เอสเอ็มเอส (SMS) ทำให้มีการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือเป็นจำนวนมาก การที่แต่ละคนกดส่งข้อความค่อนข้างมากในแต่ละวันจึงทำให้เกิดการเจ็บปวดของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ขึ้นมาและเรียกความผิดปกติของนิ้วมือนี้ว่า “นิ้วล็อค”


ในขณะนี้โทรศัพท์มือถือได้มีเทคโนโลยีการใช้กดส่งข้อความหรือที่เรียกว่า เอสเอ็มเอส (SMS) ทำให้มีการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือเป็นจำนวนมาก การที่แต่ละคนกดส่งข้อความค่อนข้างมากในแต่ละวันจึงทำให้เกิดการเจ็บปวดของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ขึ้นมาและเรียกความผิดปกติของนิ้วมือนี้ว่า “นิ้วล็อค” จากการศึกษาในประเทศอังกฤษพบว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยนิ้วล็อคเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 ปีที่แล้วถึงร้อยละ 38 หรือแต่ละปีมีผู้ป่วยนิ้วล็อคประมาณ 3,800,000 คน ทั้งนี้ในแต่ละวันผู้ป่วยดังกล่าวใช้โทรศัพท์มือถือกดส่งข้อความโดยเฉลี่ยคนละ 20 ข้อความ

โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ : ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
รองศาสตราจารย์บัญญัติ สุขศรีงาม
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา

        โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงที่มีใช้อย่างแพร่หลาย อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารหรือค้นคว้าหาข้อมูลหรือการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่จำเป็นต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ รวมทั้งจำเป็นต้องมีโทรศัพท์มือถือเพื่อแสดงถึงความทันสมัย การใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน
        เมื่อไม่นานมานี้ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รายงานผลการศึกษาภาพรวมสุขภาพของคนไทยในปี พ.ศ.2547 โดยใช้ตัวชี้วัดหรือดัชนี 10 สถานการณ์ที่มีผลต่อการคุกคามสุขภาพคนไทยพบว่า พิษภัยจากโทรศัพท์มือถือและเครื่องคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยสูงเป็นอันดับที่ 9 ซึ่งรายละเอียดดังนี้
        1. โทรศัพท์มือถือ
        ในปัจจุบันมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทุกเครือข่ายมากกว่า 27.2 ล้านคนและคาดว่าในปี พ.ศ.2548 จะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นเป็น 30.5 – 31 ล้านคน โทรศัพท์มือถือแต่ละเครื่องจะใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานและเมื่อแบตเตอรี่เสื่อมสภาพก็จะทิ้งไป ทำให้สารพิษจากแบตเตอรี่มีอันตรายต่อสุขภาพและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดมะเร็ง เนื่องจากมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ร่างกาย ที่พบกันมากก็คือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งสมอง มักพบในผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีคำเตือนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือครั้งละนาน ๆ เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองยังเจริญพัฒนาไม่เต็มที่และยังมีกะโหลกศีรษะไม่แข็งแรงที่จะทนทานต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์มือถือ
        อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้โทรศัพท์มือถือได้มีเทคโนโลยีการใช้กดส่งข้อความหรือที่เรียกว่า เอสเอ็มเอส (SMS) ทำให้มีการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือเป็นจำนวนมาก การที่แต่ละคนกดส่งข้อความค่อนข้างมากในแต่ละวันจึงทำให้เกิดการเจ็บปวดของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ขึ้นมาและเรียกความผิดปกติของนิ้วมือนี้ว่า “นิ้วล็อค” จากการศึกษาในประเทศอังกฤษพบว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยนิ้วล็อคเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 ปีที่แล้วถึงร้อยละ 38 หรือแต่ละปีมีผู้ป่วยนิ้วล็อคประมาณ 3,800,000 คน ทั้งนี้ในแต่ละวันผู้ป่วยดังกล่าวใช้โทรศัพท์มือถือกดส่งข้อความโดยเฉลี่ยคนละ 20 ข้อความ
        2. คอมพิวเตอร์
        คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ได้มากมาย การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานต่อเนื่องกันจะทำให้มีผลเสียต่อสุขภาพที่พบมาก ได้แก่ ปวดตา นัยน์ตาพร่า ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดคอ ปวดเอวและปวดกล้ามเนื้อที่ข้อมือ
แขนและขา เนื่องจากต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน นอกจากนี้ในขณะใช้คอมพิวเตอร์ก็จะมีรังสีและความร้อนออกมาด้วยซึ่งก็มีผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นกัน
        ท่านผู้ฟังที่เคารพ โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฮเทคหรือเทคโนโลยีระดับที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้อย่างมาก แต่ก็ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน ดังนั้นการใช้โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและแต่ละครั้งต้องไม่ใช้เป็นเวลานานเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ดังกล่าวมาแล้ว ถ้าหากทำได้เช่นนี้ก็จะช่วยให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วยครับ


คำสำคัญ (Tags): #นิ้วล็อกม.บูรพา
หมายเลขบันทึก: 52672เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2006 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท