Fareeda
รอ.หญิง เบญจมาภรณ์ Fareeda Hua-jiem

ระหว่างความชอบกับความถูกต้อง คุณจะเลือกอะไรกัน


             ดิฉันเชื่อเหลือเกินว่าใครหลายคนย่อมมีความคิด ความเห็นในเรื่องดังกล่าวที่แตกต่างกันออกไป  ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับสภาพของการรับรู้ของสภาวะจิต ณ ขณะนั้นว่าสิ่งเหล่านั้นจะมีผลต่อเราอย่างไร มีผลดี ผลเสีย ต่อเรามากน้อยเพียงใด คุณว่าสิ่งที่ดิฉันพูดนี้ ถูกต้องหรือไม่  บางครั้งในหลายๆสถานการณ์ที่ต้องพบเจอในแต่ละวัน ล้วนมีสิ่งต่างๆมากมายที่ทำให้ต้องคิด พิจารณา ตรึกตรอง ทบทวน ทำให้ต้องตัดสินใจ เพื่อการก้าวเดินต่อในจังหวะการดำเนินชีวิตให้อยู่รอดในสังคมที่มีการปรวนแปร และผันปรวนอยู่ตลอด โดยสิ่งเร้าที่มากระทบหรือปัญหาที่เกิดขึ้น ล้วนแต่มีมูลเหตุอันก่อให้เกิดขึ้น  และมีการดำเนินไป ต่อมามีการประเมิน ตรวจสอบสิ่งที่ผ่านมา เพื่อการดำรงต่อหรือการหยุด เลิกล้มไป ตามแต่มูลเหตุและครรลองคลองธรรมของสิ่งนั้นๆ

             แน่นอนที่สุดว่าสิ่งต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีทั้งสิ่งที่พอใจ ถูกใจ สมหวัง ผิดหวัง ขัดใจ ขัดแย้ง หรือแม้แต่บางครั้งอาจเกิดการลังเล ขอรอดูสถานการณ์ก่อน โดยสิ่งนั้นต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ตนตามมาก้อว่าได้  แต่อย่างไรก้อตามดิฉันกลับมองว่า สังคม ณ ตอนนี้ย่อมมีความต้องการบุคคนที่เลือกเอาความถูกต้องมาก่อนการชอบใจ ซึ่งก้อคือ สังคมต้องการผู้ที่มีธรรมะในจิตใจ เพื่อความปกติสุขในสังคม ลดปัญหาความขัดแย้ง การเอารัดเอาเปรียบ การขดโกง การนำเอาหลักการธรรมาภิบาล และจริยธรรมเข้ามาใช้ในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน ไม่ได้มากก้อน้อยสามารถทำให้ปัญหาต่างๆลดน้อยลงเพราะดังจะเห็นว่าแนวทางในการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ หรือแม้แต่จรรยาบรรณต่างๆ ล้วนมีรากฐานของการกำเนิดเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของสังคม บ้านเมือง ประเทศชาติ ซึ่งในหน่วยของระบบเครือข่ายเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก้อจำเป็นในการนำเอาแนวทางดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ด้วย

              ตัวแปรที่สำคัญ ที่สามารถบ่งชี้หรือบ่งบอกให้เห็นภาพลักษณ์ของสังคมนั้นๆว่ามีปัญหาหรือไม่ สามารถรับรู้ได้จากความเข้มแข็งของหน่วยย่อยๆ หรือจากโครงสร้างหรือรากฐานทางสังคม ว่ามีความแข็งแกร่งหรือสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด ตรงไหนที่ยังเป็นจุดอ่อน หรือจุดบกพร่อง หรือข้อด้อย ควรแก่การปรับปรุง เพื่อการพัฒนา โดยต้องให้ทุกคนในสังคมมองเห็นความสำคัญของปัญหาร่วมกัน ร่วมมือในการฟันฝ่าวิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นด้วยใจที่หนักแน่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม ดิฉันจึงต้องการที่จะส่งเสริมการมีหลักธรรมาภิบาล หลักจริยธรรมในทุกทีทุกแห่งของสังคม ที่ดิฉันได้มีโอกาสสนับสนุนได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นอาจจะได้ผลเกินคาดหรือได้ผลเพียงเล็กน้อยหรือแม้แต่ผลที่ได้รับมองไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ดิฉันรู้สึกได้คือ ดิฉันทำดีที่สุดแล้วเพื่อการเป็นกลไกหนึ่งที่จะสามารถนำพา ผลักดันให้สังคม สังคมหนึ่ง หรือในอีกหลายๆสังคม สามารถดำเนินต่อไปบนหลักการที่ถูกต้องเหมาะสม มากกว่าสังคมที่เต็มไปด้วยความชอบใจอยู่เหนือความถูกต้องก้อตามที.... ขอขอบคุณที่รับฟัง และร่วมรับรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยกันมาตลอดค่ะ  ^_^  Sherry :)

หมายเลขบันทึก: 535769เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2013 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2013 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เลือกสองข้อได้ไหมครับ

555 ทั้งชอบและถูกต้อง

ปกติชอบความถูกต้องมากกว่า

สบายดีไหมครับ รออ่านบันทึกนานมาก เข้าใจว่างานยุ่งๆนะครับ

@คุณขจิต    ---  ค่ะ  ขอโทษด้วยช่วงนี้ยุ่งยิ้งหลายเรื่องค่ะ กะว่าจะเริ่มทำวิจัยแต่ยังหาข้อสรุปให้กับตัวเองไม่ได้ หนูเห็นพี่มีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพชุมชนด้วย  พี่ทำแนวไหนน่ะค่ะ  เผื่อเป็นแนวที่หนูสนใจน่ะค่ะ   ขอบคุณน่ะค่ะที่ติดตามและให้กำลังใจ  แต่หนูว่าพี่ต้องเลือกข้อใดข้อหนึ่งอย่าเลือกทั้งสองเลย  เพราะอาจทำให้ลำบากใจในภายภาคหน้าน่ะค่ะ   อิอิอิ  ขอบคุณมากค่ะ   ^_^  

ทำเรื่อง Humanized Health Care แต่ไม่ได้ชำนาญอะไร เพราะงานที่ทำเป็นงานสอนภาษาอังกฤษครับ

พอดีชอบเรื่องวิทยากรกระบวนการ  ขอบคุณครับ

ความชอบธรรม (legitimacy) กับความถูกต้อง (right) กับความยุติธรรม (justice) ความหมายใกล้ ๆ กัน ต่างกันในมิติต่าง ๆ

ตรงกับรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ หลัก "นิติธรรม" (the rule of law) ตามมาตรา ๓ วรรคสอง (ไม่ใช่หลักนิติรัฐ)

อันมีหลักธรรมาภิบาล (good governance) มาตรา ๗๔

โดยมีหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ มาตรา ๗๘(๔)

ปัจจุบันมี CSR-Corporate Social Responsibility หรือเรียกว่า "บรรษัทภิบาล" ในภาคเอกชน เหมือนกับ "ธรรมาภิบาล" หรือ "ธรรมรัฐ"

"ปัญหาและข้อจำกัดของหลักนิติธรรมในสังคมไทย : วิพากษ์แนวสิทธิมนุษยชน."
http://www.gotoknow.org/posts/460308


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท