สว.อังกฤษ มาจากสายเลือด ตลอดชีวิต (ตลกเศร้ามองโกเลีย..ตอน ๒)


สว.อังกฤษ มาจากสายเลือด ตลอดชีวิต  (ตลกเศร้ามองโกเลีย..ตอน ๒) 

พอดีมีตลกปราศรัยของนายกปูจากมองโกเลียมากระตุก ก็เลยระลึกได้ว่าผมเขียนเรื่องนี้มาได้หลายปีแล้ว

ท่านรู้ไม่ว่า อังกฤษนั้นมี “สภาไพร่”  กับ “สภาเจ้า”  (house of commons และ  house of lords)  สภาไพร่มาจากการเลือกตั้ง  สภาเจ้านั้นเป็นโดยสายเลือด เช่น กษัตริย์  หม่อมทั้งหลาย และเจ้าครองแว่นแคว้นทั้งหลาย  (ดยุค บารอน เอิร์ล  ต่างๆ)  รวมทั้ง “พระ”  (เฮ่ย พระ  ไม่ได้พิมพ์ผิดนะ  ) 

เพิ่งมาปฏิรูปกันเมื่อไม่นานปีนี้ (สัก ๒๐ ปีที่แล้ว)  ให้ลดจำนวนเจ้าลงไป  โดยให้มีการ “แต่งตั้ง”  จากคนธรรมดาขึ้นมาทดแทน

แสดงว่าวันนี้ สภาเจ้าอังกฤษ (อุปมาวุฒิสภาไทย)  ยังมีการ “สืบทอด”  โดยสายเลือด  โดยตำแหน่ง (เช่น พระอาร์คบิชอป)  กับการสรรหาแต่งตั้ง เท่านั้น  โดยไม่มีการเลือกตั้งเลย ทั้งที่เขาเป็นต้นตำรับ ปชต. โลก  ทีไทย และ ประเทศทั่วโลกไปลอกมา

ส่วนไทยว่าไปแล้วยังเป็น ปชต. มากกว่าอังกฤษเสียอีก  เพราะสว. เรามาจากเลือกตั้ง กับ สรรหา เท่านั้น  ไม่มีการสืบทอดโดยสายเลือด  ซึ่งก็ทราบกันดีว่าการจะได้รับเลือกตั้งเป็นสว. นั้น ต้องเป็นลูกน้อง สส. จึงจะได้รับเลือก ไม่เช่นนั้นก็เป็นได้แค่ สว. สอบตก

ถ้าไม่เป็นลูกน้อง สส. ก็ต้องเป็น เมียหลวง หรือเมียน้อย  ...จึงได้รับฉายาว่า  “สภาผัวเมีย”  ก็สมแล้ว (คนตั้งชื่อนี้ก็เก่งนะ )  บางคนเรียก “สภาทาส”  (เพราะต้องเป็นทาสเขาจึงจะได้คะแนนเสียงของเขา) 

เทียบไทยกับอังกฤษแล้ว นางยิ่งลักษณ์ ยังกล้าอ้าปากพูดว่า...ไทยเราไม่เป็นปชต. เพราะว่าที่มา สว. หรือองค์กรอิสระ ไม่ได้มาจากเสียงข้างมากอีกหรือ  ..ก็ให้อภัยเพราะเธอ และผู้เขียนบทให้เธอ คงไม่รู้  ก็อานสคริปต์กันไป  ...กลายเป็นตัวตลกโลก ยกเว้นพวกไม่เก็ทมุก หรือ เก็ทแต่แกล้งทำเป็นไม่เก็ทด้วยฤทธิ์เงิน ก็ว่ากันไป แบบตลก(แดก)การเมืองไทย

ผมเสนอมา ๒๐ กว่าปีแล้วว่าการเมืองไทยนั้นจะดีขึ้น ถ้าให้สส. มาจากเลือกตั้ง ส่วนสว. มาจากตำแหน่ง และสรรหา (ซึ่งมาตรงกับระบบอังกฤษโดยตรง โดยที่ผมไม่รู้มาก่อนด้วยซ้ำ)  เพื่อคานอำนาจกันอย่างแท้จริงไง  ...การมาจากตำแหน่งและสรรหา นี้ผมวิจารณ์ไว้แล้วว่ามันเป็นปชต. ทางอ้อม  ที่จริงแท้ถูกต้องกว่าปชต.ทางตรงเสียอีก  (เลือกตั้ง) 

การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของรัฐสภานั้น ให้สส. อภิปราย (อุปมาทนาย)  ส่วนการลงคะแนนให้ สว. ในระบบนี้เท่านั้นมีสิทธิโหวต  อุปมากับการตัดสินความด้วยคณะลูกขุน  (trial by jury)   (ซึ่งเมืองไทยยังไม่มีระบบนี้)

แต่ถ้าอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบปัจจุบันนี้ อภิปรายกี่ครั้งฝ่ายรัฐบาล (ถ้าหน้าด้านซะอย่าง) ก็ชนะเสนอ เพราะครองเสียงข้างมาก และบังคับการโหวตได้  ...แล้วจะอภิปรายไปทำหอกให้เสียเวลาทำไม  แล้วนิติบัญญัติมันจะคานอำนาจบริหาร ตามปรัชญาของมองเตสกิเออร์ (Montesquieu) ทฤษฎีพี้นฐานของการคานอำนาจ ได้อย่างไร ???

บัดนี้นางปูยังมาทำตลกโลกจะเอาศาลมาปรองดองกับบริหารอีกเสียด้วย  สวยแน่คราวนี้

...คนถางทาง (๓ พค. ๒๕๕๖) 


หมายเลขบันทึก: 534647เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2013 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2013 08:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท