เวลานี้ เกิดคำถามว่า
1) ทำไมคนอีสานที่เดินทางกันเป็นหมู่คณะ นั่งหลังรถกระบะเดินทางไปต่างสถานที่ ต้องถูกตรวจเข้มด้วย ทีเมื่อก่อนไม่เห็นถูกตรวจแบบนี้??
คำถามแรก เพื่อนของนายบอนตั้งคำถามด้วยความประหลาดใจ และคำถามที่สอง เพื่อนที่มีพ่อเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ... อบต. เป็นคนถาม เป็นคำถามที่สะท้อนหลายสิ่งที่ยังไม่มีคำอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นให้กระจ่างชัดมากนัก การที่ถูกตรวจเข้มจากเจ้าหน้าที่ เมื่อหลายคนต้องเดินทางเป็นหมู่คณะ เป็นการเฝ้าระวังสถานการณ์การก่อความไม่สงบ ก่อความรุนแรง โดยกลุ่มคณะบุคคลที่ใช้พลังมวลชนในการเคลื่อนไหวเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง
ในวิถีชีวิตปกติของหลายคน ต่างทำมาหากินตามปกติ หลายคนไม่เคยได้ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองแต่อย่างใด และหลายคนก็ไม่รู้ตัวเลยว่า ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมเหล่านั้นแล้ว
เพื่อนของนายบอนที่เป็นลูกชายของ อบต. เกิดความสงสัยว่า ทำไมหลายคนจึงเพ่งเล็ง มองพ่อของเขา และทีมงานพัฒนาท้องถิ่นที่เขารู้จัก ด้วยสายตาที่แปลกไป
มีหลายคนสงสัย แต่ไม่ได้ถามเพื่อนคนนั้น ทำไมตั้งแต่รุ่นปู่ ลุง น้า จนถึงพ่อของเขา จึงทำหน้าที่เป็น อบต.มาตลอด และดูเหมือนว่า เพื่อนคนนั้นก็จะสืบทอดตำแหน่งใน อบต.ต่อไป
นักการเมืองท้องถิ่น เป็นตัวแทนของชาวบ้าน เข้ามาทำหน้าที่ในด้านการบริหาร-พัฒนาท้องถิ่น และมีกำหนดวาระการทำงาน ได้รับเลือกตั้งเข้ามาตามวาระ
มีผู้อธิบายความสัมพันธ์ของการเกิดขึ้นของพลังมวลชนทางการเมืองว่า เกิดจากนักการเมืองระดับชาติ สร้างเครือข่ายกับนักการเมืองระดับท้องถิ่น ให้มาอยู่เป็นกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน มีการจัดการผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้น นักการเมือง ย่อมจะมีทีมงานในเครือข่ายในการดำเนินงานด้านของมวลชนสัมพันธ์ ทั้งให้ข้อมูล ขอความร่วมมือ เป็นแนวร่วม
ในการดูแลความสงบของบ้านเมืองในเวลานี้ จึงต้องจับตาความเคลื่อนไหวของกลุ่มเครือข่าย นักการเมือง และพลังมวลชน
มีผู้เสนอความคิดเห็นไว้ว่า เมื่อกลุ่มพลังมวลชนมีบทบาทสำคัญ ในสถานการณ์ที่สังคมแตกแยกทางความคิดเป็น 2 ฝ่าย หากฝ่ายรักษาความสงบ ดึงมวลชนเหล่านั้นเข้ามา (อย่ากีดกัน แบ่งแยกแต่ละฝ่าย) ให้ข้อมูลความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน กลุ่มนักการเมืองที่พยายามจะใช้พลังมวลชนในการเคลื่อนไหว ก็จะหมดความสำคัญลง ทำได้เพียงการเคลื่อนไหวในทางการเมืองกลุ่มเล็กๆ ไม่มีอิทธิพล ไม่มีบทบาทในการก่อให้เกิดความรุนแรง
ซึ่งต้องใช้เวลาในการดึงมวลชนและให้ข้อมูลความรู้ เพื่อความสมานฉันท์ต่อไป
1) ทำไมคนอีสานที่เดินทางกันเป็นหมู่คณะ นั่งหลังรถกระบะเดินทางไปต่างสถานที่ ต้องถูกตรวจเข้มด้วย ทีเมื่อก่อนไม่เห็นถูกตรวจแบบนี้??
2) ทำไมหลายคนจึงมองผู้ที่ทำประโยชน์ให้ท้องถิ่นด้วยความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจเหมือนแต่ก่อน เกิดอะไรขึ้น??
คำถามแรก เพื่อนของนายบอนตั้งคำถามด้วยความประหลาดใจ และคำถามที่สอง เพื่อนที่มีพ่อเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ... อบต. เป็นคนถาม เป็นคำถามที่สะท้อนหลายสิ่งที่ยังไม่มีคำอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นให้กระจ่างชัดมากนัก การที่ถูกตรวจเข้มจากเจ้าหน้าที่ เมื่อหลายคนต้องเดินทางเป็นหมู่คณะ เป็นการเฝ้าระวังสถานการณ์การก่อความไม่สงบ ก่อความรุนแรง โดยกลุ่มคณะบุคคลที่ใช้พลังมวลชนในการเคลื่อนไหวเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง
ในวิถีชีวิตปกติของหลายคน ต่างทำมาหากินตามปกติ หลายคนไม่เคยได้ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองแต่อย่างใด และหลายคนก็ไม่รู้ตัวเลยว่า ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมเหล่านั้นแล้ว
เพื่อนของนายบอนที่เป็นลูกชายของ อบต. เกิดความสงสัยว่า ทำไมหลายคนจึงเพ่งเล็ง มองพ่อของเขา และทีมงานพัฒนาท้องถิ่นที่เขารู้จัก ด้วยสายตาที่แปลกไป
ทำไมต้องให้พ่อ ให้ญาติของเขา ไปรายงานตัวที่หน่วยทหารด้วย ทั้งๆที่ไม่เห็นเคยทำผิดอะไรเลย
มีหลายคนสงสัย แต่ไม่ได้ถามเพื่อนคนนั้น ทำไมตั้งแต่รุ่นปู่ ลุง น้า จนถึงพ่อของเขา จึงทำหน้าที่เป็น อบต.มาตลอด และดูเหมือนว่า เพื่อนคนนั้นก็จะสืบทอดตำแหน่งใน อบต.ต่อไป
นักการเมืองท้องถิ่น เป็นตัวแทนของชาวบ้าน เข้ามาทำหน้าที่ในด้านการบริหาร-พัฒนาท้องถิ่น และมีกำหนดวาระการทำงาน ได้รับเลือกตั้งเข้ามาตามวาระ
มีผู้อธิบายความสัมพันธ์ของการเกิดขึ้นของพลังมวลชนทางการเมืองว่า เกิดจากนักการเมืองระดับชาติ สร้างเครือข่ายกับนักการเมืองระดับท้องถิ่น ให้มาอยู่เป็นกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน มีการจัดการผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้น นักการเมือง ย่อมจะมีทีมงานในเครือข่ายในการดำเนินงานด้านของมวลชนสัมพันธ์ ทั้งให้ข้อมูล ขอความร่วมมือ เป็นแนวร่วม
ถ้ากลุ่มเครือข่าย มีแนวทางการดำเนินงานที่ดี พลังของมวลชนจะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีๆออกมา
แต่หากตรงกันข้าม เมื่อไม่พอใจสิ่งใด กลุ่มเครือข่ายสามารถใช้พลังมวลชนเพื่อการแสดงออกในเชิงต่อต้าน ก่อความรุนแรง แสดงพลังต่างๆกลุ่มพลังมวลชน จึงเป็นเครื่องมือของฝ่ายธรรมะ หรืออธรรมได้ทั้งนั้น
ในการดูแลความสงบของบ้านเมืองในเวลานี้ จึงต้องจับตาความเคลื่อนไหวของกลุ่มเครือข่าย นักการเมือง และพลังมวลชน
มีผู้เสนอความคิดเห็นไว้ว่า เมื่อกลุ่มพลังมวลชนมีบทบาทสำคัญ ในสถานการณ์ที่สังคมแตกแยกทางความคิดเป็น 2 ฝ่าย หากฝ่ายรักษาความสงบ ดึงมวลชนเหล่านั้นเข้ามา (อย่ากีดกัน แบ่งแยกแต่ละฝ่าย) ให้ข้อมูลความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน กลุ่มนักการเมืองที่พยายามจะใช้พลังมวลชนในการเคลื่อนไหว ก็จะหมดความสำคัญลง ทำได้เพียงการเคลื่อนไหวในทางการเมืองกลุ่มเล็กๆ ไม่มีอิทธิพล ไม่มีบทบาทในการก่อให้เกิดความรุนแรง
ซึ่งต้องใช้เวลาในการดึงมวลชนและให้ข้อมูลความรู้ เพื่อความสมานฉันท์ต่อไป
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นายบอน@kalasin ใน keep in mind by bon
คำสำคัญ (Tags)#วิธีคิด#การเมือง#สมานฉันท์#พลังมวลชน#เครื่องมือทางการเมือง#เครือข่ายการเมือง
หมายเลขบันทึก: 52536, เขียน: 29 Sep 2006 @ 12:04 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 16:00 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก