Mr.CHOBTRONG
ผศ. สมศักดิ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ชอบตรง

โครงการวิจัย “ฐานทางเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม”


สรุปการประชุม"ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม” 28/9/49
โครงการวิจัย ฐานทางเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม                                                สถาบันวิจัยและพัฒนา             เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 28  กันยายน  2549  เวลา 13.00 น. ศาสตราจารย์สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์  ได้นัดประชุมนักวิจัยในโครงการวิจัย ฐานทางเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม เพื่อหารือผลการดำเนินงานประจำเดือนกันยายน  2549  ซึ่งโครงการนี้จะมีการประชุมเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันประจำทุกเดือน  ทั้งนี้เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับการดำเนินงานวิจัยที่ต้องอาศัยความรู้แบบบูรณาการ และยิ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชุมชน  จึงจำเป็นต้องฝึกฝนนักวิจัยเป็นพิเศษ  เพื่อให้เห็นปรากฏการณ์เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

            การประชุมประจำเดือนกันยายน  2549  เป็นการนำเสนอ แผนผังกรอบแนวคิด เพื่อให้เห็นประเด็นที่ต้องลงไปศึกษาระดับภาคสนาม  กรอบแนวคิดก็จะเป็นแผนที่เบื้องต้นในการกำหนดทิศทางซึ่งขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลานาน  ในเบื้องต้น นักวิจัยได้ศึกษาภาคสนามและนำประเด็นมาเสนอต่อที่ประชุม  และศาสตราจารย์สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์และสมาชิกที่ประชุมได้ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะ                 

            ในคราวนี้ ถือว่าได้กรอบแนวคิดที่ชัดเจนมากพอสมควร  พอเป็นแนวทางในการศึกษาภาคสนามได้อย่างดี ในการประชุมครั้งนี้จึงเป็นการบรรยาย แผนผังกรอบแนวคิด  ที่ได้ผ่านการสังเคราะห์มาระยะหนึ่ง (ประมาณ 5 เดือน)  ประกอบด้วย1.      ฐานทางเศรษฐกิจ-           ทรัพยากรธรรมชาติ-           ทรัพยากรบุคคล-           ภูมิปัญญา / ศาสตร์ชาวบ้าน-           บริบทด้านสุขภาวะของชุมชน-           ปัจจัยและข้อจำกัดอื่นๆ2.      ทุนทางวัฒนธรรม-           วัฒนธรรมการเรียนรู้-           วัฒนธรรมการทำงาน-           วัฒนธรรมการผลิตและบริโภค-           จิตสำนึกต่อตน  ท้องถิ่น  สาธารณะ-           จริยธรรมและธรรมาภิบาล-           วิถีและพลังวัฒนธรรมเชิงรูปธรรม นอกจากประเด็นย่อยในข้อที่ 1 และที่ 2 ซึ่งรวมแล้วได้ 12 ประเด็นหลัก จากนั้นมีข้อย่อยอีกมากมายที่เชื่อมโยงกับประเด็นหลักทั้ง 12 ข้อ ซึ่งแต่ละข้อก็สามารถเป็นหัวข้อในการวิจัยได้ทั้งสิ้น  ขึ้นอยู่กับนักวิจัยจะจับเรื่องใดขึ้นมาศึกษา ซึ่งแผนผังดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า  โจทย์วิจัยที่มีคุณภาพดี  มีลักษณะแบบข้ามศาสตร์และเปิดมุมมองใหม่ๆ  ได้ปรากฏอยู่มากในแผนผังกรอบแนวคิด ฐานทางเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม  นักวิจัยที่คิดโจทย์ไม่ออกและทำการศึกษาวิจัยแบบเดิมๆ ควรจะดูตัวอย่างจากแผนผังกรอบแนวคิดเรื่องนี้แล้วจะพบว่า  มุมที่เราไม่เคยมองยังมีอีกมากมาย แต่ขึ้นอยู่กับว่านักวิจัยได้เป็นนักคิดที่แท้จริงหรือไม่ และเป็นผู้เปิดโลกทัศน์ทางความคิดมากเพียงใด การตรึงตัวเองไว้กับความคิดแบบใดแบบหนึ่งมากเกินไปจนยืดหยุ่นไม่ได้  โอกาสที่จะพบโจทย์วิจัยใหม่ๆ  ก็น้อยลงไปด้วยส่วนโครงการที่เป็นยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่  ได้มอบหมายให้นักวิจัย 3 กลุ่มไปดำเนินการ  ประกอบด้วย 1)การพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้   2) การส่งเสริมการท่องเที่ยว และ 3) การส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารจากทะเล  ก็ได้แผนผังกรอบแนวคิดชัดเจน ลึกซึ้ง เมื่อเห็นแผนผังแล้วหากนักวิจัยทำได้ตามที่ได้ออกแบบไว้ เชื่อว่าจะยกระดับความรู้ทุกแง่มุมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสามารถเป็นแบบอย่างของการพัฒนาโดยใช้การวิจัยเป็นฐานในการตอบปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขอย่างมีเหตุผลสิ่งที่เน้นย้ำในการเก็บข้อมูลของนักวิจัย  คือต้องอาศัยข้อมูลรอบด้าน จากหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน  ภาคประชาชน และนักวิชาการ เพราะสามารถนำมาวิเคราะห์  การทำงานในรูปแบบต่างๆ จากองค์กรที่กำหนดทิศทางและความเห็นแตกต่างกัน เพื่อประมวลความเชื่อมโยงทุกมิติ และในระหว่างปิดภาคเรียนนี้ ขอให้นักวิจัยมีความสุขกับการศึกษาภาคสนาม  แม้จะเป็นการปิดภาคเรียนช่วงสั้นๆ  ก็แต่คงเป็นเวลาอันเหมาะสมและโปรดโปร่งกว่าช่วงอื่นๆ  หากนักวิจัยมีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานให้ประสานกับสถาบันวิจัยและพัฒนาโดยตรง
หมายเลขบันทึก: 53213เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2006 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท