การขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา: อีสานตอนบน_41 ร่วมกับมูลนิธิตรวจเยี่ยมโนนสังวิทยาคาร


วันที่ 11 กุมภาพัน 2556 มูลนิธิสยามกัมมาจล เดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงเรียนโนนสังวิทยาคาร ผ่านการประสานงานที่ค่อนข้าง ฉุกละหุก" ...ต้องชื่นชมระบบของโนนสังฯ ที่แม้จะบอกล่วงหน้าไม่กี่วัน ท่าน ผอ. ก็บอกทันทีว่า "...ได้ครับ ไม่มีปัญหา เรามีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว..."

เราวางแผนว่า จะเดินไปถึงโรงเรียนตอนบ่ายโมง ผมขับรถส่วนตัวไปจากมหาสารคาม ในขณะที่ทางอาจารย์ศศินีย์ อาจารย์สุจินดา และทีมอีก 2 คน ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่ 05:00 น.  ตรวจเยี่ยมตอนบ่าย แล้วจะเดินทางไปพักที่รีสอร์ทหน้าเขื่อนลำคันฉู ใกล้กับโรงเรียนโคกเพชรพิยาคม ที่จะเข้าเยี่ยมชมในวันรุ่งขึ้น

ผมทำ BAR กับตนเองไว้ 2 ประเด็นหลัก คือ 1) อยากให้อาจารย์ทั้งสองจากมูลนิธิเห็นพัฒนาการของการขับเคลื่อนฯ ปศพพ. ของโรงเรียน โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่เกิดกับนักเรียนแกนนำ และ 2) อยากให้ทางโรงเรียนได้รับข้อเสนอะเพื่อพัฒนาจาก หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนฯ ที่มีประสบการณ์สูงที่สุด



หนึ่งในสไลน์ที่ ผอ.สุเมธ นำเสนอ น่าสนใจมากครับ เป็นผลการประเมินอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียน หลังจากที่ทางโรงเรียนใช้หลักสูตร "สร้างอุปนิสัยพอเพียง"

ท่านมั่นใจขนาดที่ว่า นักเรียนมีอุปนิสัยพอเพียงถึง ร้อยละ 90.40 ที่น่าสนใจคือ หากสิ่งที่เป็นนิยามของคำว่า อุปนิสัยพอเพียงที่ใช้ในการประเมินนี้ คงอยู่และยั่งยืนในตัวของนักเรียนจริง "หลักสูตรเสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียง" จะเป็น "นวัตกรรม" กู้ประเทศได้ทีเดียว

ที่ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน 

ฐานการเรียนรู้การทำขันหมากเบ็ง หรือ พานบายศรีสู่ขวัญ  สิ่งที่ชาวอีสานคิดเห็น ให้เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม..... ความจริงยังมีสิ่งดีๆ อีกมากนัก หากเราหันมาทำความรู้จัก และภูมิใจในตนเอง

ผมขอ AAR แบบตรงไปตรงมา ดังต่อไปนี้

ผมคิดว่าอาจาย์ทั้งสองคนเห็นพัฒนาการที่ชัดเจน กับนักเรียนแกนนำ ผมเห็นท่านอาจารย์ศศินี ค่อนข้างพอใจกับ นักเรียนที่ตอบคำถามที่ฐานอาเซียน

ผมเองมีความเห็นจากการเยี่ยมชมดังนี้ครับ

  1. ผอ.สุเมธ ท่าน ยังคงมีเอกลักษณ์ในการบริหารงานเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนใดๆ ตั้งแต่ผมไปครั้งแรกจนถึงครั้งนี้ครั้งที่ 4 ผมคิดว่าท่านใช้ระบบ ประชุม มีส่วนร่วม แล้วสั่งการ .... ข้อดี คือ รวดเร็ว เป็นระเบียบ มีเอกภาพ
  2. ครูสอนคณิตศาสตร์ ที่เล่าเรื่องการนำโครงการ "วัฒนธรรมวิจัย" มาปรับใช้ กับการเรียนการสอนแบบโครงงาน นั้นรู้และเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการศึกษาแล้ว..... ผมอยากเสนอให้อาจารย์ ลองหันมาจัดการเรียนรู้บนฐานปัญหาจริงในชีวิต ปัญหาที่เกิดในมิติสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เช่น ภาษีวันนี้เหมาะสมหรือไม่ ปัญหาการจัดการน้ำในภาคอีสาน ฯลฯ  ..... ครูมักคิดว่า ยากเกินไป ปัญหาใหญ่เกินไป  แต่ความจริง นักเรียนทำได้ลุ่มลึกตามศักยภาพของตน เท่าใดก็ได้ เพราะไม่เน้นเนื้อหา แต่เน้นกระบวนการเรียนรู้และทักษะที่ได้
  3. เกี่ยวกับ หลักสูตรการสร้างอุปนิสัยพอเพียง ของโนนสังฯ ผมยังขอตั้งขอสงสัยเกี่ยวกับ "การเข้าถึงใจ และความยั่งยืน" ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ .....  ถ้าหากได้ผล จะเป็น นวัตกรรมการขับเคลื่อนทีเดียว
  4. เรื่องเล่าที่ส่งมา ยังไม่ "เร้าพลัง" ยังไม่เห็นการ "ระเบิดจากภายใน" ..... หากทำ PLC ครู เขียนเรื่องเล่ากันบ่อยๆ ท่านจะค่อยๆ เห็นผลลัพธ์สำคัญเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่ตัวเรื่องเล่านั้นๆ

ขอบคุณครับ

ฤทธิไกร

หมายเลขบันทึก: 532429เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2013 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท