การเรียนรู้เพื่อประสิทธิภาพการถ่ายทอดความรู้ ตอนที่ 1


ในช่วงหนึ่งในสี่ของวันแรก ผู้รับการอบรมได้รับการเรียนรู้ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วจากการเป็นผู้วิพากษ์การถ่ายทอดของผู้ให้การอบรม

  

  ปีที่ 2 ของดิฉันที่ได้รับโอกาสมีส่วนร่วมกับคณะกรรมการผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน   ได้มีส่วนรับรู้ต่อการไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนางานเพื่อตอบสนองพันธกิจต่อผู้ให้ความรู้เบาหวาน(educators)  จากการดูแลประสานงานในหลายส่วน สถาบันแห่งนี้เหมือนครอบครัวที่มีผู้หลักผู้ใหญ่ อาทิเช่น ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ รศ.พญ.สุนิตย์ จันทรประเสริฐ อาจารย์หมอ อารยา ทองผิว  คอยดูแล ส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จนถึงคณะกรรมการฯ ชุดปัจจุบัน ซึ่งมีคุณหมอเกษนภา เตกาญจนวนิช เป็นนายกสมาคมผู้ให้ความรู้เบาหวาน ในปีนี้เรามีประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตร สาหรับผู้ให้ความรู้เบาหวานเพื่อตอบสนองให้ทันต่อความต้องการที่มีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นจำนวนมาก  มีการขยายการให้ความรู้เชิงป้องกันสู่กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ  ดังนั้นผู้ให้ความรู้ต้องมีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ที่มากขึ้น  และด้วยความกรุณาของ อาจารย์ เทพ และภรรยา (คุณจู้ดี้) ได้เปิดบ้านพักของท่านที่เขาใหญ่ให้พวกเราทุกคนไปร่วมกันทำแผน ในวันที่ 12-13 มกราคม 2556 ซึ่งในตอนนั้นได้มีโอกาสระดมสมองของผู้ทรงคุณวุฒิมากมายหลายท่าน  และ สิ่งหนึ่งที่นำไปสู่การปรับปรุงหลักสูตร คือ อาจารย์รุจิรา มังคละศิริ ได้กรุณาแนะนำให้คณะกรรมการฯ เรียนเชิญอาจารย์หมอยงยุทธ  วงค์ภิรมย์ศานติ์ มาเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ให้กับคณะกรรมการของสมาคม ทั้งนี้เพื่อปรับกระบวนการวางแผนการสอนให้ผู้เข้ารับการอบรมผู้ให้ความรู้เบาหวาน เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในวันที่ 16-17 มีนาคม 2556     


                                              มีวัตถุประสงค์ครับ

   บรรยากาศของความเป็นกัลยาณมิตรบังเกิดขึ้นที่ชั้น 17 โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ภายใต้เวลาอันมีค่าของผู้ให้และผู้รับในวันเสาร์ อาทิตย์  พันธกิจที่ยิ่งใหญ่ ความรู้ที่มากมายของผู้ให้ ความต้องการที่มากมายของผู้รับ การตกลงเกิดขึ้นเพื่อให้การอบรมนี้ได้ประโยชน์สูงสุด  และในช่วงหนึ่งในสี่ของวันแรก ผู้รับการอบรมได้รับการเรียนรู้ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วจากการเป็นผู้วิพากษ์การถ่ายทอดของผู้ให้การอบรม (อาจารย์ยงยุทธ)  หลายคำต่อจากนี้ เช่น  ไม่เข้าใจ  ไม่เชื่อมโยง จะไปปรับการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ในรูปแบบที่ทำอยู่  จะได้เทคนิกต่างๆจากตรงไหน เป็นผู้เสนอ ด้วยการกล่าว "ชื่นชมที่....จะดีกว่านี้............. " และการเรียนรู้ก็ดำเนินต่อไปอย่างรวดเร็ว  เย็นแรกก็เลิกช้ากว่าเวลาที่กำหนดไว้ 1 ชั่วโมง


 .......จะดีกว่านี้ ถ้ามีตัวอย่าง   ...........จะดีกว่านี้ ถ้าใบกิจกรรมจะเพิ่มความชัดเจน

 

   สิ่งที่พอจะจำและจดมาได้ผู้เขียนจะนำมาเล่าต่อไป

   เรื่องที่ต้องการถ่ายทอดให้ผู้เรียนรู้เป็นสิ่งใด ใน 3 อย่างนี้ คือ Attitude Knowledge และ Skill  ซึ่งโดยส่วนมากเรื่องเรียนรู้มักจะมีทั้งสามองค์ประกอบ แต่ผู้ให้ความรู้ต้องวิเคราะห์เรื่องที่จะถ่ายทอดให้ได้ว่ามีความเด่นในด้านใดมากที่สุด

·  เมื่อเรื่องที่ต้องการถ่ายทอดสู่ผู้เรียนรู้มี ด้านเจตนคติ(Attitude ) เป็นส่วนมาก ซึ่งหมายถึงเรื่องนั้นจะมีความคิด ความเชื่อ ที่มีความรู้สึกเป็นองค์ประกอบ การออกแบบเนื้อหา จะต้องจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงหรืออ้อมที่มีผลต่อความรู้สึกที่เพียงพอ และจัดให้มีการสะท้อน(Reflection) อภิปราย(Discussion) ที่มีผลต่อการจัดระบบความคิดและความเชื่อของผู้เรียนรู้

·  เมื่อเรื่องทีต้องการถ่ายทอดสู้ผู้เรียนรู้มีด้านความรู้เหตุผล(Knowledge ) เป็นส่วนมาก ซึ่งหมายถึงเรื่องนั้นจะต้องมีกรอบแนวคิด ทฤษฎี องค์ความรู้ ที่ถูกทำให้ง่าย มีความชัดเจนและเป็นระบบ และจัดให้มีการสะท้อน(Reflection) อภิปราย(Discussion) ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ได้ด้วยตนแอง

·  เมื่อเรื่องทีต้องการถ่ายทอดสู้ผู้เรียนรู้มีด้านทักษะ(Skill ) เป็นส่วนมาก ซึ่งหมายถึงเรื่องนั้นจะต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาที่มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำได้โดยง่าย การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนรู้ การสาธิตได้ชัดแจ้งเห็นจริง และจัดให้มีการปฏิบัติจริง (Action)

 การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จะต้องมีครบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ประสบการณ์ การสะท้อน/อภิปราย  ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด การประยุกต์/ปฎิบัติ นั่นคือการบรรลุงานสูงสุดเมื่อมีการออกแบบงานครบ


หมายเลขบันทึก: 527748เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2013 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2013 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท