"คิดอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น" ... (ใจดี : พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)



คิดอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น


จิตของเรานี้มีพลัง คิดอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้า แต่พวกเรามักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับจิตใจของตัวเองเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่เราทุกคนอยากจะมีีความสุข แต่จิตใจของตนกลับปล่อยให้คิดฟุ้งซ่านไปตามกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นการสร้างทุกข์เพิ่มขึ้น ๆ เช่น อยากจะรวย อยากจะมีแฟน อยากจะได้ยศ ตำแหน่ง


ความอยากจะมี แสดงถึง ความไม่ีมี

ความอยากจะรวย แสดงว่า จน


เท่ากับเราไม่มีความพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเอง ความคิดอยาก ๆ เป็นกิเลสตัณหาซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

ในทางตรงกันข้าม หากจิตใจเรามีความสันโดษ มีความพอใจในสิ่งที่เรามี เราก็จะมีความสุขได้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม คำสอนให้รู้จักสันโดษนี้ ไม่ได้สอนให้คนเกียจคร้านในการทำหน้าที่การงาน ทำให้ชีวิตไม่เจริญก้าวหน้า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องสันโดษเพื่อให้เรารู้จักพอใจกับสิ่งที่ตนมีอยู่ สิ่งที่ตนได้มา แต่ในการดำเนินชีวิตพระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรามีอิทธิบาท ๔ ซึ่งหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จในกิจอันเป็นกุศล มี ๔ ประการคือ


๑. ฉันทะ มีความพอใจในสิ่งที่ทำ

๒. วิริยะ ความเพียรพยายามตั้งใจทำสิ่งนั้น

๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่

๔. วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผล เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น


ดังนั้น เมื่ออยากจะประสบความสำเร็จในสิ่งใด ก็ให้ตั้งเป้าหมายไว้ตามสมควรแก่ฐานะ ให้จิตใจตั้งมั่นไว้ที่ผลสำเร็จ และปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท ๔ แต่ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร เราก็มีความสุขอยู่ได้ในปัจจุบัน


เมื่อมีจิตใจดี มีความสบายใจแล้ว

โอกาสที่ชีวิตจะประสบความสำเร็จ

ในสิ่งที่ปรารถนาก็มีมากขึ้น


แม้จะรับประกันไม่ได้ เพราะตามธรรมชาติของวัฏสงสารก็ไม่แน่นอน ไม่มีใครรอดพ้นไปจากความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ได้ แต่ในแ่ง่จิตใจเราก็ไม่ต้องทุกข์ร้อนอะไร หากไม่ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ก็ให้เข้าใจว่า


เมื่อเราตั้งใจทำดีที่สุดด้วยใจที่สงบ

เราได้ทำเหตุที่ดีแล้ว

ก็ต้องยอมรับผลด้วยใจที่สงบเหมือนกัน


เรื่องสุขภาพร่างกายของเราก็เหมือนกัน ถึงแม้เราสุขภาพไม่ดี กำลังป่วยอยู่ก็ตาม แต่ถ้าเราคิดกังวลอยู่ตลอดเวลา เราไม่สบาย ๆ เมื่อจิตใจคิดวนเวียนอยู่อย่างนี้ ความคิดในแง่ลบของเราก็มีอิทธิพลทำให้สุขภาพกายแย่ลง


ในทางตรงกันข้าม ให้เราคิดในแ่ง่บวก เช่น สมมติว่าเป็นโรคหัวใจ ก็ให้กำหนดจิตเพ่งไปที่หัวใจ หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ หายใจสบาย ๆ ส่งกระแสความรู้สึกที่ดี แผ่เมตตาไปที่ "หัวใจ" จินตนาการในทางบวกว่า หายแล้ว ทำอย่างนี้บ่อย ๆ ทุก ๆ วัน ในส่วนของการรักษาทางกาย ก็กินยา ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ตามปกติ ปฏิบัติตามนี้แล้วสุขภาพจิตก็จะดีขึ้น มีกำลังใจ โอกาสที่สุขภาพกายจะดีขึ้นก็มีมาก


................................................................................................................................................................................


สาธุ สาธุ สาธุ

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...


................................................................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือดี ๆ


พระมิตซูโอะ คเวสโก.  ใจดี.  กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, ๒๕๕๖


หมายเลขบันทึก: 532353เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2013 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2013 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ยินดีที่คุณครู ไอดิน เข้ามาเยี่ยมบันทึกอีกครั้งหนึ่งครับ ;)...

เป็นบันทึกที่สุขใจเมื่อได้อ่านค่ะ

ยินดีและขอบคุณมากครับ พี่ Bright Lily ;)...

อ่านแล้ว มีความสุขค่ะ...

  • เมื่อเราตั้งใจทำดีที่สุดด้วยใจที่สงบ
  • เราได้ทำเหตุที่ดีแล้ว
  • ก็ต้องยอมรับผลด้วยใจที่สงบเหมือนกัน
สาธุ สาธุ...ขอบคุณค่ะ...^_^

ขอบคุณมากครับ พี่สี ;)...

ใจเป็นใหญ ขอบคุณคะกำหนดได้ที่ใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท