KM กับความหลากหลายทางชีวภาพ


BRT = Biodiversity Research and Training

การนำวิธีการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มาเสริมพลังความเข้มแข็งของโครงการ BRT

เมื่อวันที่ ๑๐ - ๑๒ ตค. ผมไปร่วมประชุมประจำปีโครงการ BRT (โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย)  ครั้งที่ ๙ ที่ขอนแก่น   มีการประชุมคณะกรรมการประเมินโครงการด้วย    ผมได้รับการร้องขอให้เขียนแนวทางการนำ KM ไปใช้ในโครงการ เป็นข้อความประมาณครึ่งหน้า    ต่อไปนี้คือข้อเขียนที่ผมส่งให้คณะกรรมการ


การจัดการความรู้เน้นที่ความรู้ปฏิบัติ   เน้นการจัดให้ผู้ปฏิบัติกิจกรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นำความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน     เพื่อเก็บเอาความรู้ปฏิบัติของผู้อื่นไปทดลองใช้พัฒนาผลงานของตน  และยกระดับความรู้ของตนและของกลุ่ม    เป็นวัฏจักรหมุนเวียนไม่รู้จบ
เนื่องจากโครงการ BRT นอกจากเน้นการวิจัยสร้างความรู้แล้ว    ยังเน้นการนำความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพไปประยุกต์ใช้  เพื่อประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจ และเชิงอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ    ซึ่งการอนุรักษ์นั้นจะเชื่อโยงกับการปฏิบัติในระดับชุมชนในพื้นที่หรือท้องถิ่น
ดังนั้น  ในการดำเนินการระยะต่อไปของโครงการ BRT   น่าจะได้พิจารณาประยุกต์ใช้เทคนิค หรือวิธีการ KM     สำหรับเสริมให้การดำเนินการได้รับผลสัมฤทธิ์มากขึ้น และกว้างขวางขึ้น     โดยน่าจะพิจารณาจัดหรือส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้จากการปฏิบัติ (tacit knowledge) ระหว่างกลุ่มต่างๆ  ดังตัวอย่าง
1.        ความรู้ปฏิบัติ ด้านการสำรวจพื้นที่  ระหว่างนักวิจัยต่างทีม
2.        ความรู้ปฏิบัติในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ   ระหว่างผู้นำชุมชนต่างพื้นที่
3.        ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ของชาวบ้าน   และของนักวิจัยที่เข้ามาร่วมมือ หรือมีปฏิสัมพันธ์กันในโครงการ BRT                   

โดยสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ยินดีจัดวิทยากร ช่วยฝึกอบรมเทคนิค KM ให้แก่เครือข่ายของ BRT ในวงกว้าง
นอกจากนั้น    ยังอาจพิจารณาร่วมกันจัด “มหกรรมจัดการความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพแห่งประเทศไทย”  เพื่อสื่อความรู้ความเข้าใจ    อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายระดับประเทศ และระดับพื้นที่     รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง สินทรัพย์ทางชีวภาพ ของสังคมไทย ในแง่มุมที่ลึกและเชื่อมโยง

วิจารณ์ พานิช
๑๒ ตค. ๔๘

ในการประชุมวิชาการและในการพูดคุยนอกรอบ    เห็นพ้องกันว่าควรส่งเสริมการ ลปรร. ประสบการณ์ในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนฝท้องถิ่น    เรานัดกันว่า ศ. ดร. วิสุทธฺ ใบไม้  ผอ. BRT และคณะ จะไปประชุมหารือกับ สคส. วันที่ ๒๑ พย. ๔๘ เวลา ๑๓.๒๐ น. 

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ตค. ๔๘ 


หมายเลขบันทึก: 5311เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2005 04:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพ

  ได้อ่านเรื่องนี้แล้วสนใจเป็นอย่างยิ่งคะ เพราะกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อมภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลเดนมาร์กและรัฐบาลไทยมา 2 ปีเศษแล้ว มีการศึกษาและสำรวจความหลากหลายทางชึวภาพโดยชุมชนเองใน 51 ตำบลใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ  และนำมาจัดทำแผนของชุมชน โดยเราสนับสนุนกองทุนและกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรากำลังคิดว่าจะนำ KM ไปใช้ในกลุ่มนี้ด้วยคะ ในด้านการเกษตร ความหลากหลายทางชีวภาพมีการทำน้อยมาก ตอนที่เริ่มโครงการใหม่ ๆ เราพยายามหาความรู้ในเรื่องนี้เหมือนกันแต่พบน้อยมาก   หากมีการดำเนินการในเรื่องนี้เราขอเป็นเครือข่ายด้วยนะคะ  ขอบพระคุณมากที่อาจารย์ได้กรุณาเผยแพร่ข่าวสารดีๆ เป็นประโยชน์มากเลยคะ

หลังจากเราคุยกับทาง BRT ในเดือน พย. จะเรียนความคืบหน้าให้ทราบนะครับ    อาจเชิญมาคุยวางแผนงานร่วมกันก็ได้

วิจารณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท