อ.ดร.วรกาญจน์
กฏหมาย,การศึกษา,บัญชี,ศาสนา อ.ดร.วรกาญจน์ สุขสดเขียว

การกู้เงิน ตามพรบ.ของรัฐบาล


       วันนี้ผมขึ้นหัวข้อว่า การกู้เงิน ตาม พรบ.ของรัฐบาลครับ ผมขอแสดงความคิดเห็นในฐานะคนไทยคนหนึ่ง โดยใช้ความรู้ความสามารถที่ผมมีอยู่ และไม่มีความเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลนะครับ ผมว่าการจะออก พรบ.กู้เงินนี้ดูจะเร่งรีบไป และไม่รอบคอบเพียงพอครับ ซึ่งจะส่งผลเสียหายแก่ประเทศไทย และคนไทยทุกคนได้ครับ เช่น เราอาจไม่ต้องใช้กระบวนการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การคมนาคม และการเข้าสู่อาเซียนของประเทศไทยเราเสียทั้งหมด 

        เรายังสามารถใช้กระบวนการสัมประทานให้เอกชนทั้งใน และต่างประเทศเข้าดำเนินการได้ครับ อีกทั้งเรายังได้ผลประโยชน์จากรายได้ค่าสัมประทานด้วยครับ ซึ่งในการบริหารประเทศไทยเรา ก็มีกรณีเช่นนี้มิใช่หรือครับ เช่น กิจการขนส่งภายในประเทศ มี บขส.กิจการรถตู้ รถประจำทางสายต่าง ๆ ครับ      ผมเชื่อว่าถ้ารัฐบาลมีนโยบายให้สัมประทานรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย โดยเปิดโอกาสให้เอกชนในประเทศ และหรือเอกชนต่างประเทศเข้าดำเนินการ ผมว่ามีความเป็นไปสูงครับ ถามว่า แล้วผู้ได้รับสัมประทานจะได้อะไรตอบแทน  ตอบได้เลยว่า เขาจะได้ค่าบริการจากคนไทยที่โดยสารจากรถไฟความเร็วสูงที่เขาสร้างขึ้นมาครับ แต่รัฐบาลสามารถ กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กับคนไทยและแก่รัฐได้ครับ ทั้งนี้อยู่กับเงื่อนไขและข้อตกลงที่ระบุไว้ในการรับสัมประทานกันครับ เช่นเดียวกับ การบินไทย ที่ใช้น่านฟ้าของประเทศไทย เช่นเดียวกับ กิจการขนส่ง ของคุณเกียว(ขอนุญาตใช้นามของท่านครับ) ซึ่งเป็นประธาน บขส.อยู่ครับ  จะเห็นได้ว่า เรายังมีวิธีการอย่างอื่น หรือกระบวนการอื่น ที่ไม่จำเป็นต้องกู้เงิน ตามพรบ.การกู้เงินของรัฐบาลในครั้งนี้ แต่ทำไมรัฐบาลไม่ทำครับ ทำไมละครับเมืองไทยเราก็มีคนเก่ง ๆ อีกหลายท่าน ที่สามารถเรียนเชิญท่านมาเป็นที่ปรึกษา เพื่อผลประโยชน์ของประเทศเรา เช่น     ท่านดร.วีระพงษ รามางกูร ท่านดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ แค่สองท่านนี้ ผมก็เชื่อใจแล้วครับว่า ถ้าท่านแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้หรือเศรษฐกิจของประเทศเรา ว่าควรมีการวางแผนอย่างไร ควรบริหารประเทศไทยอย่างไร ในการเข้าสู่อาเซียนที่ใกล้จะถึงนี้ครับ  ด้วยความรักประเทศไทย และไม่มีอคติแก่ใครทุกคนครับ 

หมายเลขบันทึก: 531602เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2013 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2013 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท