หมดประจำเดือน___เหมือนหมดฮอร์โมนไหม



.

.
ภาพที่ 1: ชุดอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิงในช่องท้องได้แก่ มดลูก (uterus) อยู่ตรงกลาง, ท่อรังไข่ (fallopian tubes) 2 ข้าง, รังไข่ 2 ข้าง (ผลัดกันตกไข่ ข้างละ 1  รอบเดือน)
.
จากด้านล่างจะเป็นช่องคลอด (vagina), ปากมดลูก (cervix)

สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) ตีพิมพ์เรื่อง 'When removing the uterus, leave the ovaries: study'
= "(เวลาผ่า)ตัดมดลูก, ให้เหลือรังไข่ไว้: (การศึกษาพบ)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
รังไข่เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายอย่าง โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิง และฮอร์โมนที่ช่วยปกป้อง-รักษาการตั้งครรภ์
.
เดิมเชื่อกันว่า รังไข่จะ "เกษียณงาน" ไปพรอ้มกับการหมดประจำเดือน, เวลาหมอตัดมดลูก เช่น รักษาเนื้องอกมดลูก ฯลฯ จึงมักจะตัดรังไข่ แถมไปด้วย
.
การศึกษาใหม่พบว่า ผู้หญิงที่ถูกตัดรังไข่ออกเพิ่มเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (ตายเร็ว)
.

.
ภาพที่ 2: ภาพอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิงได้แก่ รังไข่ (ovary/ovaries), ท่อนำไข่ (fallopian tubes), มดลูก (uterus), ปากมดลูก (cervix), ช่องคลอด (vagina)
.

.
ผู้หญิงที่ถูกตัดรังไข่ทิ้งพร้อมๆ กับการตัดมดลูก (hysterectomy) มีนับหมื่นๆ รายต่อปี
.
ข้อดีของการตัดรังไข่ คือ ช่วยป้องกันมะเร็งรังไข่ ซึ่งเป็นมะเร็งที่มักจะโตเร็ว แถมยังมีอาการไม่แน่นอน เช่น ท้องอืด-แน่นท้อง ฯลฯ ทำให้วินิจฉัยยากในระยะแรกเริ่ม
.
คนอเมริกัน 315.55 ล้านคน เป็นผู้หญิงมากกว่าครึ่ง เนื่องจากผู้หญิงอายุยืนกว่า และตายจากโรค เช่น เอดส์ ตับอักเสบ-ตับแข็งจากเหล้า โรคจากการสูบบุหรี่ ฯลฯ น้อยกว่าผู้ชาย [ census ]
.
ผู้หญิงอเมริกันเป็นมะเร็งรังไข่รายใหม่ประมาณ 22,000 ราย/ปี, ตายจากโรค 14,000 ราย/ปี
.

.
ภาพที่ 3: ภาพอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิงได้แก่ รังไข่ (ovary/ovaries), ท่อนำไข่ (fallopian tubes), มดลูก (uterus), ปากมดลูก (cervix), ช่องคลอด (vagina)
.

.
การตัดรังไข่ลดเสี่ยงมะเร็งรังไข่ได้มากกว่า 90%, แต่ไม่ถึง 100%
.
กลไกที่อาจเป็นไปได้ คือ ทุกครั้งที่มีการตกไข่ ซึ่งคล้ายกับการที่ไข่ "แตกออกจากรังไข่" จะมีเซลล์ของรังไข่ "หลุด" ออกไปนอกรังไข่ โดยอาจหลุดไปในช่องท้อง หรือท่อนำไข่
.
ผู้หญิงที่ได้รับประโยชน์จากการตัดรังไข่มากที่สุด คือ คนที่มีพันธุกรรมผิดปกติ หรือมีการกลายพันธุ์ (gene mutations) ของ DNA ชนิดที่เพิ่มเสี่ยงมะเร็งรังไข่
.
ลักษณะสำคัญ คือ พบประวัติญาติสายตรง เช่น แม่ พี่น้อง ลูก ฯลฯ เป็นมะเร็งรังไข่
.

.
ภาพที่ 4: ภาพอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิงได้แก่ รังไข่ (ovary/ovaries), ท่อนำไข่ (fallopian tubes), มดลูก (uterus), ปากมดลูก (cervix), ช่องคลอด (vagina)
.

.
การศึกษาใหม่พบว่า ผู้หญิง 2% ได้รับประโยชน์จากการตัดรังไข่, อีก 98% ไม่ได้รับประโยชน์ เนื่องจากไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง
.
แถมยังพบว่า รังไข่ไม่ได้หยุดทำงาน 100% หลังหมดประจำเดือน คือ ถึงแม้จะผลิตฮอร์โมนน้อยลงไปมาก แต่ก็ "มีไฟ" อยู่ หรือผลิตฮอร์โมนขนาดต่ำๆ มาช่วยให้ผู้หญิงอายุยืนขึ้น
.
การศึกษาใหม่ ทำโดยการวิเคราะห์ผลการสำรวจสุขภาพอเมริกัน และกลุ่มตัวอย่างพยาบาลอเมริกัน รวมประมาณ 30,000 รายที่ได้รับการตัดมดลูก (hysterectomy) ติดตามไป 28 ปี
.
ในจำนวนนี้มีคนที่ถูกตัดรังไข่ไปพร้อมกันด้วยเกือบ 17,000 ราย = ประมาณ 57%
.

.
ภาพที่ 5: ภาพอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิงได้แก่ รังไข่ (ovary/ovaries), ท่อนำไข่ (fallopian tubes), มดลูก (uterus), ปากมดลูก (cervix), ช่องคลอด (vagina)
.

.
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ตัดรังไข่เสียชีวิต 16.8% มากกว่ากลุ่มที่ไม่ตัดรังไข่ (13.3%)
.
กลุ่มที่ตัดรังไข่ลดเสี่ยงมะเร็งรังไข่ได้ชัดเจน แต่มีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (ตายเร็ว) เพิ่มขึ้น = 13%
.
โดยเสียชีวิตจากโรคต่อไปนี้เพิ่มขึ้นได้แก่
.
(1). โรคหัวใจ > เพิ่ม 23%
.
(2). มะเร็งปอด > เพิ่ม 29%
.
(3). มะเร็งลำไส้ใหญ่-ไส้ตรง > เพิ่ม 49%
.

.
การศึกษาก่อนหน้านี้ พบว่า คนที่ตัดรังไข่ไม่เพิ่มโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทว่า... เป็นการเปรียบเทียบระหว่างคนที่ไม่ได้ผ่าตัดอะไรเลย กับคนที่ตัดมดลูก+รังไข่
.
การศึกษาใหม่ ทำการเปรียบเทียบดีกว่า คือ เปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่ตัดมดลูกเหมือนกัน
.
ต่างกันตรงที่ส่วนหนึ่งตัดรังไข่ อีกส่วนหนึ่งไม่ตัดรังไข่
.
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอผลการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านต่อไป
.

.
ทว่า... บอกเป็นนัยว่า รังไข่น่าจะทำงานในระดับต่ำๆ ต่อไปหลังหมดประจำเดือน
.
เป็นที่ทราบกันดีว่า ฮอร์โมนเพศหญิงช่วยป้องกันโรคหลายอย่าง ทำให้ผู้หญิงมีอายุยืนกว่าผู้ชาย เช่น ป้องกันโรคหัวใจ-หลอดเลือด ฯลฯ
.
การศึกษานี้คงจะช่วยให้ท่านได้ข้อมูลมากขึ้นว่า ถ้าไปรับการผ่าตัดมดลูก... จะตัดรังไข่ไปพร้อมกับเลย หรือว่า จะเก็บรังไข่ไว้ก่อน (เลือกได้ตามชอบใจ)
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • Thank Reuters > http://www.reuters.com/article/2013/03/22/us-uterus-ovaries-idUSBRE92L0U020130322 > SOURCE: bit.ly/ZRONjp Obstetrics & Gynecology, online March 6, 2013.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 24 มีนาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
 

หมายเลขบันทึก: 531256เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2013 07:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2013 07:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท