ตามไปดู คนพม่าบริจาคเลือด(ย่างกุ้ง)


สำหรับคนพม่าแล้ว การเป็นกัปปิยะวัดใหญ่ๆ หลายแห่งเป็นเรื่องแห่งความภาคภูมิใจ เป็นบุญเป็นกุศลที่ต้องเข้าคิวกันทีเดียว

                

  • ผู้เขียนมีโอกาสไปทำบุญที่พม่ามา 2 ครั้ง ปีนี้ตั้งใจเตรียมพลาสเตอร์ยากับเงินไปบริจาคให้คลังเลือด โรงพยาบาลย่างกุ้ง (Yangon General Hospital)

ตอนรอเครื่องบินที่สนามบินเชียงใหม่ก็ได้พบคนไทยใจดีคือ คุณคนึงนิจ บ้านอยู่ท่าศาลา ลำปางนี่เอง เป็นบุคลากรสถานฑูตไทยในเมืองย่างกุ้ง <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ท่านเล่าว่า ชอบไปทำบุญที่พระเจดีย์ชเวดากองมาก ชอบนำของไปบริจาคเลือดที่คลังเลือด โรงพยาบาลย่างกุ้งด้วย </div></li></ul>ครั้งหนึ่งท่านนำถุงบริจาคเลือดจากเมืองไทยไปบริจาคด้วย นับว่า น่ากราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุเป็นอย่างยิ่ง <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">         </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify"> อาจารย์ปุ๊ก คนไทยที่ไปปฏิบัติธรรม ณ วัดแฌมเญ่ แนะนำให้รู้จักกับท่านอาจารย์ อู เข่ง จี วีน อดีตอาจารย์คณิตศาสตร์ ซึ่งเกษียณจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ปัจจุบันอายุ 59 ปี </div></li></ul>อาจารย์วีนทำงานอาสาสมัคร(กัปปิยะ)ที่ห้องพยาบาล ทำหน้าที่คล้ายเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขที่วัดแฌมเญ่สัปดาห์ละ 1 วัน การทำงานวัดอาจจะดูเป็นเรื่อง เด็กวัด ธรรมดาๆ ในสายตาคนไทย <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify"> ทว่า… สำหรับคนพม่าแล้ว การเป็นกัปปิยะวัดใหญ่ๆ หลายแห่งเป็นเรื่องแห่งความภาคภูมิใจ เป็นบุญเป็นกุศลที่ต้องเข้าคิวกันทีเดียว </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">อาจารย์วิเชียรบอกว่า วัดแฌมเญ่ที่ไปอาศัยพักมีกัปปิยะหมุนเวียนกันวันละประมาณ 35 ท่าน กัปปิยะเหล่านี้จะเริ่มมาทำกับข้าวกันตั้งแต่ตี 3 ครึ่ง</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">กัปปิยะที่ใหญ่ที่สุดเป็นกลุ่มกรรมการวัด จะนำพระออกบิณฑบาตในวันพระ สวมเสื้อนอกพม่า นุ่งโสร่งเรียบร้อย ถือขันเงิน ภายในมีจดหมายข่าววัดพร้อม และที่สำคัญต้องไม่สวมรองเท้า</div></li></ul>เวลาคนพม่าจะใส่เงินทำบุญจะใส่ในขันเงินนี้ กรรมการท่านจะกล่าวสาธุการเรียบร้อย กลับถึงวัดจะนับกันอย่างเปิดเผย มีกรรมการวัดเซ็นต์ชื่อรับรองคราวละ 3 ท่าน <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> พระที่วัดเวลาบิณฑบาตจะทอดสายตาลงต่ำ ทำให้เสี่ยงรถชน… การมีกัปปิยะนำจึงช่วยให้พระปลอดภัย เพราะกัปปิยะจะหาจังหวะ กั้นรถให้หยุดก่อน หลังจากนั้นจึงให้พระข้ามถนน </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">เมื่อพระบิณฑบาตได้ระยะหนึ่งจะมีการถ่ายข้าวในบาตรพระออกใส่หม้อแขกขนาดยักษ์ในรถกระบะ กัปปิยะธรรมดาๆ จะขอรับบาตรพระมาเท และส่งคืนให้เรียบร้อย</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> เวลา ขโยมพม่า(ไทย = โยม)ถวายกับข้าว จะนำชามมาแตะบาตรพระเป็นอันรับประเคนเสร็จสรรพ กัปปิยะต้องหาถุงพลาสติกมาถ่ายให้พระ </div></li></ul>ที่รู้พิธีการอย่างนี้ก็เพราะอาจารย์วิเชียรท่านขออนุญาตสยาด่อ(พระอาจารย์) ขอให้ท่านและผู้เขียนได้ประสบการณ์ตามพระออกบิณฑบาตในวันพระพม่า(พฤหัสบดี 21 กันยายน 2549)  <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ขอกลับมาที่อาจารย์วีน… ท่านตั้งใจจะไปบริจาคเลือดครั้งที่ 110 พอดี คณะคนไทย(อาจารย์ปุ๊ก อาจารย์วิเชียร และผู้เขียน)จึงขอไปด้วย ผู้เขียนเตรียมพลาสเตอร์ยากับเงินไปทำบุญที่คลังเลือดในวันจันทร์ที่ 18 กันยายน 2549 </div></li></ul>คนพม่านิยมบริจาคเลือดคล้ายคนไทยเช่นกัน หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทม์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ร่วมลงทุนพม่า-ออสเตรเลีย ตีพิมพ์ข่าวออนไลน์(ทางอินเตอร์เน็ต)ลงข่าวบริจาคเลือดเป็นประจำ <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> อาจารย์พยาธิแพทย์ ที่ปรึกษาอาวุโสของคลังเลือดแห่งชาติพม่าคือ ท่านอาจารย์แพทย์หญิงติดา ออง (Dr. Thida Aung) เรียกร้องให้คนพม่าช่วยกันบริจาคเลือดให้มากขึ้น </div></li></ul>หนังสือพิมพ์พม่ามีดีอย่างหนึ่งคือ ลงข่าวคนทำดีบ่อยมาก โดยเฉพาะนำเรื่องของคนบริจาคเลือดมาตีพิมพ์เป็นประจำ <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify"> ปีกลายนี้ (2548) มีข่าวบุคลากรสถานฑูตสหราชอาณาจักร(หมู่เกาะอังกฤษ)ไปบริจาคเลือด อาจารย์แพทย์พม่าชมกันเกรียว </div></li></ul>นับว่า ท่านผู้นี้มีส่วนสำคัญในการเยียวยาบาดแผลในหัวใจชาวพม่า ทำให้คนพม่าได้เมตตาในคนอังกฤษเพิ่มขึ้นมากมาย <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ผู้เขียนทราบจากอาจารย์ โก ตูน ตูน (Go Tun Tun) คนขับรถแท็กซี่ โรงแรมซิลเวอร์ สวอน (Silver Swan Hotel) เมืองมัณฑเลย์ว่า เวลาเลือดขาด… โรงพยาบาลมักจะไปปรึกษาสยาดอ หรือพระอาจารย์ที่วัด </div></li></ul>พระอาจารย์ท่านจะบอกบุญพระบ้าง ญาติโยมบ้าง ในที่สุดก็จะได้เลือด เพราะคนพม่าเป็นโรคเกรงใจพระ(โรคอย่างนี้ดีจัง) <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> เมืองย่างกุ้งมีสมาคมที่จัดพิธีบริจาคเลือดเป็นประจำหลายแห่ง ขอยกเรื่องราวของสมาคมมิงกาล่า บิว ฮาร์ (Mingalar Byu Har) ในเขตบาฮันมาเล่าสู่กันฟัง… </div></li></ul>สมาคมนี้เป็นสมาคมชาวพุทธ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1956 (2499) สมาคมนี้จัดพิธีการบริจาคเลือดมาตั้งแต่ปี 1980 (2523) รับบริจาคเลือดทุกๆ 4 เดือน <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ต่อมามีปัญหาเลือดไม่พอใช้ จึงทำพิธีรับบริจาคเลือดทุกๆ 2 เดือน รวมเลือดจากผู้มีจิตศรัทธามาได้ประมาณ 22,000 ถุง หรือเฉลี่ยวันละ 7 ถุง </div></li></ul>เดือนนี้(กันยายน 2549) มีผู้ร่วมพิธีบริจาคเลือด 700 ท่าน ผลการตรวจความเข้มข้นเลือดผ่านประมาณ 60% <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทม์ไปสัมภาษณ์คุณครู ดอว์ เมย์ เต๊ด ยี (Day May Thet Yi) ครูโรงเรียนรัฐบาลที่เกษียณแล้ว อายุ 47 ปี บริจาคมาแล้วเป็นปีที่ 4 ครั้งที่ 10 </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ท่านเป็นผู้จัดตั้งกลุ่ม เมตตา ในปี 2546 ชวนเพื่อนบ้านมาร่วมพิธีบริจาคเลือด ครั้งแรกรวมกลุ่มได้ 12 ท่าน</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> เพื่อนๆ บอกกัน… ปากต่อปาก ทำให้มีคนเข้าร่วมกลุ่มเมตตามากขึ้นจนเป็น 172 ท่าน นับว่า น่ากราบอนุโมทนาสาธุการเป็นอย่างยิ่ง </div></li></ul>อู เข่ง จี วีน อดีตอาจารย์คณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ท่านให้บทความสัมภาษณ์ผู้บริจาคเลือดที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เมียนมาร์ ไทม์ปี 2548 <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ท่านแรกเป็นอาจารย์ อู เข่ง จี วีนเอง… อาจารย์ท่านบริจาคเลือดมาตั้งแต่อายุ 21 ปี ปี 2548 ท่านมีอายุ 58 ปี บริจาคเลือดได้ 107 ครั้ง </div></li></ul>ท่านเล่าว่า ก่อนบริจาคจะนอนเต็มที่ล่วงหน้า 1 เดือน และรักษาสุขภาพอย่างดีมาตลอด 37 ปี เพื่อที่จะบริจาคเลือดให้ได้นานที่สุด(เท่าที่จะเป็นไปได้) <p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ท่านที่สองคือ โก วีน เฏย์ (Ko Winn Htay) ท่านเป็นนักสาธารณสุข โรงพยาบาลย่างกุ้ง ทราบว่า โรงพยาบาลขาดเลือด จึงเริ่มบริจาคเลือด </div></li></ul>ท่านเล่าว่า โรงพยาบาลย่างกุ้งต้องการเลือดเดือนละประมาณ 2,000 ถุง ทว่า… มีผู้บริจาคขาประจำเพียง 500 คน หรือประมาณ 1 ใน 4 ของความต้องการ <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ท่านที่สามคือ หม่าวง์ วิ้นต์ โกะ โกะ (Maung Wint Ko Ko) คุณแม่ของท่านทำงานที่คลังเลือด โรงพยาบาลย่างกุ้ง บริจาคมาแล้ว 3 ครั้ง ปัจจุบันอายุ 18 ปี </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ขอกลับมาที่อาจารย์วีน เราเดินทางไปคลังเลือด โรงพยาบาลย่างกุ้ง… </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> การคัดกรองผู้บริจาคเลือด มีการให้กรอกประวัติ เพื่อคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ชั่งน้ำหนัก ตรวจความเข้มข้นเลือด วัดความดันเลือด </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">จุดที่ต่างกันมากคือ การตรวจความเข้มข้นเลือดเริ่มด้วยการเจาะปลายนิ้ว เจ้าหน้าที่จับปลายนิ้วมือไว้เหนือสารละลายประมาณ 3.5 ซม. แล้วปล่อยให้เลือดหยดลงไปในสารละลาย </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">การไม่มีหลอดเล็กๆ รองรับเลือดก่อนหยด ทำให้ดูหวาดเสียวเล็กน้อย</div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">อาจารย์ อู เข่ง จี วีน ท่านผ่านการตรวจทุกขั้นตอนมาโดยลำดับ ในที่สุดท่านก็ได้บริจาคเลือดครั้งที่ 110 สมตามความตั้งใจ </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">    </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ผู้เขียนนำพลาสเตอร์ยา 18 กล่องๆ ละ 100 แผ่น และเงินพม่า 70,000 จั๊ต(ประมาณ 1,935 บาท) บริจาคให้คลังเลือดพม่าในวันเดียวกัน </div></li></ul>ให้แล้วรู้สึกเหมือนยังไม่อิ่ม(บุญ)เท่าที่ควร ตั้งใจว่า จะพยายามหาโอกาสไปทำบุญให้มากขึ้นไปกว่านี้อีก <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">ถึงตรงนี้… ผู้เขียนขอกราบอนุโมทนา อนุโมทนาสาธุกับท่านบริจาคเลือดทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นชาวพม่า ไทย ลาว หรือจะเป็นชาติใดก็ตาม</div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">แหล่งข้อมูล:                             </p><ul>

  • ขอขอบพระคุณ > Dr. Nwe Nwe Oo (อาจารย์ พญ. เหนว่ เหนว่ อู). Blood Bank. Yangon General Hospital. September 18, 2006.
  • ขอขอบพระคุณ > U Khaing Kyi Winn (อาจารย์ อู เข่ง จี วีน). Myanmar blood donor. Septemver 18, 2006.
  • ขอขอบพระคุณ > ศ. วิเชียร นิตยะกุล. (อาจารย์เกษียณจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ปุ๊ก. (คนไทย ล่ามภาษาพม่า). วัดแฌมเญ่ (Chanmyay Yeiktha Meditation Center). Yangon.
  • ขอขอบคุณ > Khin Hninn Phyn. Blood donating ceremonies save lives one unit at a time. >  http://www.myanmar.com/myanmartimes/MyanmarTimes17-334/n020.htm > September 18-24, 2006. Vol.17, No. 334.
  • ขอขอบคุณ > Sandar Linn. Your Opinion: Do blood donors understand that their gift of life needs to be safe? The Myanmar Times. October 31-November 6, 2005.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙
  • </ul>

    หมายเลขบันทึก: 52538เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2006 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (6)

    เรียนท่านผู้อ่านทุกท่าน...                             

    • ไม่ทราบว่าระบบ Go2Know ขัดข้องอะไร > แทรกลิ้งค์ภาพใหญ่ไม่ได้ > พยายามมา 4-5 ครั้งแล้ว

    ขอเรียนเชิญชมภาพใหญ่ที่นี่ >                      

    • ดีใจที่ได้อ่านเรื่องหลังจากคุณหมอไปพม่านานมาก
    • ขออนุโมทนาด้วยครับผมที่ไปทำบุญที่พม่า สาธุ สาธุ

    ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ไปพม่าไม่นานเลยครับ (17-24 กย. 24) > สัปดาห์เดียวเอง อยากจะไปนานกว่านี้หน่อย
    • ขออนุโมทนามในกุศลเจตนาของอาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

    อ่านแล้วนะค่ะ 

        อยากบริจากเลือดเหมือนกันค่ะ แต่เป็นคนที่กลัวเลือดมาก

    ขอขอบคุณอาจารย์ปารินุช และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของอาจารย์ที่อยากจะบริจาคเลือดล
    • กลัวก็ไม่ต้องตกใจครับ...

    หลานผม(ตอนนี้เรียนวิศวฯ ปี 1) >

    • เดิมกลัวมาก แต่อยากได้บุญ > เธอไปชวนเพื่อนบริจาคเลือดได้ 1 คน > ดีใจใหญ่ > ปีนี้คุณแม่ผม(คุณยายของหลาน)ป่วยหนัก > หลานผมมีโอกาสบริจาคเลือดให้คุณยาย 2 ครั้ง... สาธุ สาธุ สาธุ

    น้องสาวผมนี่กลัวเข็มยิ่งกว่าหลานหลายเท่า...

    • ผมชวนเธอไปบริจาคเลือดหลายสิบครั้ง > ยังไม่สำเร็จ
    • พอคุณแม่ป่วย > น้องเกิดอยากได้บุญขึ้นมาแบบเฉียบพลัน > บริจาคเลือดให้คุณแม่ได้ถึง 2 ครั้ง
    • ครั้งแรกกลัวมาก > ขอนักเทคนิคการแพทย์สวด "นโม ตัสสะ..." 3 จบก่อน
    • พอให้จริงๆ แล้ว > เธอดีใจมากครับ... บอกจะให้เลือดเป็นประจำ

    ขอเสนอทางเลือกสำหรับคนที่กลัวเข็ม หรือกลัวเลือดอย่างนี้...

    • ติดต่อศูนย์บริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย > ขอบริจาคแก้วตา (cornea) + อวัยวะหลังเสียชีวิต > ให้แล้วบอกญาติ เพื่อนๆ + พกบัตรประจำตัวทุกวัน
    • อธิฏฐาน > ขอให้ได้มีโอกาสบริจาคเลือดโดยเร็ว... ทำอย่างนี้บ่อยๆ อย่างน้อยเช้า-เย็น
    • ขอติดตามผู้บริจาคเลือดไปดูเขาบริจาค + ถามเขาว่า บริจาคนี่ดีอย่างไร...
    • ทำบุญบริวารของการบริจาคเลือด เช่น ซื้อพลาสเตอร์ยาให้คลังเลือดพม่า-ลาว-เขมร ซื้อเครื่องดื่มหรือขนมให้ผู้บริจาค บริจาคเงินให้คลังเลือด ขอขับรถรับ-ส่งผู้บริจาคเลือดไปคลังเลือด ฯลฯ

    วิธีที่ดีที่สุดคือ.. ลองทำดีสักครั้ง...

    • ไปบริจาคเลือดวันนี้เลย
    • ขึ้นเตียงแล้วหลับตา > ไม่ต้องมองเลือด
    • พยาบาล หรือนักเทคนิคการแพทย์... ท่านจะจัดการให้เสร็จอย่างดีเยี่ยม > นับเป็นทานที่เหนื่อยน้อยที่สุด(ตอนให้อยู่เฉยๆ บีบมือ+คลายมือตามกำหนดเท่านั้น)
    • ให้เสร็จแล้ว... ถามตัวเองว่า คุ้มไหมที่ทำอย่างนี้ + ถามผู้บริจาคท่านอื่นด้วยว่า ทำอย่างนี้คุ้มไหม

    ถ้านับถือพระพุทธศาสนา >

    • ทำบุญใหญ่อย่างนี้แล้ว ควรนำบุญไปกราบพระเจดีย์ พระพุทธรูป > ขอถวายบุญนี้บูชาการตรัสรู้ดี การบำเพ็ญพุทธกิจดีของพระพุทธเจ้า...
    • พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมา > ให้เลือดเป็นทานนับชาติไม่ถ้วน ปริมาณเลือดมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 (ทั้งในโลก และที่มองไม่เห็น)
    • แม้เราก็ขอบริจาคเลือดประมาณน้อยในกายนี้ > บูชาการบำเพ็ญพระพุทธบารมีของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์...

    โดยนัยแห่งพระสูตร >

    • ผู้บริจาคเลือดย่อมถึงซึ่งการเกิดในสุคติ(เทวดา หรือมนุษย์) เป็นผู้มีอายุยืน(เพราะให้ชีวิต หรือกำลัง) มีกำลังมาก(คนซีดไม่มีแรง) มีโรคน้อย(เพราะให้ยาหรือเลือดเป็นยา) หรือหายจากโรค > เมื่อบุญถึงความสุกงอม(พร้อมที่จะให้ผล)
    • ผู้บริจาคเลือด + นำบุญไปบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือตั้งความปรารถนาเพื่อพระนิพพาน > ย่อมถึงฝั่งคือ การบรรลุความเป็นพระอริยบุคคลในอนาคต

    ขอกราบอนุโมทนา + อนุโมทนาในกุศลเจตนาของท่านผู้บริจาคเลือด + อวัยวะ หรือมีส่วนส่งเสริม สนับสนุนการบริจาคทุกท่าน

    • ขอทุกท่านพึงมีความสุข ความเจริญ ความสำเร็จอันเกิดจากบุญที่กระทำไว้ดีแล้วทุกท่านเทอญ...

     

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท