ไขมันเกาะตับ เจาะตับ ตับอักเสบ


โรคไขมันเกาะตับ


 ปัจจุบันสังคมไทยโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตประจำวันไปเป็นแบบสังคมคนเมืองสมัยใหม่ที่มีพฤติกรรมการกิน เปลี่ยนแปลงไปโดยบริโภคอาหารปรุงสำเร็จมากขึ้นบริโภคอาหาร ขนมหวาน มันเพิ่มขึ้น กินผักผลไม้น้อยลง ทำงานในตึกหรือออฟฟิศมากขึ้น และไม่มีเวลาออกกำลังกาย ลักษณะดังกล่าวทำให้มีปัญหาโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น

จากข้อมูลของโครงการคนไทยไร้พุงที่สนับสนุนโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาคนไทยอายุ 20-29 ปี ภาวะโรคอ้วนเพิ่มจากร้อยละ 2.9 เป็นร้อยละ 21.7 หรือเพิ่มขึ้น 7.5 เท่า และในกลุ่มอายุ 40-49 ปี เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลผลการสำรวจของกรมอนามัย ในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศของปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีภาวะอ้วนลงพุงในเพศชายร้อยละ 24 และเพศหญิงร้อยละ 61.5  ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความสำคัญนอกจากนี้ภาวะโรคอ้วน และโรคไขมันตับยังมีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก โดยพบว่าความชุกของโรคอ้วนในปี ค.ศ.2006 ของสหรัฐอเมริกา มีสูงถึงร้อยละ 20-30 และกลุ่มนี้จะพบความชุกของโรคไขมันตับได้สูงถึงร้อยละ 70-80

ดังนั้นการแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงหลักการรักษาที่สำคัญและทำได้ด้วยตนเองก็คือ การควบคุมอาหาร ออกกำลังกายจะเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่สำคัญที่ช่วยลดทั้งปัญหาโรคอ้วนและไขมันตับได้

โดย ในบทความในตอนที่ 1 จะแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักไขมันตับในเบื้องต้น

รวมถึงหลักการคุมอาหาร ลดน้ำหนักอย่างไร ให้ได้ผลโรคไขมันเกาะตับคืออะไร
 
ไขมันเกาะตับ (Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD)

 หมายถึงภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับ โดยที่คนนั้นไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มในปริมาณที่น้อยมากโดยที่ไขมันจะทำให้เกิดการอักเสบของตับ และเกิดพังผืด ซึ่งถ้าเป็นไปในระยะยาวก็กลายเป็นโรคตับแข็งได้


ภาวะไขมันเกาะตับพบบ่อยแค่ไหน
 
มีความชุกของโรคไขมันเกาะตับ (NAFLD) สูงถึงร้อยละ 40 ของประชากรทั่วไป
 
ไขมันเกาะตับพบได้บ่อยขึ้นในคนบางกลุ่ม เช่น คนอ้วนพบถึงร้อยละ  37-90  ผู้ป่วยเบาหวานพบร้อยละ  50-62  ภาวะไขมันเกาะตับมักมีโรคที่พบร่วมด้วย โดยเฉพาะภาวะอ้วนลงพุง หรือเมตาโบลิค ซินโดรม (Metabolic syndrome) เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินพบได้ 1 ใน 3  ไขมันในเลือดสูงพบได้ 2 ใน 3
 
โรคอ้วนใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย มากกว่า 28 กก./เมตร 2 คำนวณโดยดัชนีมวลกาย  = น้ำหนักตัว (กก.)  ส่วนสูง (เมตร)2 หรือใช้เส้นรอบเอว ก็ช่วยบ่งชี้โรคอ้วนได้โดยดูจากเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว

ในผู้ชายหรือมากกว่า 32 นิ้ว ในผู้หญิงการวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับมีความผิดปกติของค่าทำงานตับ
 มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์น้อยมากคือ น้อยกว่า 20 กรัม/วัน หรือไม่ดื่มเลย และไม่พบสาเหตุอื่น ๆ ของตับอักเสบ เช่น ยา สมุนไพร  โรคตับจากไวรัสเป็นต้น ผลการเจาะตับมีลักษณะพยาธิวิทยาที่พบไขมันแทรกอยู่เกินร้อยละ 5 และ/หรือมีการอักเสบร่วมด้วย ผลตรวจอัลตราซาวด์พบว่ามีไขมันเกาะตับ

หมายเหตุ  แอลกอฮอล์ 10 กรัม/วัน = เบียร์ 350 มล. หรือ ไวน์ 120 มล.หรือบรั่นดี 45 มล.

                   ซึ่งเรียกว่า 1 ดริ๊งค์ (drink)สามารถวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับได้อย่างไรบ้าง?
 
1. การเจาะตับ
 
2. การตรวจเลือดเพื่อแยกสาเหตุอื่น
 
3. ตรวจอัลตราซาวด์ตับ

 เนื้อตับที่แพทย์เจาะมาช่วยบอกอะไรบ้าง?
 ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคไขมันเกาะตับ
 ช่วยบอกความรุนแรงของโรคว่าเนื้อตับมีการอักเสบ มีพังผืดมากน้อยเพียงใดตับแข็งหรือไม่
 ช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยเชื่อว่ามีโรคที่รุนแรงจริง และลงมือปฏิบัติปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน

ถ้ากังวลและไม่ต้องการเจาะ ตับ จะวินิจฉัยโรคนี้ได้หรือไม่ ? อย่างไร ?

     ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการตรวจหาพังผืดในตับโดยไม่ต้องเจาะตับซึ่งก็มีหลายวิธีที่มีข้อมูลวิจัยสนับสนุนอยู่ เช่น การตรวจเลือด Fibrosis test ที่ช่วยจำแนกความรุนแรงของพยาธิวิทยาของตับได้ว่ามีพังผืดมากน้อยเพียงใดปัญหาคือราคาแพงอยู่มาก นอกจากนี้ยังมีเครื่องวัดความยืดหยุ่นของตับหรือ Transient Elastrography (Fibro-scanR) ที่มีหลักการของเครื่องมือโดยใช้อุปกรณ์ส่งคลื่นความถี่ระดับ 50 Hz ผ่านบริเวณตำแหน่งที่ใช้ในการเจาะตับคือบริเวณด้านสีข้างตัดกับแนวลิ้นปี่โดยให้ผู้ป่วยนอนหงายคลื่นดังกล่าวจะวัดความยืดหยุ่นของตับในระดับที่ลึกกว่าผิวหนังลงไปประมาณ 1-2.5 นิ้ว ส่วนขนาดของเนื้อตับที่ตรวจวัดก็มีขนาด 1 x 4 ซม.ซึ่งมีปริมาตรที่มากกว่าชิ้นเนื้อจากการเจาะตับถึง 100 เท่าปัจจุบันสามารถตรวจได้ในโรงเรียนแพทย์หลายแห่งรวมทั้งที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯด้วยแต่ข้อจำกัดคือยังไม่มีใช้อย่างแพร่หลายและค่าที่วัดได้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้โดยเฉพาะในคนที่อ้วนมาก ๆ

 ข้อมูลจาก นายแพทย์สมบัติ ตรีประเสริฐสุข ศูนย์โรคตับและปลูกถ่ายตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

  นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์



ไขมันเกาะตับ (Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD)

หมายถึงภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับโดยที่คนนั้นไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มในปริมาณที่น้อยมาก โดยที่ไขมันจะทำให้เกิดการอักเสบของตับและเกิดพังผืด ซึ่งถ้าเป็นไปในระยะยาวก็กลายเป็นโรคตับแข็งได้


เมื่อเป็นโรคไขมันเกาะตับ จะมีการดำเนินโรคอย่างไร?

1. ผู้ป่วยไขมันเกาะตับที่มีภาวะอักเสบหรือมีพังผืดร่วมด้วย พบว่าร้อยละ 20

หรือ 1 ใน 5 กลายเป็นตับแข็งและร้อยละ 37 เริ่มมีพังผืดในตับ

2  .มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ถึงร้อยละ 10

เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคมานาน 10 ปีผู้ป่วยกลุ่มใดที่จะมีการดำเนินโรคไปเป็นตับแข็ง?

โดยทั่วไปใช้เวลา 10-20 ปี กว่าจะเกิดตับแข็งและพบได้ 1 ใน 5

ของผู้ป่วยโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภาวะต่าง ๆ ต่อไปนี้

โรคอ้วน ( BMI ยิ่งสูง ยิ่งไม่ดี โดยเฉพาะค่า BMI ที่มากกว่า 35 กก./ ม2)

เบาหวาน

อายุมากกว่า 45 ปี

ค่าการทำงานตับมีอัตราส่วน AST/ALT มากกว่า 1


ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะพบว่าเป็นโรคตับแข็งได้เร็วขึ้นจุดมุ่งหมายของการรักษามีดังนี้คือ

ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง  โรคอ้วน

ป้องกันการเกิดภาวะตับแข็งด้วยการลดการอักเสบของตับ

ป้องกันการเกิดมะเร็งที่อาจพบแทรกซ้อนได้


โรคไขมันเกาะตับที่มีภาวะอักเสบหรือมีพังผืดร่วมด้วยจะรักษาได้หรือไม่? อย่างไร?

1 . มุ่งลดปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงที่พบร่วมด้วยให้ดี

2. ต้องลงมือปฏิบัติ โดยปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน จึงจะได้ผลในการรักษา ดังนี้

    งดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลงจนเลิกดื่ม

  ควบคุมอาหารที่มีพลังงานสูงเกินความต้องการร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

3.  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบว่า มีผลต่อการลดภาวะอักเสบของตับได้อย่างชัดเจน

   ซึ่งยืนยันได้จากทั้งผลตรวจเลือดค่าทำงานตับหรือผลการเจาะตับ

  เดินรอบสวนลุมพินี 2.5 กม. ใช้เวลา 20-30 นาที ได้ 3,100 ก้าว (150-280 กิโลแคลอรี ขึ้นกับ ความเร็วที่ใช้เดิน)

  เดินให้ได้ 10,000 ก้าว/วัน จะได้ 450-800 กิโลแคลอรี หรือดูกิจกรรมที่ทำได้ดังในตารางที่ 1

  ควรวางเป้าหมายไว้ที่ 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ (ไม่ควรเกิน 1.6 กิโลกรัมต่อสัปดาห์) โดยเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายที่เป็นการออกกำลังกายระดับปานกลางการออกกำลังกายในระดับสูง (High intensity physical activity) จะช่วยเผาผลาญไขมันคิดเป็นพลังงานได้ประมาณ 2 เท่า ของการออกกำลังกายในระดับปานกลางแต่อาจจะมีผลเสียต่อข้อและกระดูก

การขี่จักรยานมักต้องใช้ระยะเวลานานกว่าการเดินเร่งหรือวิ่ง เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้ลงน้ำหนัก (Non-Weight-Bearing)

ส่วนวิธีประเมินผลว่า เป็นการออกกำลังกายในระดับ moderate intensity physical activity หรือไม่ทำได้ดังนี้

ให้ใช้อัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งคำนวณจากค่า (220 ลบ อายุ) คูณ (ร้อยละ 50-70) เช่น ผู้ป่วยอายุ 40 ปี เมื่อออกกำลังกายในระดับปานกลางแล้วควรมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ (220–40) x 0.5 = 90 หรือ (220–40) x 0.7 = 126 หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจระหว่าง 90-126 ครั้ง/นาที

ข้อมูลจาก นายแพทย์สมบัติ  ตรีประเสริฐสุข ศูนย์โรคตับและปลูกถ่ายตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์


ขอบคุณ ไขมันเกาะตับ 1-2

จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คอลัมน์ชีวิตและสุขภาพ โดยนายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์


    ไขมันเกาะตับ อ่านพบนำมาฝาก ระวัง ป้องกันกันอย่างไรดี ไม่อยากไปโรงพยาบาล ไม่อยากไปให้หมอตรวจ ตรวจพบแล้วกลัวได้กินยา ต้องมาอดอาหารที่ชอบ ฯ ก็คงต้องระวังเรื่องการเลือกอาหารแต่ละมื้อแต่ละวันให้มากขึ้นด้วยเพื่อไม่ให้มีโรคเกิดขึ้นในร่างกายที่เป็นโรคที่มาจากอาหาร คนเราป่วยเพราะอาหารได้จริงๆ ไม่ว่าจะอายุเท่าไร?

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 530829เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2013 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2013 08:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท