อังกฤษปลูกถ่ายตับแบบ'ไม่หล่อเย็น'สำเร็จ



.

.
ภาพที่ 1: ทีมผ่าตัดจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด อังกฤษ (UK), ทีมพัฒนาเครื่องหล่อน้ำเลี้ยงตับ (OrganOx team) > [ reuters ]
.

.
ภาพที่ 2: อุปกรณ์ช่วยในการปลูกถ่ายตับของบริษัท OrganOx มีระบบส่ง "น้ำเลี้ยง" เสริมออกซิเจน-สารอาหาร-เกลือแร่ ให้ไหลผ่านหลอดเลือดตับทันทีที่ตัดออกจากผู้บริจาค [ OrganOx ]
.
เดิมใช้วิธีตัดออก แล้วใช้น้ำแข็งทำเป็น "ตับแช่เย็น", ช่วงปลูกถ่ายจะมีการอุ่นตับให้อุณหภูมิใกล้เคียงร่างกายใหม่ ทำให้เกิดความเสียหายต่อตับเป็นบางส่วน
.
วิธีใหม่ใช้วิธี "ไม่หล่อเย็น", เลี้ยงตับไว้ที่อุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกาย และส่ง "น้ำเลี้ยง" เข้าๆ ออกๆ แทน ทำให้ได้ตับที่มีคุณภาพดีขึ้น

ภาพที่ 3: แสดงอวัยวะทางเดินอาหาร จากปาก-ลิ้นลงไป > หลอดอาหาร (esophagus - สีส้ม), กระเพาะอาหาร (stomach - สีส้ม), ลำไส้เล็ก (small intestine - แต้มสีส้ม), ลำไส้ใหญ่ (colon - สีเขียว), ไส้ตรง (rectum - สีฟ้าปนน้ำเงิน), ทวารหนัก (anus - สีน้ำเงิน) [ wikipedia ]
.
ตับอยู่ในช่องท้องส่วนบนทางขวา (liver - แต้มสีแดง), ท่อน้ำดีจากตับ (bile duct - แต้มสีน้ำเงิน), ถุงน้ำดี (ball bladder - แต้มสีเขียว), ตับอ่อน (pancreas - สีเขียวอ่อน ซ่อนอยู่หลังกระเพาะอาหาร)
.

.
ภาพที่ 4: แสดงอวัยวะทางเดินอาหาร จากกระเพาะอาหาร (stomach) > ลำไส้เล็ก (small intestine) > ลำไส้ใหญ่ (colon) > ไส้ตรง (rectum) > ทวารหนัก (anus) ตามลำดับ [ wikipedia ]
.
ไส้ติ่ง (appendix) อยู่ในช่องท้องด้านล่างทางขวา
.
คนบางคนมีอวัยวะกลับข้างซ้าย-ขวา (situs inversus) ทำให้พบไส้ติ่งอยู่ทางซ้ายได้ประมาณ 0.001-0.01% = 1/แสน-1/หมื่น = 10,000-100,000 คน พบไส้ติ่งอยู่ทางซ้ายได้ 1 คน [ PubMed ]
.
ภาวะนี้พบร่วมกับหัวใจอยู่กลับข้าง คือ หัวใจอยู่ค่อนไปทางขวาได้
.
สถิติคนเป็นไส้ติ่งอักเสบ + อยู่ผิดข้าง (ไปทางซ้าย) = 0.016-0.024% = 1.6-2.4/หมื่น = คนไข้ไส้ติ่งอักเสบ 10,000 คนพบไส้ติ่งอยู่ทางซ้าย 2 คน =  2/หมื่น
.

.
ภาพที่ 5: แสดงทางเดินอาหารจากปาก > หลอดอาหาร > กระเพาะอาหาร (stomach) > ลำไส้เล็ก (small intestine) > ลำไส้ใหญ่ (large intestine) > ทวารหนัก (anus) [ NIDDK.NIH ]
.
ตับ (liver; บาลี = ยะกะนัง) อยู่ในช่องท้องด้านบนทางขวา, ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายใบไม้ อยู่ค่อนไปทางด้านหลังกระเพาะอาหาร
.

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง Device keeps liver "alive" outside body in medical first
= "(เครื่องมือช่วย) เก็บตับให้มีชีวิต (นอกตัวคน) สำเร็จ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
เดิมการผ่าตัดปลูกถ่ายตับเป็นแบบ "แช่ตับเกือบแข็ง" ในถังน้ำยา หล่อเย็นด้วยน้ำแข็งก่อน  (kept 'on ice') แล้วค่อยๆ อุ่นตับให้ร้อนขึ้น ตอนปลูกถ่ายให้ผู้รับ
.
ทำแบบ "เดิมๆ" มาหลายสิบปี และพบว่าตับที่นำออกจากผู้บริจาคมีโอกาสปลูกถ่ายสำเร็จตามเวลา
.
ยิ่งนาน โอกาสปลูกถ่ายสำเร็จยิ่งน้อยลง คือ
  • ก่อน 14 ชั่วโมง > โอกาสสำเร็จสูง
  • 14-20 ชั่วโมง > โอกาสสำเร็จน้อยลง

.
ทีมวิศวกร-หมอ-พยาบาลอังกฤษ (UK) พัฒนาการปลูกถ่ายตับแบบใหม่ ทำสำเร็จไปแล้ว 2 ราย
.
ใช้เครื่อง "ส่งน้ำเลี้ยง" ที่มีการเติมออกซิเจน สารอาหาร เกลือแร่ และรักษาอุณหภูมิ (ความร้อนความเย็น) ให้ใกล้เคียงกับตอนอยู่ในร่างกาย ทำให้หลอดเลือดได้รับ "น้ำเลี้ยง" คล้ายกับอยู่ในร่างกายแทน
.
คนไข้ที่ต้องการตับใหม่ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการติดไวรัสตับอักเสบ โดยเฉพาะชนิด B-C, แอลกอฮอล์ (เหล้า ฯลฯ), พิษจากยาเกินขนาด หรือสารอาหารเป็นพิษ เช่น อาหารที่มีเชื้อรา ฯลฯ
.
ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญอังกฤษ (UK) คาดการณ์ว่า ต่อไปอังกฤษจะมีคนไข้ตับแข็งจากโรคไขมันเกาะตับมากขึ้น
.

.
โรคไขมันเกาะตับเป็นผลจากการออกแรง-ออกกำลังน้อย, โรคนั่งนาน (เกิน 1-1.5 ชั่วโมง/ครั้ง), น้ำหนักเกิน-อ้วน-อ้วนลงพุง, ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง เช่น เบาหวาน หลังกินอาหารมื้อใหญ่-งานเลี้ยง ฯลฯ
.
การลดความอ้วนเร็วๆ เกิน 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ และไม่ออกแรง-ออกกำลัง เพิ่มเสี่ยงไขมันเกาะตับ
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ ช่วงลดความอ้วน... จะมีการสลายไขมันเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น ทำให้ตับต้องทำงานหนักจนทนต่อไปไม่ไหว
.
การออกแรง-ออกกำลัง และไม่นั่งนาน (เกิน 1-1.5 ชั่วโมง/ครั้ง) จะทำให้กล้ามเนื้ออยู่ในภาวะ "หิวโหย" และกอบโกยน้ำตาล-ไขมันเข้าไปมากขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาล-ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
.

.
ยุโรป-สหรัฐฯ มีการปลูกถ่ายตับประมาณ 13,000 ราย/ปี และมีคนไข้ที่รอรับการปลูกถ่ายตับ (ตับแข็ง ตับวาย) ประมาณ 30,000 คน
.
โอกาสเสียชีวิตในระหว่างการรอปลูกถ่ายตับมีประมาณ 1/4 = 4 คน ทนรอต่อไม่ไหว ตายไป 1 คน
.
ยุโรป-สหรัฐฯ สูญเสียตับที่นำออกจากร่างแล้วนำไปปลูกถ่ายไม่ได้ มากกว่า 2,000 ก้อน/ปี
.
สาเหตุสำคัญได้แก่
  • ตับขาดออกซิเจนมาก หรือนานเกิน
  • ตับทนหนาวไม่ไหว แช่แข็งนานๆ แล้วสิ้นสภาพ ไม่กลับมาทำงานใหม่

.
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด อังกฤษ (UK) ทำการพัฒนาเครื่องสูบ "น้ำเลี้ยง" ทำให้มีน้ำเลี้ยงไหลเวียนผ่านหลอดเลือดตับตั้งแต่แรกนำออกจากร่าง (automated liver perfusion device)
.
ตับที่ได้รับ "น้ำเลี้ยง" มีการทำงานดี เช่น มีการสร้างน้ำดี ฯลฯ และมีชีวิตนานขึ้นเป็น 24 ชั่วโมง หรือนานกว่านั้นได้
.
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด พัฒนาเครื่องหล่อน้ำเลี้ยงตับ (OrganOx) ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1994/2537 หรือประมาณ 19-20 ปีก่อน
.
และคาดว่า จะผลิตเครื่องออกจำหน่ายได้ในครึ่งแรกของปี 2014/2557
.

.
วิธีป้องกันตับแข็ง-ตับเสื่อม-ตับวายได้แก่ [ umm.edu ]; [ webmd ]; [ niddk.nih ]; [ mayoclinic ]
.
(1). ไม่ดื่มหนัก (แอลกอฮอล์)
.
และอย่าดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ พร้อมกับกินยาแก้ปวดพาราเซตามอล เพราะจะเพิ่มเสี่ยงพิษต่อตับเพิ่มขึ้น
.
(2). หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะอาหารที่ผ่านการทอด
.
(3). ควบคุมน้ำหนัก > หลีกเลี่ยงน้ำหนักเกิน-อ้วน
.
(4). ระวังติดไวรัสตับอักเสบ B, C
.
ไวรัสตับอักเสบ B ในเอเชียส่วนใหญ่ติดต่อจากแม่ตอนคลอด การฝากครรภ์ตั้งแต่แรกต่อเนื่องจะทำให้ท่านได้รับการตรวจคัดกรอง และเด็กได้รับวัคซีนป้องกันตั้งแต่แรกเกิด
.
ไวรัสตับอักเสบ B, C ติดต่อผ่านการสำส่อนทางเพศ สัมผัสเลือด-สารคัดหลั่งคนอื่น หรือใช้ของใช้ร่วมกัน เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน ฯลฯ
.
(5). ท่านที่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย หรือเลือดจางพันธุกรรม จะมีการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารเพิ่มกว่าคนทั่วไปมาก เพิ่มเสี่ยงธาตุเหล็กสูงเกิน (มีพิษต่อตับ กล้ามเนื้อหัวใจ)
.
การดื่มน้ำชาจีนพร้อมอาหารช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็ก และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เลือดสัตว์ ตับ เครื่องใน ฯลฯ
.
(6). อย่ากินปลาดิบ-สัตว์น้ำจืด-หอยดิบ
.
อาหารดิบจากสัตว์น้ำจืด รวมทั้งหอย (อยู่ปากอ่าว) เพิ่มเสี่ยงพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งท่อน้ำดี, โรคท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง-ท่อน้ำดีตีบตัน, ตับแข็ง
.
(7). ไม่สำส่อนทางเพศ + ไม่เสพเซ็กส์แบบเสี่ยง (unsafe sex)
.
การไม่สำส่อนทางเพศ + ใช้ถุงยางอนามัย มีส่วนช่วยลดเสี่ยงโรคติดต่อ โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบ
.

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.


 > [ Twitter ]

  • Thank Reuters > http://www.reuters.com/article/2013/03/15/us-liver-device-transplant-idUSBRE92E0SI20130315
  • Thank OrganOx > http://www.organox.com/products/
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 17 มีนาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 525063เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2013 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2013 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท