กุ้ง (โรค EMS)


                                                                           กุ้ง (โรค EMS)

                                                           นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

โรค Early Mortality Syndome (EMS) กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยู่เงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในที่มืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าว ตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำกุ้งก้ามกรามกุ้งนางกุ้งหลวงกุ้งก้ามเกลี้ยงกุ้งตะกาดกุ้งตะเข็บกุ้งฝอยกุ้งหัวแข็งกุ้งหัวโขนกุ้งขาวกุ้งรูกุ้งหินกุ้งดีดขันกุ้งแชบ๊วยกุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น

โรค EMS ปรากฏให้เห็นในกุ้งกุลาดำและกุ้งขาวแวนนาไมที่ลงเลี้ยงในบ่อดิน 10 - 40 วัน อัตราการตายของกุ้งอาจสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และต่อมาได้มีชื่อเรียกตามลักษณะการเสื่อมอย่างเฉียบพลันของตับและตับอ่อน

  สังเกตลักษณะกุ้งป่วยด้วยโรค EMS

ส่วนใหญ่กุ้งมีลักษณะสีซีด ขาวขุ่น เปลือกนิ่ม

ตับและตับอ่อน ฝ่อ ลีบ บางครั้งมีสีซีด ขาว หรือเหลืองอ่อน บางครั้งอาจพบจุดดำหรือรอยขีด

เมื่อบี้ตับและตับอ่อนด้วยนิ้วมือจะรู้สึกค่อนข้างเหนียวและแข็งกว่าปกติ

อาหารไม่เต็มลำไส้ ขาดเป็นช่วงๆ

พบกุ้งตายจำนวนมากบริเวณพื้นก้นบ่อ แตกต่างจากกุ้งที่ป่วยด้วยโรคตัวแดงดวงขาวหรือโรคหัวเหลือง ที่พบกุ้งลอยเข้ามาตายบริเวณขอบบ่อ

ตลาดกุ้ง กุลาดำในปัจจุบันเป็นตลาดที่นับว่าดีมาก เนื่องจากความต้องการของทั้งตลาดภายในประเทศและภายนอกประเทศมีมาก ประกอบกับผลผลิตที่น้อยลง ทำให้ราคากุ้งกุลาดำมีราคาค่อนข้างสูง ตลาดกุ้งที่สำคัญได้แก่

1.ห้องเย็นเป็นตลาดที่ต้องการกุ้งทะเลที่มีขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศเช่น  สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศในยุโรป

2.สะพานปลา เป็นตลาดกุ้งภายในประเทศ โดยใช้วิธีประมูลราคาซึ่งราคากุ้งจะขึ้นอยู่กับปริมาณกุ้งที่เข้ามา
ในแต่ละวัน   นอกจากตลาดทั้ง 2 แห่งแล้วยังมีภัตตาคารหรือห้องอาหารที่ต้องการกุ้งเป็นๆ โดยจะออกรับซื้อตามปากบ่อ ซึ่งจะให้ราคาสูงแต่ปริมาณความต้องการไม่มากนักและไม่แน่นอนในแต่ละวัน 


หมายเลขบันทึก: 531470เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2013 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2013 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆมีประโยชน์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท