รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

จัดตั้ง "ศูนย์เพาะเลี้ยงแตนเบียนบราคอน" ที่โรงเรียนบ้านพุตะแบก


       วันศุกร์ ที่ ๒๖  เมษายน  ได้มีโอกาสร่วมสัมมนา  การอบรมให้ความรู้การเพาะเลี้ยงแตนเบียนบราคอน กำจัดหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าว ซึ่งยังเป็นปัญหาใหญ่ของชาวสวนมะพร้าว อำเภอทับสะแก ดังที่ผู้เขียนเคยนำเสนอไปแล้วที่บันทึก เปิดกล่องชอล์กบอกรักแตนเบียน  

       การอบรมในครั้งนี้ เป็นการจัดอบรมโดยโรงเรียนบ้านพุตะแบก  ร่วมกับ กฟผ. เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่อง ศัตรูมะพร้าว ที่ระบาดหนัก ทำให้มะพร้าวยืนต้นตาย เป็นการปลุกจิตสำนึกให้ เกษตรกร มีความรักและหวงแหน "มะพร้าว..ทับสะแก"  ซึ่งเป็นมะพร้าวคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย วิทยากรที่ให้ความรู้ คือ ผอ.เฌอมาร์ศ  ลูกอินทร์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพุตะแบก  และนายสุชาติ วงษ์เณร  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก และปราชญ์ชาวบ้านอีก ส่วนหนึ่ง   ซึ่งคุณสุชาติได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องการ ต่อสู้กับศัตรูมะพร้าว คือ หนอนหัวดำนี้อย่างไรบ้าง และ เปรียบเทียบให้เห็นถึงวิธีการกำจัดหนอนหัวดำด้วยวิธีธรรมชาติ คือให้ แตนเบียนบราคอนเป็นผู้กำจัด  กับ  การใช้สารเคมี  ว่ามีผลดีผลเสียอย่างไรบ้าง และท้ายที่สุด ก็ขอประชามติ   จัดทำแหล่งเีรียนรู้ชุมชน  คือจัดตั้ง "ศูนย์เพาะเลี้ยงแตนเบียนบราคอน" ขึ้น  ณ  โรงเรียนบ้านพุตะแบก  โดย กฟอ. เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนด้านงบประมาณ



      การได้ร่วมวงสนทนาในครั้งนี้  แม้ว่าวิทยากรจะมิได้บรรยายถึงปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่เกิดจากหน่วยเหนือมากนัก  แต่ฉันก็สัมผัสได้ว่า การจัดลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหา ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังให้ความสำคัญน้อย ไม่จริงจัง   ทั้ง ๆ ที่ สามารถทำได้โดยใช้งบประมาณไม่มาก ชนิด  พันล้าน  หมื่นล้าน.........เอ๊ะ...หรือว่า เพราะงบประมาณมันน้อยไปจึงไม่น่าสนใจ ......ดังนั้นสิ่งที่ สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก ทำได้ในขณะนี้ และทำได้ดีที่สุด เห็นจะเป็น การปลุกจิตสำนึกให้เกษตรกรเกิดความรักและหวงแหน อนุรักษ์ "มะพร้าวทับสะแก" ให้อยู่คู่ชาวทับสะแกไปจนชั่วลูกชัวหลาน และจัดการกับปัญหาด้วยตัวเอง โดยใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็น โดยใช้วิธีธรรมชาติ  แม้จะช้า แต่ก็ยั่งยืน  

จากการร่วมวงสนทนาในครั้งนี้ มีสิ่งที่ผู้เขียนประทับใจอีก 1 เรื่อง คือวิทยากรได้เล่าให้ฟังว่า  เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์พันธุ์มะพร้าว เพื่อนำไปปลูกที่โครงการ "ชั่งหัวมัน"  ทั้ง ๆ ที่มะพร้าวมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย แต่พระองค์ทรงเลือก "พันธุ์มะพร้าวที่อำเภอทับสะแก"  นั่นไม่ใช่สิ่งที่น่าภาคภูมิใจของเกษตรกรสวนมะพร้าว อำเภอทับสะแกหรอกหรือ  เพราะฉะนั้น....จงมาช่วยกัน อนุรักษ์สวนมะพร้าวของเราเอาไว้เถิด  อย่ายอมแพ้ศัตรูตัวเล็กอย่าง หนอนหัวดำ 


 

         และ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา นายเพชร ธรรมรงค์แดง ประธานกลุ่มพัฒนาทับสะแก   นายชวัล  ฝันเชียร หัวหน้ากองแผนกลยุทธ    ฝ่ายชุมชนสัมพันธโครงการ และคณะ ได้เข้าร่วมประชุม กับคณะกรรมการโรงเรียนบ้านพุตะแบก พร้อมกับ มอบงบประมาณสนับสนุนซ่อมแซมหลังคาอาคารเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท  เพราะเล็งเห็นแล้วว่า  หลังคาอาคารเรียนของโรงเรียนอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก สมควรซ่อมแซม มิสามารถรองบประมาณจากหน่วยเหนือได้ ทางโรงเรียนขอขอบพระคุณ กฟผ. ไว้ ณ โอกาสนี้เป็นอย่างสูง


หมายเลขบันทึก: 534084เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2013 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

-สวัสดีครับ

-เป็นโครงการที่ดีมาก ๆ ครับ

-อำเภอพรานกระต่ายมีศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน...เรียนรู้เกี่ยวกับเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง มีวิทยากรเกษตรกรเก่ง ๆ หลายท่านครับ



         มาชื่นชม  ให้กำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะคุณเพชร

  • เรื่องศัตรูต้นมะพร้าว เป็นเรื่องใหญ่มากค่ะ  เพราะมะพร้าวเป็นไม้ยืนต้น
  • ต่างจากมันสำปะหลัง ที่เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว  ศัตรูของมันก็จะหมดไปด้วย 
  • แต่มะพร้าวไม่เป็นเช่นนั้นค่ะ จึงเป็นเรื่องยากมาก ๆ 

พี่ตาลลลลลลลลลลลลลลล จริงเหรอคะ ที่เราได้งบมาซ่อมอาคารอ่ะ ดีใจอ่ะ ซ่อมช่วงไหนบอกด้วยนะคะ จะแอบไปดูหนุ่มก่อสร้าง 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท