่านมา มีความเจริญเกิดขึ้นอย่างมาก  เป็นความเจริญทางด้านวัตถุ  แต่ทรัพยากรของโลกถูกทำลายไปโดยไม่มีทางหาใหม่ได้ จนเกิด  “วิกฤตการณ์ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม”  ซึ่งเสื่อมโทรมลงแต่รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น

  สังคมไทยในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนจากสังคมแห่ง “ความเชื่อ” เชื่อถือ เชื่อมั่น  ไปเป็นสังคมแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น เป็นวัฒนธรรมทางสังคมรูปแบบใหม่  เป็นที่น่าสังเกตว่า มีแต่ข้อคิดเห็นแต่ขาดข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ปัญหาที่มีเหตุผลสนับสนุน  ตรงกับความเห็นของกมล  วิชิตสรสาตร์ (2551)ที่ว่า ความวุ่นวายซึ่งดำเนินอยู่ในสังคมของคนไทยขณะนี้ ต้นเหตุมาจากความสับสนทางความคิด ซึ่งได้รับการปลูกฝัง บ่มเพาะและทำนุบำรุงกันมา ส่วนสาเหตุที่ทำให้มีความคิดสับสนนั้น เป็นเพราะระบบการศึกษา  สังคมไทยล้มเหลวมาจากผู้มีอำนาจชี้นำ  แท้จริงการแก้ไขปัญหาของสังคมไม่ใช่เรื่องยาก แต่แก้ไขไม่ถูกจุด  วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ (2552) ชี้ว่าการศึกษาเป็นวิธีดีที่สุดที่ช่วยยกระดับฐานะของคน  ลดช่องว่างความมั่งคั่งได้แบบยั่งยืน เพราะสอนให้รู้จักประกอบอาชีพ  เปิดโอกาสหารายได้ ทำให้เกิดความมั่งคั่งในอนาคต   

  สังคมไทยเคยมีความเชื่อว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” กลายเป็น “ ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป“ซึ่งแสดงออกถึงการขาดความเชื่อถือ เชื่อมั่นในความดี เพราะไม่เชื่อว่าทำดีแล้วจะได้ดี  จึงมีคนทำชั่วหรือทำไม่ดีเพิ่มมากขึ้น เพราะขาดการแยกแยะ สิ่งใดเรียกว่า ดี หรือไม่ดีแต่  วิทยา  ตัณฑสุทธิ (2552 )ชี้ให้เห็นว่ามี “คนดี”จำนวนมากไม่มีความสุข แต่  “คนใจดี”ส่วนมากมักมีความสุข และทำให้คนอยู่ใกล้มีความสุขไปด้วย “คนใจดี” คือ คิดดี แสดงความรู้สึกดี พูดดี ทำดี เช่น คิดบวก อยากให้มากกว่าอยากรับ รักเพื่อนมนุษย์ มีเมตตา กรุณา อยากช่วยเหลือ

  สังคมไทยเคยมีความเชื่อที่ว่าต้นไม้มีรุกขเทวดารักษา ในป่าหรือภูเขามีเจ้าป่าเจ้าเขา คอยดูแลรักษา ถ้าใครตัดไม้ทำลายป่า จะถูกลงโทษ แต่เมื่อความเชื่อนี้หมดไป ต้นไม้อายุหลายร้อยปีถูกตัดโค่น   ป่าไม้ถูกทำลาย การบุกรุกป่าไม้ในพื้นที่เขตอุทยานเพิ่มขึ้น เคยมีความเชื่อเกี่ยวกับแม่น้ำลำคลองว่าพระแม่คงคาเทวี เป็นผู้ดูแลรักษา โดยมีสัญลักษณ์คือการจัดงานลอยกระทง จุดประสงค์คือขอขมา แต่เพราะไม่เชื่อเรื่องดังกล่าว ประชาชนจึงทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำลำคลอง โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสีย  ทำให้สูญเสียระบบนิเวศน์ของน้ำ  เหลือเพียงประเพณีลอยกระทงเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงกลายเป็นวัฒนธรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว  ความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของสังคมไทยในปัจจุบัน คือ กล้วย 8 ศอก งูมีขา ปลาสีประหลาด  ซึ่งมีผลทางด้านการให้โชคลาภ  บันดาลความร่ำรวยเงินทอง การกราบไหว้ บนบานศาลกล่าวให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพราะเข้าใจว่า “เงินเหมือนฝน หล่นจากฟ้าได้” จึงได้แต่หวัง โดยไม่ได้เป็นไปตามคำสอนหรือการปฏิบัติของพุทธศาสนาสอดรับกับความคิดเห็นของท่านพระมหาวุฒิชัย หรือ ว.วชิรเมธี (2552) ทุกวันนี้ประเทศของเรากำลังประสบปัญหาวิกฤติหลายด้าน ซึ่งสืบเนื่องมาจากลัทธิบริโภคนิยมของคนไทย ที่ให้ความสำคัญกับวัตถุมากขึ้น ใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อ อยากรวย ซึ่งความอยากรวยนั้นไม่ได้ผิดบาป ถ้าเป็นความรวยที่มาจากการลงทุนลงแรงของตัวเอง  แต่เคารพบูชากราบไหว้วิงวอนเทพเจ้า"

เพราะอยากรวยโดยไม่ต้องออกแรง

    สังคมไทยในชนบท เป็นสังคมที่ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างฐานะความเป็นอยู่ให้เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น “หวยใต้ดิน”ของเอกชนและ”สลากกินแบ่ง”ของรัฐบาลที่อยู่ระหว่างการแข่งขันทางธุรกิจ จึงเป็นเสมือนความหวังเดียวของชาวไร่ชาวนา ที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ  เผื่อมีโอกาสร่ำรวยขึ้นมาบ้าง  สมดังคำกล่าวที่ว่า “คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น” แต่ดูเหมือน “หวยใต้ดิน”จะได้เปรียบกว่า เพราะลูกค้าสามารถกำหนดเลขและจำนวนเงินที่ซื้อได้  ซึ่งกมล  วิชิตสรสาตร์ (2551) ชี้ว่าขณะนี้สังคมไทยกำลังป่วยหนัก ต้องการความช่วยเหลือ การเยียวยารักษา ความเมตตาจากผู้มีจิตใจที่เป็นกุศล และผู้รู้จริง ตั้งใจจริง เข้ามาแก้ไขปัญหา  แต่การแสดงออกของคนไทย  คือ มีความเกรงใจ ไม่ชอบแสดงออกในสิ่งที่ผู้อื่นได้รับผลกระทบ  เสียหาย  ให้เกียรติซึ่งกันและกัน  ยอมรับความอาวุโสของบุคคลที่มีประสบการณ์  มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือ  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  รักศักดิ์ศรี  มีความเห็นใจ  รักพวกพ้องนั่นคือความคิดเห็นของจุฑา เทียนไทย (2540)เมื่อสังคมไทยยึดถือบุคคลมากกว่ายึดถือระบบ การพิจารณาตัดสินใจ ล้วนแต่ยึดทัศนคติและความคิดเห็นส่วนตัวเป็นหลัก ไม่พิจารณาด้วยหลักการหรือเหตุผล  สิ่งใดถูกใจ สิ่งนั้นคิดว่าดี  บุคคลใดที่รู้จักมักคุ้น ย่อมดีกว่าบุคคลที่ไม่รู้จักหรือไม่คุ้นเคย แม้ว่าบุคคลที่รู้จักจะทำไม่ดี  ไม่ใช่คนดี  แต่เป็นคนที่ถูกใจก็กลายเป็นคนดี  ตัดสินจากความรู้สึกที่ไม่มีมาตรฐาน สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมการศึกษาของไทยเป็นระบบการท่องจำและปฏิบัติตามคำสั่งสอน  ซึ่งถูกปลูกฝังต่อเนื่องกันมา

  สังคมไทยเปลี่ยนนิยามของคำว่า”ความเกรงใจ”กลายเป็น”สิทธิมนุษยชน” โดยเฉพาะในสังคมเมือง ส่วนสังคมชนบทยังมี ”ความเกรงใจ”กันอยู่มาก เมื่อสังคมเมืองนิยมใช้ ”สิทธิมนุษยชน”ซึ่งมีความละเอียดน้อยกว่า”ความเกรงใจ” ความขัดแย้งจึงเกิดได้ง่าย เพราะทุกคนลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตนเองในเรื่องส่วนตัว แต่เมื่อเป็นเรื่องของส่วนรวมกับเพิกเฉย ไม่สนใจ เพราะเลือกปฏิบัติแต่สิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง พร้อมทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพื่อสนองความต้องการของตนเองเป็นหลัก ไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับภาพรวมของสังคม ในขณะที่สังคมชนบท ความเกรงใจคือ “การรับเงิน”แล้วต้อง”ลงคะแนน” เพราะ”เกรงใจ”  ผลเสียหายจึงแผ่ขยายออกไปกระทบกับส่วนอื่นของสังคม ถ้าคนในสังคมไทยไม่ร่วมมือ ไม่ช่วยเหลือหรือพึ่งพาอาศัยกัน ในที่สุดคนไทยจะสูญพันธ์ สอดคล้องกับความคิดเห็นของเสรี พงศ์พิศ(2551) ที่ว่า สังคมไทยสำนึกในสิทธิเสรีภาพที่อยู่ในวงแคบ คือตัวเอง ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง พรรคพวก คนร่วมกลุ่ม ร่วมสี ร่วมสถาบัน ร่วมก๊กร่วมเหล่า ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นหลักของความเกรงใจ สังคมไทยกล่าวว่า "คนไทยทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน"  แท้จริงแล้วไม่ปฏิบัติตามนั้น แต่ปฏิบัติแบบวิถีนิยม คือทำแล้วได้อะไร ส่วนสิทธิเสรีภาพก็ไม่ได้มาจากฐานอุดมการณ์หรือความเชื่อ

   ปัจจุบันอัตราการเกิดอยู่ที่ปีละ 8 แสนคน เมื่อ 10 ปีที่แล้ว อัตราการเกิดของคนไทยปีละประมาณ 3 ล้านคน เกิดจากภาวะเจริญพันธุ์ลดลงอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่หญิงไทย 1 คนมีลูก 6 คน แต่ปัจจุบันเหลือ 1 คนต่อ 1.5 คน คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า เด็กไทยเกิดใหม่จะเหลือ เพียง 7 แสนคน ที่เกิดมาแล้วมีปัญหาด้านสุขภาพอีกร้อยละ 5 เสี่ยงต่อการรับเชื้อธาลัสซีเมีย น้ำหนักแรกเกิดน้อย ไอคิวต่ำ และขาดสารอาหาร จากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม  ในแต่ละปีพบว่ามีเด็กถูกทอดทิ้งจากพ่อแม่ที่ไม่พร้อม มากกว่า 800 ราย ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์จากวัยรุ่นร้อยละ 50  เกิดจากไม่ใช้ถุงยางอนามัยแต่ละปีมีเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี ตั้งครรภ์ถึง 2,500 คน  จากแม่อายุต่ำกว่า 18 ปี อีกกว่า 70,000 ราย และในจำนวนนี้ 240 รายติดเชื้อเอดส์ ข้อมูลจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ (2552) 

   เห็นได้ว่าคนไทยแท้มีจำนวนลดลงไป  ทอม ตุ๊ด ดี้ มีจำนวนเพิ่มขึ้น  คนโสดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะไม่อยากแบกรับภาระความรับผิดชอบ  คนรุ่นใหม่ในสังคมไทยรักตนเอง เห็นแก่ตนเองเพิ่มขึ้น เมื่อทราบว่าสิ่งใดเป็นความทุกข์ เป็นปัญหา จะหลีกเลี่ยงเสียไม่ไปเผชิญ เป็นความฉลาดแต่ขาดความสมดุล  ซึ่งไพโรจน์ (2551)กล่าวว่า มนุษย์ทุกคนมีความฉลาดในตัวเอง คือ มีความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ ความรู้สึก และมีวิญญาณ คิดสิ่งใหม่ รู้จักแก้ปัญหาและตัดสินใจ ซึ่งสิ่งเกิดจากจิตวิญญาณ เรื่องความคิดและวิญญาณต้องไปด้วยกัน วิญญาณจะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความคิด ผลงาน และสิ่งสร้างสรรค์ 

  สังคมไทยในปัจจุบันอยู่ในระหว่างการปรับตัว เสมือนเรือที่ลอยอยู่กลางทะเล ยังหาทิศทางขึ้นฝั่งไม่ได้ เนื่องจากกระแสคลื่นลมกำลังแรง ทุกคนที่อยู่ในเรือต้องช่วยกันประคับประคอง เรือลำนี้เขียนไว้ข้างเรือว่า “ประเทศไทย” ใครมีสติปัญญาหรือความสามารถในด้านใดต้องนำออกมาใช้ ช่วยเหลือกัน ร่วมมือร่วมใจ ร่วมด้วย ช่วยกัน เพื่อจะทำให้ประเทศไทยอยู่รอดไปได้  โดยกมล วิชิตสรสาตร์ (2551) ให้ความเห็นว่าเพราะสังคมเดิมมีขนาดเล็กสมาชิกก็อาศัยการสื่อสารด้วยการบอกเล่าจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง (Word of mouth, face to face, inter-personal communication)เมื่อคิดจัดระบบให้ทันยุคสมัย จึงต่อต้าน เพราะมีผู้ได้เสียผลประโยชน์  ผู้ได้อยากให้เกิด ส่วนผู้ที่เสียไม่ต้องการ เป็นเรื่องปกติ ถ้าใช้เหตุผลและยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก มีการเสนอแนะและนำมาพิจารณาร่วมกัน ย่อมสำเร็จลงได้ด้วยความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย

  สอดคล้องกับความเห็นของจุทา  เทียนไทย (2543) ในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงว่า  คือสัจธรรมอย่างหนึ่ง การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเพราะขัดผลประโยชน์ส่วนตน  เกิดความเข้าใจผิด ทำให้ไม่ยินยอมทำตามข้อเสนอ  ไม่ยอมเปลี่ยนเพราะมองคนละมุม  ประเมินการเปลี่ยนแปลงก่อนว่าถ้าไม่พร้อมไม่ยอมเปลี่ยน ด้วยเหตุว่าค่านิยม สังคมและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก เป็นสิ่งชี้วัดความเจริญ ความมั่นคงของประเทศ  ถ้าประเทศไทยมีค่านิยมที่ยึด”หลักการ”มากกว่า”หลักกู” มีผู้ที่เสียสละต่อส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง มีวัฒนธรรมที่ยกย่องผู้ที่ทำดีมากกว่าผู้ที่มีเงิน เชื่อว่าสังคมไทยเจริญขึ้นอย่างแน่นอน ตราบใดที่ยังยึดในเรื่อง “คุณ –นะ-  ทำ” แต่ฉันไม่ทำก็ยากที่สังคมไทยจะดีขึ้น  ประเด็น “คุณธรรม”ตามที่ สุวัฒน์ ทองธนากูล (2552) กล่าวถึงไม่ใช่เรื่องที่ออกเสียงว่า “คุณ –นะ-  ทำ” เพื่อเกี่ยงว่า “ฉันไม่ต้องทำ “ไม่ได้แล้ว เพราะปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เกิดเพราะคนขาดคุณธรรม จำเป็นต้องสร้างระบบขึ้นมาใหม่ เรียกว่าระบบอุปถัมภ์ค้ำจุน  อุดหนุนคนดี มีศีลธรรม  เพราะถ้า “ศีล-ทำ” แสดงให้เห็นว่า เมื่อทำกิจกรรมใดก็ตาม จะใช้ศีลธรรมเป็นตัวนำ เป็นข้อกำหนดแนวทาง ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (2512)  ความตอนหนึ่งว่า “สิ่งสำคัญในการปกครองก็คือ บ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงไม่ใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ  ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”

   สังคมไทยใช้ระบบรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง เน้นเรื่องความรักชาติและเคารพเชื่อฟังผู้ปกครอง เพื่อให้คนหลายชาติพันธุ์มีเอกภาพเละอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข  แต่หลังจากเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยเมื่อปีพ.ศ.2475  ก็เริ่มเกิดปัญหา เมื่อคนระดับล่างถามหาความเป็นธรรม และเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจแก้ไขความทุกข์ยาก  ในช่วงแรกปัญหายังไม่รุนแรง เพราะถูกตีกรอบจนเคยชิน  ไม่กล้าโต้เถียง ไม่เคยแก้ปัญหา ไม่มีพลัง เพราะขาดวุฒิภาวะและประสบการณ์  เมื่อได้เรียนรู้มากขึ้น และสังคมมีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้เกิดปัญหานั่นคือความเห็นของ  วิทยา  ตัณฑสุทธิ  (2552)

    ปัญหาเศรษฐกิจส่วนหนึ่งมาจากปัญหาด้านสังคมที่ส่งผลกระทบ สังคมชนบทที่ด้อยคุณภาพทางการศึกษาทำให้ต้องเผชิญปัญหาความแตกแยกและแตกต่างของชนชั้น ไม่ได้รับการชี้นำจากองค์กรที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เนื่องจากหวังประโยชน์จากความไม่รู้ของประชากรในสังคมชนบท สอดรับกับความคิดเห็นของคณิต ณ นคร (2550) ในทำนองว่า ให้สื่อสารด้วยคำพูดที่เข้าใจง่าย  ชัดเจนแก่ทุกฝ่าย เพราะความคลุมเครือหรือสงสัยที่เกิดจากความไม่รู้เป็นอันตราย กลายเป็นเครื่องมือให้ผู้ไม่หวังดีหาประโยชน์  ยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกเข้าใจผิด  ควรสร้างการเรียนรู้ให้แก่ประชาชน  ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดจากความเข้าใจผิดหรือมาจากความไม่รู้ส่วนสังคมเมืองเด็กที่พ่อแม่มีฐานะนิยมส่งลูกหลานไปเรียนต่างประเทศหรือโรงเรียนนานาชาติในประเทศ ทำให้เด็กซึมซับและรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นมาไว้ในจิตใต้สำนึกโดยไม่รู้ตัว เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ มีตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมหรือการเมือง มักชี้นำหรือใช้วัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสมกับโครงสร้างของประเทศไทย

  การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ด้านเงินทุน ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับความเสี่ยง การแข่งขันทางการค้า  การส่งเสริมการลงทุน การเปิดเสรีทางเงินทุน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่ายใน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากรอีก 20 ปีข้างหน้า จะทำให้สังคมไทยเข้าสู่  Old Aging Society ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลดลงของแรงงานวัยทำงานในประเทศ  ทำให้ต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีฝีมือมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้แก่ผู้สูงอายุ ผ่านการบริหารเงินออม โดยการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบข) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและเศรษฐกิจซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นของการสรุปผลการสัมมนาทางวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (2551)

   พื้นฐานสังคมไทยเดิมเป็นเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ในอดีตที่ผ่านมาค่านิยมไม่ต้องมีการศึกษาที่สูง แค่อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น  นอกนั้นพ่อแม่จะถ่ายทอดให้เด็กเอง แต่ปัจจุบันเด็กได้รับการศึกษาสูงขึ้น แนวความคิดเปลี่ยนไป เห็นการทำนา ทำไร่เป็นงานที่หนัก รายได้น้อย ขาดการยกย่องจากสังคม ไม่เหมือนเป็นข้าราชการ แม้เงินเดือนน้อย แต่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ซึ่งโครงสร้างของสังคมไทยที่พยายามส่งเสริมการศึกษาให้สูงขึ้นแต่ไม่ได้สร้างงานหรืออาชีพไว้รองรับ ทำให้เกิดปัญหาว่างงานในหลายสาขาอาชีพและขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม อันเป็นโครงสร้างหลัก  แต่ขาดผู้คิดแก้ไขปัญหาจากภาครัฐบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ปัจจุบันไทยเปลี่ยนโครงสร้างไปเป็นสังคมอุตสาหกรรมและมีความต้องการแรงงานระดับอาชีวศึกษาอย่างมาก จากผลการศึกษาความต้องการกำลังคนของกลุ่มอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมขาดแคลนกำลังคนระดับกลางหรือระดับปฏิบัติการค่อนข้างมาก โดยเฉพาะผู้จบระดับ ปวช. และ ปวส. ซึ่งกว่าร้อยละ 75 ของผู้จบการศึกษาระดับนี้ เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี นอกจากนั้น ผู้จบการศึกษาใหม่ ยังไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงลักษณะงาน โดยสถานประกอบการส่วนใหญ่ ต้องฝึกอบรมต่ออีกอย่างน้อย 3-6 เดือน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาเพิ่มมากขึ้น สื่อให้เห็นถึงการขาดการวางแผนในการผลิตบุคลากรวัยทำงาน เพื่อเป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน

  ชัยเสฏฐ์   พรหมศรี (2550 )ชี้ว่า ศีลธรรมและจริยธรรมในการบริหารงานเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะการทำธุรกิจในปัจจุบันมุ่งเน้นเรื่องของความเป็นบรรษัทภิบาล (Corporate Governance)  และความโปร่งใสในการทำงาน (Transparency)  เพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่ความยั่งยืนสาเหตุหลักที่ทำให้การพัฒนาไม่เจริญ  เพราะการทำงานเพื่อส่วนรวมแต่ยังพิจารณาประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ยังเป็นสิ่งที่พบเห็นได้โดยทั่วไป  จะสร้างโรงงานรับซื้อยางพารา ซึ่งยางพาราส่วนใหญ่ปลูกอยู่ที่ภาคใต้ แต่ผู้มีอำนาจสร้างโรงงาน ต้องการสร้างที่ภาคเหนือ เพราะพิจารณาผลประโยชน์ที่ตนเองต้องได้รับเป็นหลัก สุดท้ายไม่สามารถสร้างได้ เพราะมีปัญหาค่าขนส่งและปัญหาอื่นอีกมาก เกษตรกรส่วนใหญ่เสียประโยชน์มหาศาลเพียงเพราะความเห็นแก่ตัวของผู้ที่มีอำนาจ

   กัญจนพร  พันธ์พัฒนกมล (2551)ให้ความเห็นว่าการค้นพบประโยชน์จาก“กระแสไฟฟ้า”ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของเทคโนโลยี กลายเป็นจุดเปลี่ยนของ “กระแสโลก” หรือ “โลกาภิวัตน์”  ยุคที่โลกสื่อสารไร้ขอบเขต วัฒนธรรมต่างชาติผสานกันเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม อิทธิพลและการชี้นำของชาติตะวันตกมีบทบาทกับสังคมไทย  คนมีการศึกษาและความรู้มากขึ้นแต่คุณธรรมลดลง ความแตกต่างระดับของสังคมมากตรงกับที่กิเลน  ประลองเชิง(2552)ให้นิยามไว้ว่า การศึกษาที่ให้ความฉลาด แต่ไม่มีสิ่งควบคุม ทำให้สัตว์โลกยุคใหม่ร้ายกาจ อันตรายยิ่งกว่าสัตว์โลกยุคดึกดำบรรพ์  ยิ่งเจริญยิ่งยุ่ง ยิ่งไร้สันติภาพ  ยิ่งมีไฟฟ้าใช้ จิตใจยิ่งมืดมน ยิ่งมีน้ำแข็งกิน จิตใจยิ่งร้อนรน ยิ่งมีคมนาคมสะดวกสบาย ยิ่งเต็มไปด้วยการจี้ปล้น  และอุบัติเหตุ ในยุคโลกาภิวัตน์พลเมืองของโลกมีวิธีปฏิบัติและค่านิยมร่วมกัน  เกิดการรวมตัวกันของผลประโยชน์และพันธกิจของค่านิยมและรสนิยม  สามารถสื่อสารกับคนทั่วโลกโดยง่าย เพราะมีภาษาของโลก คือภาษาอังกฤษและภาษาอื่น  มีเครื่องมือสื่อสารระดับโลกคือคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต   มี  4T  ที่ผลักดันเราเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็ว  คือ  Technology  โทรทัศน์ (Television)  การค้า (Trade)  และการเดินทาง (Travel)ตามที่ Michael  J.  Marguardt (2549)  กล่าวไว้

   บุญดี  บุญญากิจและคณะ (2549) ให้ความเห็นว่า โลกยุคปัจจุบันเป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge – Baser  Economy)  เศรษฐกิจอาศัยสร้างการกระจายและใช้ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อน   หลักการที่ทำให้เติบโต สร้างความมั่งคั่งและงานในอุตสาหกรรม  คือการสร้างความได้เปรียบด้านการผลิตโดยอาศัยสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Interfileassets) เช่น ความรู้  ทักษะ  ประสบการณ์  เทคโนโลยี  มากกว่าการใช้สินทรัพย์ที่จับต้องได้  (Tangible assets)  เช่น  อาคาร  เครื่องจักร  อุปกรณ์สำนักงาน  และใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativebased)  มากกว่าใช้ทุน  (Capital – based)  องค์ประกอบที่สำคัญ คือ  คน  เทคโนโลยี  และกระบวนการความรู้ (Knowledge Process) สอดคล้องกับความคิดของ สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2548) ชี้ว่า องค์การไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่เป็นองค์การแบบเสมือน (virtual organization) หรือองค์การแบบเครือข่าย (networked  organization) จะอยู่อย่างคงที่ไม่ได้  มีแนวโน้มเชื่อมโยงและถ่ายเทผ่านกันมากขึ้น  ต้องยกเลิกโครงสร้างเดิมแบบเน้นการบังคับบัญชาตามลำดับสายงาน และลดโครงสร้างแบบเน้นภารกิจตามหน้าที่ โดยแทนที่ด้วยโครงสร้างที่เน้นการบริหารแบบแนวนอนที่อยู่บนพื้นฐานของการทำธุรกิจได้ทั่วโลกและเน้นความสามารถขององค์กรในการปรับตัวได้อย่างต่อเนื่องทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เหล่านี้เป็นสิ่งใหม่ของสังคมไทยที่ต้องปรับตัวให้ทันยุคเพื่อความอยู่รอดในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคที่ต้องเน้นความรู้ ความชำนาญหรือทักษะเฉพาะตัวสูง   ยุคที่ต้องนำความรู้ที่มีมาประยุกต์ใช้เกิดประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

  อลงกรณ์ มีสุทธาและสมิต สัชฌุกร(2548) ชี้ว่าองค์การที่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนสามารถแข่งขันได้ ต้องเป็นองค์การที่มีผลสัมฤทธิ์สูง(High Performance Organization) ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกได้ทันเวลา  ด้วยการให้บริการและผลผลิตที่ผู้รับบริการหรือลูกค้าพอใจ  องค์การแบบนี้ต้องมีความยืดหยุ่น (Flexibility) สูง มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการ บุคลากรทุกระดับชั้น มีความรับผิดชอบ  เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  ทำให้คนในสังคมไทยสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง รังสรรค์  ธนะพรพันธ์  และ สมบูรณ์  ศิริประชัย (2528)กล่าวว่าการพึ่งพิง  หรือการพึ่งพา  คือ การที่ไม่สามารถยืนอยู่และไปยังจุดหมายที่ต้องการด้วยตนเองได้  ต้องอาศัยพึ่งพิงคนอื่น  โดยมีผลประโยชน์เป็นตัวกลางในการพิจารณาจะให้พึ่งพาหรือไม่  ส่วนวิจารณ์  พานิช (2549)ให้ความเห็นว่าความรู้ที่เป็นหัวใจของการจัดการความรู้  คือ  ความรู้ฝังลึก (Tacit  Knowledge)  ในคนหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน  เป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติและใช้ในการทำงาน  ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ที่มีหรือที่ได้ศึกษามา  ได้แก่  ความชัดเจนของทิศทางในการจัดการความรู้การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง  วัฒนธรรมเกื้อหนุนที่มีผู้ดูแลและบริหารการจัดการ  การสร้างแรงจูงใจให้บุคลากร  ระบบพื้นฐานที่ดี  และความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี นั่นคือความเห็นของ  ทิพวรรณ   หล่อสุวรรณรัตน์ (2549)

   การศึกษาเป็นกลไกที่ได้รับการยอมรับว่าช่วยพัฒนาและเสริมสร้างให้คนไทยเข้าใจ   รู้จักเลือกและประเมิน รวมทั้งนำข้อมูลไปใช้อย่างคนที่คิดเป็นและมีจิตสำนึก การเปลี่ยนผ่านการศึกษามีความจำเป็นที่จะนำไปสู่การแข่งขันเพื่อความอยู่รอด ในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ สามารถพัฒนาความรู้ของบุคคลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม เพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุน ลดระยะเวลาในการผลิตผลงานหรือผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของประชาชนไทยได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วนั่นคือสิ่งที่เป็นข้อมูลของการเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้(พ.ศ. 2552 )แท้จริงแล้วคนไทยนั้นมีความสามารถ ความเฉลียวฉลาดไม่แพ้ชาติอื่น จะเห็นได้ว่ามีผู้ที่สามารถประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ได้ มีภูมิปัญญาดั้งเดิม มีการยอมรับจากชาติที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เข้ามาเรียนรู้ เพี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท