ถ้อยแถลงฝ่ายไทย กรณีเขาพระวิหาร 2556


อ่านฉบับเต็ม "ทูตวีรชัย" แถลงด้วยวาจาต่อศาลโลกคดีพระวิหาร

เปิดถ้อยแถลงฝ่ายไทย โดยวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำเนเธอร์แลนด์ แถลงด้วยวาจาต่อศาลโลก คดีพิพาทพระวิหาร กับฝ่ายกัมพูชา ผู้ร้อง เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2556
  1. ประเทศไทยเชื่อในการอยู่อย่างสันติสุขและความมั่งคั่งกับประเทศเพื่อนบ้าน อนาคตของไทยและกัมพูชาเชื่อมผสานกัน เรื่องเขตแดนไม่แบ่งแยก แต่เป็นโอกาสสำหรับความร่วมมือและการพัฒนาร่วมกัน ในการนี้ ประเทศไทยตกลงในกระบวนการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมภายใต้บันทึกความเข้าใจเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเพื่อการกำหนดเส้นเขตแดน มิใช่เป็นกระบวนการทางยุติธรรมครอบคลุมถึงพื้นที่ซึ่งกัมพูชาอ้างในปัจจุบันด้วย รัฐบาลไทยมีความเคารพต่อศาลเสมอ และประเทศไทยก็ปฏิบัติตามคำพิพากษา ซึ่งได้รับการยอมรับแล้วโดยประมุขของกัมพูชาในสมัยนั้นซึ่งเสด็จปราสาทไม่นานหลังจากนั้น แต่ 50 ปีผ่านไป กัมพูชากลับมาขอโดยแฝงในคำขอตีความให้ศาลให้ในสิ่งที่ศาลได้ปฏิเสธอย่างชัดแจ้ง
  2. คำฟ้องของกัมพูชาเป็นการใช้กระบวนการคดีในทางที่ผิดและไม่เคารพศาล เพราะคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ชัดเจน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2505  ไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้วและกัมพูชาก็ยอมรับ แต่ครึ่งศตวรรษหลังจากนั้น กัมพูชากลับมาต่อหน้าศาลเพื่อท้าทายความหมายและขอบเขตของคำพิพากษา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนท่าทีอย่างสลับขั้ว และมีวัตถุประสงค์เพื่อขอในสิ่งที่ศาลได้ปฏิเสธแล้วในปี 2505  กล่าวคือคำพิพากษาเกี่ยวกับเส้นเขตแดนและสถานะทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งคำขอกัมพูชาไม่อาจรับไว้พิจารณาได้ภายใต้ข้อ 60 ของธรรมนูญศาลว่าด้วยกระบวนการตีความ เพราะองค์ประกอบของอำนาจศาลภายใต้ข้อนี้ไม่ครบ
  3. ข้อพิพาทปัจจุบันเกิดจากการเรียกร้องดินแดนใหม่ของกัมพูชา เพื่อยื่นเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวกับคดีเดิมซึ่งเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือปราสาทซึ่งได้รับ ปฏิบัติแล้วทันทีภายหลังจากการมีคำพิพากษา โดยมติคณะรัฐมนตรีได้กำหนดขอบเขตบริเวณใกล้เคียงปราสาท โดยมีการสร้างรั้วและป้าย และเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2505 ไทยก็ได้คืนปราสาทให้กัมพูชาพร้อมถอนกำลังทหารออกจากบริเวณนั้น  ซึ่งถือว่ากัมพูชาได้ในสิ่งที่ตนขอในคำขอเมื่อปี 2502 กล่าวคืออธิปไตยเหนือปราสาท และการถอนกำลังทหารออกจากที่ดินผืนหนึ่งบนดินแดนกัมพูชาซึ่งเรียกว่าบริเวณ สิ่งหักพังของปราสาท และกัมพูชาได้แสดงความพึงพอใจโดยหัวหน้าทางการทูตของกัมพูชาต่อหน้าที่ ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ และประมุขของรัฐกัมพูชาที่เดินทางไปทำพิธีครอบครองปราสาทอย่างเป็นทางการจน กระทั่งถึงช่วงปี 2543  กัมพูชาไม่เคยคัดค้านการควบคุมพื้นที่อย่างเป็นจริง และความชอบธรรมของไทยในอีกฟากหนึ่งของเส้นมติคณะรัฐมนตรี และยอมรับเองในคดีนี้ว่ากิจกรรมของตนในพื้นที่ที่เรียกร้องในวันนี้เพิ่ง เริ่มในช่วงปลายปี 2541 โดยการสร้างวัด และนับจากเริ่มทศวรรษ 2543 การรุกล้ำเส้นมติคณะรัฐมนตรีเข้ามาในดินแดนไทย ซึ่งเป็นการละเมิดอย่างชัดแจ้งต่อข้อ 5 ของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกก็เริ่มเป็นที่ ปรากฏเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ได้กระทบต่อกระบวนการเจรจาตามบันทึกความ เข้าใจ และทำให้เกิดการประท้วงอย่างหนักจากไทย และข้อพิพาทใหม่นี้ ตกผลึกในปี ค.ศ. 2550 เมื่อกัมพูชาเสนอแผนผังเพื่อการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารฝ่ายเดียวต่อคณะ กรรมการมรดกโลก ในการประชุมสมัยที่ 31ซึ่งดินแดนที่กัมพูชาอ้างล้ำเข้ามาในดินแดนไทยประมาณสี่ตารางกิโลเมตร ครึ่ง การรุกล้ำหรือเหตุการณ์ในพื้นที่ต่างๆ กลายเป็นข้อเรียกร้องทางดินแดน เพราะต้องการเขตพื้นที่ที่จำเป็นต่อการขึ้นทะเบียนปราสาท ซึ่งไทยก็ประท้วงอย่างหนักเพื่อยืนยันในอธิปไตยต่อเนื่องของไทยในผืนดินแดน ซึ่งกัมพูชาเรียกร้องใหม่นี้ซึ่งไทยได้รับรู้อย่างเป็นทางการเมื่อปี2550 ประเด็นเรื่องเขตแดนนี้เกินขอบเขตของคดีเดิม ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขในกรอบของบันทึกความเข้าใจปี 2543 ซึ่งกัมพูชาปฏิเสธ และยืนยันในคำพิพากษาปี 2505 เท่านั้นเพื่อยัดเยียดเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 ตามที่ตนถ่ายทอดอย่างอำเภอใจในวันนี้ต่อไทย     
  4. พื้นที่พิพาทประมาณสี่ตารางกิโลเมตรครึ่งไม่ใช่ “บริเวณใกล้เคียง” ปราสาทตามนัยของวรรคปฏิบัติการที่ 2 ของคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ทั้งนี้ ตรงข้ามกับสิ่งที่กัมพูชาอ้าง ผืนดินแดนไทยซึ่งกัมพูชาเรียกร้องตั้งแต่ปี 2550 ไม่ใช่ และไม่อาจจะเป็นบริเวณใกล้เคียงปราสาทตามนัยของคำพิพากษาเมื่อปี 2505 เพราะในคำร้องในคดีเดิม กัมพูชามิได้เรียกร้องพื้นที่ขนาดนี้ และเรื่องเขตแดน ดังนั้น ศาลไม่สามารถตัดสินเกินคำร้อง และให้ในสิ่งที่กัมพูชาไม่ได้ขอ และแม้ในคำขอเพิ่มเติมของกัมพูชาในขณะนั้นเกี่ยวกับเส้นเขตแดนและสถานะทาง กฎหมายของแผนที่ภาคผนวก ๑ ซึ่งศาลไม่รับไว้พิจารณา ก็ไม่มีการระบุถึงพื้นที่สี่ตารางกิโลเมตรครึ่งดังกล่าว ซึ่งเป็นสิ่งที่อธิบายความลำบากของกัมพูชาที่จะพิสูจน์ความมีอยู่ของพื้นที่ พิพาทดั้งเดิม โดยทำได้อย่างมากก็ปลอมแปลงเอกสารจดหมายเหตุและโต้แย้งด้วยเส้นจากภาคผนวก 49 ของคำให้การแก้ฟ้องของไทยเมื่อปี 2504 ที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด
  5. เส้น มติคณะรัฐมนตรีของไทยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 กำหนดพื้นที่ที่สอดคล้องกับ “บริเวณใกล้เคียง” ปราสาท  ตามความเข้าใจของคู่กรณีและศาลในคดีเดิม ซึ่งสะท้อนอยู่ในหน้า 15 ของคำพิพากษาและแผนที่ภาคผนวก 85 ดี ซึ่งเป็นแผนที่ฉบับเดียวซึ่งศาลจัดทำขึ้นในคดีเดิม เป็นดินแดนผืนหนึ่งซึ่งกัมพูชาเรียกร้องในคดีเดิม และเส้นมติคณะรัฐมนตรียังสอดคล้องกับเส้นในแผนที่ภาคผนวก 66 ซีของคำตอบแก้ของกัมพูชา ซึ่งเป็นเส้นเดียวที่กัมพูชาต่อสู้ในคดีเดิม ดังนั้น การเรียกร้องในปัจจุบันของกัมพูชาจึงเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิงจากในอดีต และอ้างว่าเป็นบริเวณใกล้เคียงปราสาทตามนัยของคำพิพากษา ทำให้คำพิพากษามีความหมายและขอบเขตซึ่งแท้จริงแล้วไม่มี และพยายามให้แผนที่ภาคผนวก 1 รวมเป็นส่วนหนึ่งของส่วนข้อบทปฏิบัติการของคำพิพากษา
    อนึ่ง ไทยก็เสนอเอกสารหลักฐานมากมาย ที่สามารถโต้แย้งการกล่าวอ้างของกัมพูชาได้ อาทิ อ้างว่าตนไม่รับรู้เส้นมติคณะรัฐมนตรีจนกระทั่งปี 2550 หรืออ้างว่าไทยไม่เคยโต้แย้งเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 ดังที่ถ่ายทอด และอ้างต่อศาลในวันนี้ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏว่า กัมพูชาอ้างเส้นนี้ประมาณปลายทศวรรษ 2000 เท่านั้น และไทยก็เพิ่งรับรู้ในเส้นดังกล่าวในปี 2550 ในกรอบคณะกรรมการมรดกโลก อีกทั้ง กัมพูชาก็ได้ตัดภูมะเขือซึ่งอยู่ ๒๗๐๐ เมตรห่างจากปราสาทออกจากข้อเรียกร้องของตนในปี 2502 แต่ในปัจจุบันกลับรวมพื้นที่ดังกล่าวในคำขอของตนในปัจจุบัน ซึ่งไทยใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงผู้เดียวอย่างต่อเนื่อง และกัมพูชาไม่ได้ตอบโต้ต่อเอกสารหลักฐานต่างๆ เหล่านั้น
    นอกจากนี้ กัมพูชายังปิดตัวเองในโลกคู่ขนาน โดยอ้างว่า พื้นที่ปราสาทพระวิหารไม่อยู่ภายใต้การบังคับใช้ของบันทึกความเข้าใจฯ ด้วยผลของคำพิพากษาปี 2505 และทฤษฎีที่คลุมเครือเกี่ยวกับการแยกจากกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างการกำหนด และการจัดทำเขตแดน แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นที่มาเดียวของเส้นเขตแดนซึ่งถูกำหนดไปแล้วในบริเวณนี้ ซึ่งคู่กรณีก็เพียงแค่จัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ตามลักษณะของเส้นเขตแดนบน แผนที่ โดยไม่คำนึงถึงภูมิประเทศจริงและหลักทางแผนที่ ซึ่งในความเป็นจริงบันทึกความเข้าใจฯ ครอบคลุมเส้นเขตแดนร่วมทั้งแนว รวมทั้งบริเวณปราสาทด้วย และยังระบุถึงสนธิสัญญาว่าด้วยการกำหนดเขตแดน แต่ไม่ระบุคำพิพากษาปี 2505  บันทึกความเข้าใจเป็นหลักฐานที่ไม่ต้องสงสัยว่าเรื่องเขตแดนในบริเวณปราสาท จะต้องได้รับการแก้ไขโดยสอดคล้องกับพันธกรณีทางสนธิสัญญา และเป็นเอกเทศจากคำพิพากษาเมื่อ ปี 2505 ในส่วนข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ซึ่งตกลงกันในปี 2546 เพื่อปฏิบัติบันทึกความเข้าใจฯ ก็ไม่ปรากฏว่ามีการระบุถึงคำพิพากษาเมื่อปี 2505 แต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีข้อบทใดในตราสารนี้ที่ทำให้เข้าใจว่ารวมโดยนัยคำพิพากษาปี 2505 ไว้ในกระบวนการของบันทึกความเข้าใจฯ  แต่เป็นตราสารที่กำหนดขึ้นตอนสำหรับงานสำรวจร่วมเส้นสันปันน้ำต่อเนื่องใน พื้นที่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่รวมอยู่ในคำพิพากษา
  6. กัมพูชา ดำเนินการต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมทางกระบวนคดีเพื่อปฏิเสธสิทธิของไทยที่จะได้รับการตัดสินคดี โดยถูกต้องและเป็นธรรม  และเพื่อให้ศาลเข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ  โดยกัมพูชากล่าวหาว่าไทยยื่นเอกสารคำให้การลายลักษณ์อักษรที่ยาวเกิน และมีจำนวนภาคผนวกมากเกิน ซึ่งคดีนี้มีข้อเท็จจริงมากมาย กอปรกับต้นกำเนิดของข้อพิพาทย้อนไปกว่า 50 ปีก่อน คำพิพากษา และกว่า 50 ปีได้ผ่านไปหลังคำพิพากษา ซึ่งข้อเท็จจริงมีความตรงประเด็น และเป็นประโยชน์สำหรับศาลในการพิจารณาความหมายและขอบเขตของคำพิพากษา ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริงก่อนปี 2505 ซึ่งมาทำให้คำให้การของคู่กรณีในคดีเดิมกระจ่างขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ประเด็นพื้นที่พิพาทเดิม หรือบริเวณใกล้เคียงปราสาท หรือข้อเท็จจริงภายหลังคำพิพากษาซึ่งแสดงให้เห็นถึงการไม่มีอยู่ซึ่งข้อ พิพาทเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษา ซึ่งเอกสารหลักฐานต่างๆ เหล่านี้กัมพูชาไม่ได้โต้แย้งใดๆ ซึ่งแสดงถึงการยอมจำนน โดยการนิ่งเฉย แม้ว่า กัมพูชาจะเน้นเรื่องการเคารพต่อศาล กัมพูชาก็ได้ดำเนินการที่ไม่เหมาะสมทางคดีเพื่อที่จะทำให้ศาลเข้าใจผิด เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆ อาทิการเสนอหลักฐานเดียวที่พิสูจน์พื้นที่ที่อ้างว่าเป็นพื้นที่พิพาทเดิม ประมาณสี่ตารางกิโลเมตรครึ่ง กล่าวคือร่างแผนที่ ซึ่งหนึ่งในการปรากฏร่างปรากฏอยู่ในหน้าก่อนหน้า 77 ของคำตอบแก้ของกัมพูชา ซึ่งเป็นการปลอมแปลงแผนที่ฉบับที่ 3 และ 4 ของภาคผนวก 49 ของคำให้การแก้ฟ้องของไทยที่นำมาซ้อนกันในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ และยังได้แถลงอย่างผิดๆ เกี่ยวกับหลักฐานอื่นๆ รวมทั้งแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นแผนที่ที่แนบคำขอแรกเริ่มของกัมพูชา แต่กลับถูกนำไปอ้างในเวบไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ณ กรุงปารีส ว่าเป็นแผนที่ที่ได้รับการรับรองจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่าเป็นภาคผนวก 1 ของคำพิพากษาฯ นอกจากนี้ยังเสนอแผนที่ภาคผนวก 1 ต่อศาลคนละฉบับกับที่ได้เสนอในคำขอแรกเริ่ม ซึ่งแน่นอนว่าต่างแสดงปราสาทอยู่ในฝั่งกัมพูชา แต่เส้นเขตแดนที่แสดงในแผนที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งกัมพูชาขอให้ศาลพิจารณาเส้นเขตแดนของแผนที่ภาคผนวก 1 แต่ว่าพูดถึงแผนที่ฉบับไหน เส้นไหน นอกจากนี้ กัมพูชายังยื่นเอกสารอย่างล่าช้าในกระบวนการ กล่าวคือหนังสือข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย- กัมพูชาซึ่งกระทรวงการต่างประเทศของไทยตีพิมพ์เพื่อพยายามจะหาหลักฐานมาสนับ สนุนข้อพิพาทสี่กิโลเมตรตารางกิโลเมตรครึ่ง ซึ่งระบุถึงพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทใหม่ซึ่งไม่เกี่ยวกับคดีเดิม โดยดำเนินการแปลอย่างไม่ถูกต้องและเลือกที่จะอ้างถึงวรรคที่ไม่ประติดประต่อ กัน ซึ่งไทยได้เสนอคำแปลที่ถูกต้อง และแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาได้ดำเนินการที่ไม่เหมาะสมซึ่งอาจทำให้ศาลเข้าใจ ผิดได้อย่างไร
  7. เกี่ยว กับเรื่องคำสั่งเรื่องมาตรการชั่วคราวเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ศาลออกมาตรการคือมิให้เกิดการสูญเสียชีวิตขึ้น  ตั้งแต่ศาลออกมาตรการการหยุดยิงในพื้นที่ต่างก็ได้รับการเคารพโดยกัมพูชา ไม่มีการปะทะกัน กการสูยเสียชีวิตหรือเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินอีกต่อไป สถานการณ์ในพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคำสั่งศาลทุกประการ
ที่มา :  ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 15:05 น.

หมายเลขบันทึก: 533275เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2013 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

                รายละเอียดดีมากครับ  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

phear vihear


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท