จัดการความรู้นักวิจัย


ความรู้ที่เราเข้าไปจัดการในชุมชนไม่ใช่ชุมชนเท่านั้นที่ได้เพราะเราก็ได้เหมือนกัน

จากการได้รับทำโครงการวิจัย ที่ใช้การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน โดยไปจับพื้นที่ที่อยากทำวิจัยคือ ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ในเรื่องพื้นที่คงจะมีการเล่าเรื่องราวไปเยอะพอสมควรวันนี้กลับมามองตัวเองและทีมงานนักวิจัย

คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบังคับให้คนอื่นรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของได้ถ้าไม่ได้ให้เค้าเป็นเจ้าของ

งานวิจัยชิ้นนี้มีทีมงานทั้งหมด ๔ คนที่อยู่ในฐานะนักวิจัยจากสถาบันการศึกษา แต่มีเพียง ๒ คนเท่านั้นที่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของนับเป็นการจัดการความรู้อย่างหนึ่งเหมือนกันนในเรื่องนี้ เพราะต้องมีการศึกษาตัวตนก่อนว่าใครเหมาะจะทำอะไร

งานนี้เป็นงานที่ฝึกให้เกิดนักวิจัยขึ้นมาอีก ๒ คนก็ว่าได้เพราะกระบวนการที่ผ่านมา ๑ ปีทำให้ทั้ง ๒ เกิดกระบวนการเรียนรู้มากมาย เรียนรู้ทั้งคนที่มีหลากหลายรูปแบบ งานที่เราจะต้องรับผิดชอบ

เบียร์เป็นคนที่ออกพื้นที่เปรียบเสมือน หน่วยความจำ พี่เอกก็ออกพื้นที่แต่เปรียบเสมือนหน่วยประมวลผล ทั้งหน่วยความจำและส่วนประมวลผลจำเป็นต้องทำงานเข้ากันอย่างเข้าใจ ทำให้ได้รายงานวิจัยนี้ออกมา

นับเป็นการจัดการความรู้อย่างหนึ่งคือ put the right man in the right job คนบางคนเหมาะกับงานบางงาน ไม่มีใครเก่งไปเสียทุกอย่าง เพราะฉะนั้นจงยอมรับที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นแบบแบ่งปันมากกว่ากดดันเพราะสุดท้ายกดดันมากๆก็มีแต่จะแตกออก แต่หากอยู่กันแบบแบ่งปันแบ่งรับแบ่งสู้ ไม่หนักเกินไม่เบาเกินจะทำให้งานออกมาอย่างสวยงาม

หมายเลขบันทึก: 53106เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2006 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทะราบ (ซาบ) ทะรึ้ง (ซึ้ง) :-( นั้นก็แสดงว่า ทีมสมุทรปราการอยู่ใน ๒) ความเป็นทีมคือการทำงานร่วมกัน มิใช่๑)หรือ๓) (อ้างอิงเรื่อง ความรู้คิดผู้ช่วยนักวิจัย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท