ผักก้านจอง หรือ ตาลปัตรฤาษี


ผักพื้นบ้าน บางอย่างถ้าไม่อนุรักษ์ไว้ สักวันคงไม่หลงเหลือ

วันนี้วันศุกร์  นั่งเคลียร์งานตั้งแต่เช้า  เสร็จแล้วนึกงัยไม่รู้ถึงมานั่งเปิดดูรูปเก่าๆ ในกล้องที่ถ่ายเก็บไว้  เห็นรูปผักชนิดหนึ่ง  ที่แม่นำมาลวกจิ้มน้ำพริกกะปิ   คิดว่าแปลกดี  เพราะเด็กสมัยนี้หลายคนไม่รู้จักแล้ว  และเห็นแม่บอกว่าหาเก็บยากขึ้น  เลยขอเก็บมาไว้ในบันทึกของตัวเองซะก่อน   แม่เรียกผักนี้ว่า  "ดอระดัด"   ค่ะ  5555  ไม่รู้ว่าที่อื่นเค้าเรียกว่างัยบ้าง  เพราะถามจากพี่ๆ น้องๆ ที่ทำงาน  ตอบคนละชื่อเลย  บ้างก็เรียก  ผักก้านจ้อน (ช้อน) , ผักก้านจอง  และผักพาย

นั่งหาข้อมูลใน Google ผู้รู้ของเราซะหน่อย  เริ่มจากคำว่า  "ดอระดัด"  ไม่มีข้อมูลซะงั้น 555   นั่งไล่ไปทีละชื่อ  ในที่สุดก็เจอข้อมูลที่ำคำว่า "ผักก้านจอง"  ดูแล้วน่าจะยังไม่ใช่ชื่อที่เป็นทางการ  เพราะเรียกหลากหลายมาก  จนได้ชื่อ "ตาลปัตรฤาษี"  ใน  วิกิพีเดีย  น่าจะเป็นชื่อทางการสุด  



มาดูหน้าตาของผักสารพัดชื่อนี้ดีกว่าค่ะ







ตาลปัตรฤๅษี (ชื่อวิทยาศาสตร์Limnocharis flava (L.) Buchenau) หรือ ผักพาย หรือ ผักต้นจอง ของอีสาน มีชื่อพื้นเมืองอื่นได้แก่ บอนจีน นางกวัก หรือ ตาลปัตรยายชี เป็นไม้น้ำ   พบบริเวณนาข้าว และบริเวณที่มีน้ำขัง ลำต้นเหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น บางครั้งมีไหลสั้น ๆ จำนวนมาก







ตาลปัตรฤาษี  ดอกเป็นดอกช่อแบบร่ม มีดอกย่อย 7-10 ดอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อนหลุดร่วงง่ายเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกย่อย ประมาณ 1.5 ซม.







แม่เก็บมาจากบริเวณทุ่งนา  ถ้าจำไม่ผิดน่าจะประมาณช่วงเดือนมกราคม  แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันนะค่ะว่าผักชนิดนี้มันออกฤดูไหนบ้าง  สามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่างค่ะ  ทั้งลวก   ผัดน้ำมันหอย  จิ้มน้ำพริก แกงส้ม หรือจะกินแบบสดๆ ก็ได้  จะมีรสขมนิดหน่อย  ไม่ขมมากนะค่ะ  







เมนูของแม่  คือ "ลวก"  จิ้มกะน้ำพริกกะปิค่ะ  รสชาติดีทีเดียว  (ลวกแล้วหน้าตาเป็นแบบที่เห็น)





รูปท้ายสุดนี้  นำมาจากอินเตอร์เน็ตค่ะ   ลักษณะลำต้นของผักชนิดนี้  

ใบเป็นใบเดี่ยว รูปร่างกลมรี ยาว 15-18 ซม. กว้าง 12 ซม.

มีก้านใบงอกยื่นอยู่เหนือผิวน้ำก้านใบยาวประมาณ 30 ซม. ก้านใบสีเขียวอ่อนเป็นเหลี่ยม แผ่นใบใหญ่และแผ่นคล้ายใบตาลปัตร 



คุณค่าทางอาหาร

ผักตาลปัตรฤๅษี 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 14 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 0.8 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 501 ไมโครกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.08 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม


เป็นงัยบ้าง.......พอจะนึกออกหรือยังว่าที่บ้านท่านผู้อ่านเรียกชื่อผักชนิดนี้ว่าอะไรจะเรียกตรงกันหรือเปล่าเอ่ย ??????? 

แล้วพบกันใหม่ค่ะ
กอหญ้า.....

ขอบคุณข้อมูล จาก วิกิพีเดีย  และภาพสุดท้ายของบันทึกจากอินเตอร์เน็ตค่ะ  

หมายเลขบันทึก: 534666เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2013 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2013 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

แปลกใหม่สำหรับพี่ดาเลยค่ะ ดีจังไว้พี่ดาพบจะนำมาลวกจิ้มน้ำพริกดูบ้าง ขอบคุณมากนะคะ

    ไม่รู้จักเลย ค่ะ  ขอบคุณที่นำมาแนะนำค่ะ

กอหญ้า.. หายไปนานเหมอืนกันนะคะ

เคยเห็นผักนี้จะมีขายตามตลาดค่ะ ในศูนย์การค้าไม่มีค่ะ

ดูอวบๆ น่าทานนะคะ แต่ก็ยังไม่เคยลองทานค่ะ

ขอบคุณนะคะ

ที่บ้าน อีสาน ก็เรียก ผักก้านจอง ครับ

น่าจิ้มน้ำพริกเนาะ

-สวัสดีครับ

-ชอบ ๆ "ดอระดัด" ลวกจิ้มน้ำพริกลำขนาดเ้ด้อพี่สาว...

-กิ๋นข้าวนักล้ำระวังอ้วนเน้อ....

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลและฮื้อระลึกถึงความหลังครั้งเยาว์วัยคร๊าบ!!!!

เพิ่งรู้ว่าดอกสีเหลือง ขอบคุณบันทึกดีๆค่ะ

ไม่ทานเลยค่ะ  แต่คุณแม่และทุกๆ คนชอบทาน

คล้ายผักตบชวานะคะ   แต่ดอกผักตบชวาสีม่วง   

เคยเห็นอยู่จ้ะ  แต่ยังไม่เคยรับประทาน

อุดร เรียก ผักก้านจองค่ะ  ลวกอร่อย  กินสด ๆ กับส้มตำก็อร่อยค่ะ

ใส่ใน "ตำป่า"  แซ่บอีหลี ค่ะ

ยังไม่เคยทานเลยค่ะ จะมีแถวไหนบ้านเรา 

น่าสนใจในผักหาดูยากนี้..ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

สวัสดีค่ะ

- พี่ดา  เจอเมื่อไหร่อย่าลืมบอกกันนะค่ะ  

- คุณครูทิพย์  ยินดีค่ะที่ได้นำผักพื้นบ้านท้องถิ่นมาแบ่งปัน

- คุณ Bright Lily ไม่ได้หายไปไหนค่ะ นานๆ จะเขียนบันทึกสักครั้ง  แต่ก็เข้าๆ ออกๆ บ้านโกทูโนบ่อยๆ ค่ะ บางครั้งก็ไม่ได้ทิ้่งร่องรอยไว้ค่ะ  ถ้าเจออีกแนะนำให้ลองหาซื้อไปทานนะค่ะ

- คุณ พ.แจ่มจำรัส  แถวเหนือส่วนใหญ่เรียก ผักก้านจ้อน  อีสานเรียก ผักก้านจอง  เพี้ยนกันนิดหน่อยนะค่ะ

- คุณ เพชรน้ำหนึ่ง  "ดอระดัด" คงจะเรียกเฉพาะในหมู่บ้านเรา 555 ที่อื่นเ้้ค้าไม่รู้จักชื่อนี้เลย  

- คุณ ใบบุญ  ถ้าบานดอกสีเหลือง ค่ะ  แต่นิยมเก็บมากินตอนดอกยังไม่บาน

- คุณ บังวอญ่า  ภาคใต้ เรียกผักตบเหลี่ยม  ขอบคุณค่ะ

- คุณ For You  ลองทานดูนะค่ะ รับรองจะติดใจ อิอิ

- คุณลูกหมู  ไว้กลับบ้านลำปาง ลองมาทานดูนะค่ะ

- คุณครูดาหลา  ลักษณะต้นและใบคล้ายผักตบชวา ค่ะ  

- คุณมะเดื่อ  ไว้ลองทานดูนะค่ะ  

- คุณหมอธิรัมภา   "ตำป่า" เหมือนส้มตำหรือเปล่าค่ะ  แต่ดูแล้วคงจะแซบหลายค่ะ

- คุณครูตูม  มันจะขึ้นเองตามธรรมชาติค่ะ  แถวๆ ทุ่งนาที่มีน้ำหน่อยๆ เชียงใหม่ก็น่าจะมีค่ะ

- คุณพี่ใหญ่  ยินดีค่ะที่ได้นำมาแบ่งปัน

ขอบคุณทุกท่านที่เยี่ยมชมพร้อมความรู้แลกเปลี่ยน และขอบคุณทุกกำลังใจที่ให้ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท