สุขใจในทีม



การทำงานเป็นทีม

ทีม  คำนี้ข้าพเจ้าได้สัมผัสตั้งแต่เป็นเด็กนักเรียน

เมื่อนึกถึงทีมก็นึกถึงคนในทีม กิจกรรมในทีม จุดมุ่งหมายของทีม


งานจะสำเร็จได้ทั้งหัวหน้าทีมและสมาชิกทีมต้องมีความตระหนักในหน้าที่ของตน

เราเป็นใคร เรามีบทบาทอย่างไร

เราจะช่วยขับเคลื่อนงานของทีมให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไร

เมื่อมีการพูดคุยกัน เราได้ฟังคนอื่นพอหรือยัง

อัตตา ตัวตนของเราที่เรายึดติด ยึดถือมาทำให้ทีมขับเคลื่อนไปยากหรือเปล่า

เพราะความขัดแย้ง ความผิดพลาดเกิดในทีมได้เสมอเป็นเรื่องธรรมดา

อภัย ให้โอกาสตนเอง ให้โอกาสคนอื่นเพียงพอหรือยัง

ให้กำลังใจทีมมากน้อยแค่ไหน




จุดหมายของทีมนั้นสำคัญ

แต่ระหว่างการเดินทางถึงจุดหมายก็สำคัญไม่แพ้กัน

ทุกคนในทีมคือคนสำคัญ

มองตน มองคน มองโลกบวกไว้

มุ่งมั่น มั่นใจ อภัย เมตตา

เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้เรามีความสุขในทีม


ให้เวลา ให้ใจ

ในการทำงานเป็นทีม คงมีทั้งบรรยากาศ Team work  และ Team weak

เพียงเราเข้าใจในธรรมชาตินี้ ช่วงที่ Team weak ประคับประคองใจ ให้กำลังใจกันก่อนแล้วร่วมวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน งานทุกอย่างย่อมมีปัญหาเป็นธรรมดา

 ไม่เอาเป็นเอาตายกับงานจนลืมคน

ข้าพเจ้าเชื่อว่าบรรยากาศในทีมคงผ่อนคลายและทีมสามารถเดินไปข้างหน้าได้

มีเรา… มีทีม… มีสุข




ข้าพเจ้าเองก็เป็นส่วนหนึ่งของทีม

ขอยกตัวอย่างทีมการทำงาน Clinical  Lead  Team ทีมนำจิตเวชที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ข้าพเจ้าทำงานอยู่

ทีมนำจิตเวชนี้เรามีหัวเรือใหญ่เป็นอาจารย์หมอ หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์มข.

สมาชิกทีมคือจิตแพทย์ พยาบาลและบุคลากรในหอผู้ป่วยจิตเวช พยาบาลและบุคลากรในห้องตรวจจิตเวช นักจิตยา นักกิจกรรมบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกร

เรามีกิจกรรมร่วมกันหลายกิจกรรม

เช่นการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชทุกเดือน บางแห่งที่ไปได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นPCU




มีการทำDischarge  Planing ร่วมกันทุกบ่ายวันอังคาร เตรียมcase ให้ดีก่อนจะกลับบ้าน เตรียมผู้ป่วย  เตรียมครอบครัว สกัดปัญหาที่จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบออกให้มากที่สุด

ทำKardex  round ร่วมกันทุกวันพุธเช้า conference เรื่อง case ผู้ป่วยในward จิตเวชทุกรายที่กำลังนอนรักษา

การทำcase conference ร่วมกันทุกบ่ายวันพฤหัสบดี นำcase ที่น่าสนใจหรือซับซ้อนมาเรียนรู้ หาแนวทางช่วยเหลือร่วมกัน

ทั้งแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา มีการมาทำกลุ่มบำบัดที่หอผู้ป่วยหมุนเวียนสลับกันไปกับกลุ่มที่พยาบาลของward ทำประจำยู่แล้ว

แต่ละเดือนมีการประชุม พิจารณา วางแผน ประเมินผลงานที่ทำร่วมกันซึ่งก็คืองานการดูแลผู้ป่วย


ผู้ป่วยจิตเวชที่นี่ก็เช่นเดียวกันกับหลายๆแห่งได้รับการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ เกาะติดปัญหา ส่งเสริม  ป้องกัน  ดูแล รักษา ฟื้นฟูสุขภาพทั้งกายจิต สังคม

งานทีทำมีความต่อเนื่อง ทุกกิจกรรมทำมาเกือบ20ปีแล้วตั้งแต่เปิดตึกจิตเวชที่นี่

คนทำงานมีความรัก สนิทสนม คุ้นเคยกัน เจอะหน้าก็เห็นรอยยิ้ม บรรยากาศผ่อนคลาย




หลักการทำงานในทีมนำจิตเวช ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าคิดว่า การทำงานเป็นทีมที่นี่ มีรูปแบบ ระบบที่วางไว้ชัดเจน คนมาทำงานต่อมีความต่อเนื่อง มีความสม่ำเสมอในการทำงาน

ผู้นำทีมมีความมุ่งมั่น ฟันฝ่าอุปสรรค ครองใจทีมด้วยน้ำใจ เปิดใจกว้าง มีความเข้าใจบริบทของแต่ละหน่วยงานที่เข้ามาร่วมงานเป็นทีม ยืดหยุ่น ทีมเองก็ให้ความสำคัญกับงานนี้ เอื้ออาทรกัน อยู่กันแบบพี่น้อง พร้อมจะลุยงาน

ที่สำคัญมีความ ต่อเนื่อง  เชื่อมโยง พร้อมจะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้งานพัฒนา

เป็นอีกประสบการณ์และความรู้สึกเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมในมุมมองของข้าพเจ้า


หมายเลขบันทึก: 535857เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2013 05:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2013 06:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

หลายอย่างหลายขั้นตอนต้องเกีี่ยวพันต่อเนื่องกันทั้งนั้น การทำงานเป็นทีมจึงสำคัญมากเพื่อให้งานออกมาดีด้วยนะคะ ชอบมากค่ะ อยู่กันแบบพี่น้องเอื้ออาทรต่อกัน มีความรู้สึกกันอย่างนี้ถึงจะเหนื่อยมีปัญหาก็จะผ่านไปด้วยดี และมีความสุขในการทำงานนะคะ

อ่านแล้วก็ดีใจแทนผู้ป่วย ด้วยครับ

การทำงานเป็นทีม : สามัคคีคือพลัง จ้ะ 

ขอบคุณค่ะพี่ดา

อบอุ่น ผ่อนคลาย  บรรยากาศองค์กรเอื้อต่อการทำงานมากค่ะพี่ดา

ขอบคุณค่ะคุณพ.แจ่มจำรัส

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณมะเดื่อ

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ดร.จันทวรรณ

พี่อิงจันทร์

พี่นงนาท

คุณTawandin

และคุณอักขณิชค่ะ

ดีจังค่ะ พี่อุ้ม ต้องเอาเป็นแบบอย่าง

ขอบคุณค่ะน้องติกน้ำ 

รู้สึกประทับใจในทีมCLT.ศัลย์เช่นกันค่ะ ติดตามผลงานเสมอๆ ชื่นชมค่ะ

หลายอย่างต้องอาศัยทีมค่ะ เราทำคนเดียวไม่ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท